เทศมณฑลของประเทศโครเอเชีย
เทศมณฑล หรือ ฌูปานิยา (โครเอเชีย: županija) เป็นหน่วยการบริหารระดับบนสุดของสาธารณรัฐโครเอเชีย[1] เทศมณฑลในประเทศโครเอเชียได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมาใน ค.ศ. 1992 โดยประเทศโครเอเชียแบ่งออกเป็น 20 เทศมณฑล และกรุงซาเกร็บซึ่งมีฐานะเป็นทั้งเทศมณฑลและนคร (ซึ่งเป็นเอกเทศจากเทศมณฑลซาเกร็บที่มีพื้นที่ล้อมรอบกรุงซาเกร็บ)[2][3] เทศมณฑลในประเทศโครเอเชียแบ่งย่อยลงไปอีกเป็นนครและเทศบาล ณ ค.ศ. 2015 ประเทศโครเอเชียมี 128 นครและ 428 เทศบาล[4][5]
เทศมณฑลของประเทศโครเอเชีย | |
---|---|
หรือเรียกว่า Hrvatske županije | |
![]() เทศมณฑลของประเทศโครเอเชีย: กราปินา-ซากอริเย กอปรีฟนิตซา-กรีเฌฟต์ซี การ์ลอวัตส์ ชิเบนีก-กนีน เทศมณฑลซาเกร็บ ซาดาร์ ซีซัก-ม็อสลาวินา ดูบรอฟนีก-เนเรตวา บิเยลอวาร์-บิลอกอรา บรอด-ปอซาวินา ปรีมอริเย-กอร์สกีกอตาร์ ปอเฌกา-สลาโวเนีย เมจิมูริเย ลีกา-เซญ วารัฌดีน วิรอวิติตซา-ปอดราวินา วูกอวาร์-เซอร์เมีย สปลิต-แดลเมเชีย ออซิเยก-บาราญา อิสเตรีย นครซาเกร็บ | |
ที่ตั้ง | สาธารณรัฐโครเอเชีย |
จำนวน | 20 เทศมณฑล + นครซาเกร็บ |
ประชากร | 50,927 (ลีกา-เซญ) – 790,017 (นครซาเกร็บ) |
พื้นที่ | 640 ตร.กม. (นครซาเกร็บ) – 5,350 ตร.กม. (ลีกา-เซญ) |
การปกครอง | สภาเทศมณฑลและรัฐบาลโครเอเชีย |
หน่วยการปกครอง | เทศบาลและนคร |
สภาเทศมณฑลแก้ไข
สภาเทศมณฑล (županijska skupština) เป็นสภาผู้แทนและปรึกษาหารือของเทศมณฑลนั้น โดยสมาชิกสภาเทศมณฑลจะมาจากการเลือกตั้งเมื่อครบวาระ 4 ปี[6] ผู้นำในเชิงบริหารของสภาเทศมณฑลจะเรียกว่านายกเทศมณฑลหรือ ฌูปัน (župan) ยกเว้นนครซาเกร็บที่ซึ่งนายกเทศมนตรีจะมีฐานะเทียบเท่ากับนายกเทศมณฑล นายกเทศมณฑลและนายกเทศมนตรีนครซาเกร็บจะมีรองนายกจำนวนสองคน และทั้งสามตำแหน่งในแต่ละเทศมณฑลจะมาจากการเลือกตั้งเมื่อครบวาระ 4 ปีเช่นกัน[a] ในกรณีที่ไม่มีผู้ได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดจะจัดให้มีการเลือกตั้งรอบที่สอง[6] นายกเทศมณฑลและรองนายกเทศมณฑลสามารถถูกถอดถอนได้ผ่านการลงประชามติ ภายในสภาเทศมณฑลจะมีส่วนงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการภายในอำนาจของเทศมณฑลนั้น โดยหัวหน้าส่วนงานจะได้รับการแต่งตั้งโดยนายกเทศมณฑลซึ่งจะคัดเลือกจากประชาชนที่เสนอตัวเข้ามา[7]
นอกจากนี้ ในแต่ละเทศมณฑลจะมีสำนักงานบริหารของรัฐบาล (ured državne uprave) ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาลโครเอเชียดำเนินงานภายในอำนาจหน้าที่ของรัฐบาล โดยหัวหน้าสำนักงาน (predstojnik ureda državne uprave) จะได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลโครเอเชียโดยตรง ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสภาเทศมณฑลและไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของนายกเทศมณฑล อย่างไรก็ตาม สำหรับนครซาเกร็บ นายกเทศมนตรีจะมีฐานะเป็นหัวหน้าสำนักงานบริหารของรัฐบาลอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
งบประมาณและอำนาจหน้าที่แก้ไข
เทศมณฑลจะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลและมีรายได้เพิ่มเติมจากธุรกิจของเทศมณฑล ภาษีเทศมณฑล และค่าธรรมเนียม ภาษีเทศมณฑลนั้นรวมไปถึงภาษีมรดก ภาษีรางวัล ภาษีรถยนต์ ภาษีเรือ และภาษีเครื่องเล่นเกมอาร์เคด[8][9]
เทศมณฑลมีหน้าที่ให้บริการประชาชนโดยทั่วไป การศึกษาขั้นพื้นฐาน การบริการสาธารณสุข สวัสดิการสังคม ข้อกำหนดเกี่ยวกับเกษตรกรรม การป่าไม้ การล่าสัตว์ การประมง การทำเหมืองแร่ อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง การบริการสำหรับเศรษฐกิจภายในเทศมณฑล ระบบโครงข่ายถนน และการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารในพื้นที่นอกเหนือเขตเมืองใหญ่ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลกลางและสภาท้องถิ่นระดับย่อยก็สามารถให้บริการในลักษณะเดียวกันได้ตามกฎหมาย[7]
สมาคมเทศมณฑลแห่งประเทศโครเอเชีย (Hrvatska zajednica županija) จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2003 เพื่อเป็นโครงข่ายสำหรับการประสานงานระหว่างเทศมณฑล[10]
ประวัติศาสตร์แก้ไข
ราชอาณาจักรโครเอเชียแบ่งออกเป็นเทศมณฑลเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์เตอร์ปิมีรอวิชในสมัยกลาง[11] ในสมัยนั้นมีจำนวน 14 เทศมณฑลได้แก่:[12][13]
- ลีฟนอ (ครอบคลุมที่ราบลิวัญสกอป็อลเย)
- เซตินา (อยู่แถบแม่น้ำเซตินา มีศูนย์กลางอยู่ที่สตอลัตส์)
- อิม็อตสกี (ทางทิศใต้ของเทศมณฑลลีฟนอและเทือกเขาบิออกอวอ)
- ปลิวา (แถบลุ่มแม่น้ำปลิวาและแม่น้ำเวอร์บาส)
- เปเซ็นตา (ระหว่างแม่น้ำอูนากับแม่น้ำซานา)
- ปรีมอริเยหรือกลิส (ชายฝั่งทะเลเอเดรียติกระหว่างชิเบนีกกับออมีช มีศูนย์กลางอยู่ที่ป้อมกลิส)
- บริบีร์ (ทางทิศตะวันตกของเทศมณฑลปรีมอริเย)
- นอนา (โดยรอบเมืองนีนและซาดาร์)
- กนีน (มีศูนย์กลางอยู่ที่ป้อมกนีน)
- ซิดรากา (อยู่ระหว่างเทศมณฑลบริบีร์กับเมืองซาดาร์)
- นินาหรือลูกา (อยู่ระหว่างเทศมณฑลกนีน นอนา ซิดรากา และบริบีร์)
- กาตส์กา
- เกอร์บาวา
- ลีกา
เทศมณฑลเกอร์บาวา ลีกา และกาตส์กามีผู้ปกครองหนึ่งคนที่เรียกว่า บาน โดยเทศมณฑลสามเทศมณฑลดังกล่าวอยู่ในบริเวณเทศมณฑลลีกา-เซญในปัจจุบัน ในช่วงเวลาเดียวกัน เทศมณฑลในพื้นที่พันโนเนียตอนล่างทางทิศเหนือของเทือกเขากว็อซด์ไม่ได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์มากนัก สันนิษฐานว่าเทศมณฑลในพื้นที่พันโนเนียตอนล่างอาจจะอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์โครเอเชียโดยตรง ซึ่งแตกต่างจากเทศมณฑลในพื้นที่ทางใต้ที่มีขุนนางปกครอง[14]
จำนวน ขอบเขต และอำนาจของเทศมณฑลเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงเวลาหลายศตวรรษ ซึ่งสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประวัติศาสตร์โดยรวมได้แก่การเปลี่ยนแปลงอำนาจของกษัตริย์และขุนนาง การช่วงชิงดินแดนระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับโครเอเชีย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองการปกครองอื่น ๆ[14][15] ในช่วงศตวรรษที่ 13 และ 14 ขุนนางโครเอเชียเรืองอำนาจ เทศมณฑลที่กษัตริย์กำหนดไว้จึงถูกลดความสำคัญลงเหลือเพียงแค่ในทางกฎหมาย ในขณะที่อำนาจทางทหารและการคลังตกอยู่ที่ขุนนาง นอกจากนี้ยังมีการบริหารราชการแบบอื่นที่ทับซ้อนกับเทศมณฑลในช่วงเวลานี้เช่นคริสตจักรโรมันคาทอลิก เสรีราชนคร (Free royal city) และนครต่าง ๆ ในแดลเมเชีย ต่อมาใน ค.ศ. 1527 หลังจากที่โครเอเชียกลายเป็นดินแดนหนึ่งของราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค เทศมณฑลก็ยิ่งลดความสำคัญลงไปอีกก่อนที่จะได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งอย่างช้า ๆ หลังจาก ค.ศ. 1760[14]
ในศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติในจักรวรรดิออสเตรีย ค.ศ. 1848 ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ โดยมีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนขึ้นภายในราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียได้ขยายอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่แนวหน้าโครเอเชียและพื้นที่แนวหน้าสลาโวเนียใน ค.ศ. 1881 ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 นั้นเองเทศมณฑลในโครเอเชียก็ผ่านการจัดระเบียบใหม่หลายครั้งตามสถานะของราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียในจักรวรรดิออสเตรีย/ออสเตรีย-ฮังการี การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นหลังสุดได้แก่ใน ค.ศ. 1886 โดยมีการจัดตั้งเทศมณฑลขึ้นใหม่ 8 เทศมณฑล ซึ่งยังคงใช้อยู่จนถึง ค.ศ. 1922 เมื่อเทศมณฑลถูกยกเลิก[14][15] ใน ค.ศ. 1913 มีการปรับปรุงแก้ไขเขตพื้นที่เทศมณฑลเล็กน้อย[16] เทศมณฑลในช่วงนี้จะมีลักษณะเป็นองค์การที่ปกครองตนเองซึ่งต่างจากในสมัยกลาง แต่ละเทศมณฑลจะมีสภาเทศมณฑล (županijska skupština) โดยครึ่งหนึ่งของสภาได้แก่ผู้ที่จ่ายภาษีจำนวนมากที่สุด และอีกครึ่งหนึ่งของสภามาจากการเลือกตั้ง นายกเทศมณฑล (veliki župan) จะได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ และเจ้าหน้าที่ของเทศมณฑลจะได้รับการแต่งตั้งโดย บาน ซึ่งเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน ในแต่ละเทศมณฑลยังมีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 6 คนที่ได้รับเลือกโดยสภาเทศมณฑล เทศมณฑลจะแบ่งย่อยลงไปเป็นอำเภอ (kotari) ในขณะที่เทศบาล (općine) และนคร (gradovi) มีลักษณะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[14]
เทศมณฑลเดิมของโครเอเชียถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1922 หลังจากที่ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนได้เปลี่ยนมาใช้ระบบแคว้น (oblast) แทน ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นบานอวินาใน ค.ศ. 1929[17] หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียแบ่งการปกครองออกเป็นประมาณ 100 เทศบาลซึ่งมีฐานะเป็นทั้งหน่วยการปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ใน ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับสงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย ได้มีการรื้อฟื้นระบบเทศมณฑลกลับมาอีกครั้ง พื้นที่ประเทศโครเอเชียใน ค.ศ. 1922 ในพื้นที่ทรานส์ไลทาเนียแบ่งออกเป็นแปดเทศมณฑล แต่พื้นที่เดียวกันใน ค.ศ. 1992 แบ่งออกเป็น 14 เทศมณฑล ในขณะที่เทศมณฑลเมจิมูริเยจัดตั้งขึ้นตามดินแดนที่โครเอเชียได้มาหลังจากสนธิสัญญาทรียานงใน ค.ศ. 1920[18][19] หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นล่าสุดมีขึ้นใน ค.ศ. 2006[4]
รายชื่อเทศมณฑลแก้ไข
เทศมณฑลในปัจจุบันแก้ไข
ชื่อภาษาไทย | ชื่อภาษาโครเอเชีย | ชื่อภาษาอังกฤษ | เมืองหลัก | พื้นที่ (กม.2)[20] |
ประชากร (ค.ศ. 2021)[21] | จีดีพีต่อประชากร (ค.ศ. 2019)[22] | ตราอาร์ม | พิกัดภูมิศาสตร์ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เทศมณฑลกราปินา-ซากอริเย | Krapinsko-zagorska županija | Krapina-Zagorje County | กราปินา | 1,229 | 120,942 | €8,954 | 46°7′30″N 15°48′25″E / 46.12500°N 15.80694°E | |
เทศมณฑลการ์ลอวัตส์ | Karlovačka županija | Karlovac County | การ์ลอวัตส์ | 3,626 | 112,596 | €9,510 | 45°29′35″N 15°33′21″E / 45.49306°N 15.55583°E | |
เทศมณฑล กอปรีฟนิตซา-กรีเฌฟต์ซี |
Koprivničko-križevačka županija | Koprivnica-Križevci County | กอปรีฟนิตซา | 1,748 | 101,661 | €10,110 | 46°10′12″N 16°54′33″E / 46.17000°N 16.90917°E | |
เทศมณฑลชิเบนีก-กนีน | Šibensko-kninska županija | Šibenik-Knin County | ชิเบนีก | 2,984 | 96,624 | €11,325 | 43°55′44″N 16°3′43″E / 43.92889°N 16.06194°E | |
เทศมณฑลซาเกร็บ | Zagrebačka županija | Zagreb County | ซาเกร็บ | 3,060 | 301,206 | €10,769 | 45°44′56″N 15°34′16″E / 45.74889°N 15.57111°E | |
เทศมณฑลซาดาร์ | Zadarska županija | Zadar County | ซาดาร์ | 3,646 | 160,340 | €11,544 | 44°1′5″N 15°53′42″E / 44.01806°N 15.89500°E | |
เทศมณฑลซีซัก-ม็อสลาวินา | Sisačko-moslavačka županija | Sisak-Moslavina County | ซีซัก | 4,468 | 140,549 | €9,706 | 45°13′15″N 16°15′5″E / 45.22083°N 16.25139°E | |
เทศมณฑลดูบรอฟนีก-เนเรตวา | Dubrovačko-neretvanska županija | Dubrovnik-Neretva County | ดูบรอฟนีก | 1,781 | 115,862 | €14,673 | 42°39′13″N 18°05′41″E / 42.65361°N 18.09472°E | |
เทศมณฑลบิเยลอวาร์-บิลอกอรา | Bjelovarsko-bilogorska županija | Bjelovar-Bilogora County | บิเยลอวาร์ | 2,640 | 102,295 | €9,132 | 45°54′10″N 16°50′51″E / 45.90278°N 16.84750°E | |
เทศมณฑลบรอด-ปอซาวินา | Brodsko-posavska županija | Brod-Posavina County | สลาวอนสกีบรอด | 2,030 | 130,782 | €8,211 | 45°09′27″N 18°01′13″E / 45.15750°N 18.02028°E | |
เทศมณฑล ปรีมอริเย-กอร์สกีกอตาร์ |
Primorsko-goranska županija županija | Primorje-Gorski Kotar County | ริเยกา | 3,588 | 266,503 | €15,232 | 45°27′14″N 14°35′38″E / 45.45389°N 14.59389°E | |
เทศมณฑลปอเฌกา-สลาโวเนีย | Požeško-slavonska županija | Požega-Slavonia County | ปอเฌกา | 1,823 | 64,420 | €8,217 | 45°18′40″N 17°44′24″E / 45.31111°N 17.74000°E | |
เทศมณฑลเมจิมูริเย | Međimurska županija | Međimurje County | ชากอเว็ตส์ | 729 | 105,863 | €11,476 | 46°27′58″N 16°24′50″E / 46.46611°N 16.41389°E | |
เทศมณฑลลีกา-เซญ | Ličko-senjska županija | Lika-Senj County | กอสปิช | 5,353 | 42,893 | €10,725 | 44°42′25″N 15°10′27″E / 44.70694°N 15.17417°E | |
เทศมณฑลวารัฌดีน | Varaždinska županija | Varaždin County | วารัฌดีน | 1,262 | 160,264 | €12,112 | 46°19′16″N 16°13′52″E / 46.32111°N 16.23111°E | |
เทศมณฑล วิรอวิติตซา-ปอดราวินา |
Virovitičko-podravska županija | Virovitica-Podravina County | วิรอวิติตซา | 2,024 | 70,660 | €7,869 | 45°52′23″N 17°30′18″E / 45.87306°N 17.50500°E | |
เทศมณฑลวูกอวาร์-เซอร์เมีย | Vukovarsko-srijemska županija | Vukovar-Srijem County | วูกอวาร์ | 2,454 | 144,438 | €8,606 | 45°13′43″N 18°55′0″E / 45.22861°N 18.91667°E | |
เทศมณฑลสปลิต-แดลเมเชีย | Splitsko-dalmatinska županija | Split-Dalmatia County | สปลิต | 4,540 | 425,412 | €10,759 | 43°10′0″N 16°30′0″E / 43.16667°N 16.50000°E | |
เทศมณฑลอิสเตรีย | Istarska županija | Istria County | ปาซีน | 2,813 | 195,794 | €15,960 | 45°14′21″N 13°56′19″E / 45.23917°N 13.93861°E | |
เทศมณฑลออซิเยก-บาราญา | Osječko-baranjska županija | Osijek-Baranja County | ออซิเยก | 4,155 | 259,481 | €10,232 | 45°38′13″N 18°37′5″E / 45.63694°N 18.61806°E | |
นครซาเกร็บ | Grad Zagreb | City of Zagreb[b] | ซาเกร็บ | 641 | 769,944 | €23,742 | 45°49′0″N 15°59′0″E / 45.81667°N 15.98333°E |
เทศมณฑลของราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียแก้ไข
หมายเหตุแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ The Constitution of the Republic of Croatia (consolidated text) - Croatian Parliament เก็บถาวร 2015-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.Retrieved 5 October 2016.
- ↑ "Gospodarski profil Grada Zagreba i Zagrebačke županije" [Economic profile of the City of Zagreb and the Zagreb County] (ภาษาโครเอเชีย). Croatian Chamber of Economy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2006. สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
- ↑ "Zakon o područjima županija, gradova i općina u Republici Hrvatskoj" [Territories of Counties, Cities and Municipalities of the Republic of Croatia Act]. Narodne novine (ภาษาโครเอเชีย). 30 January 1997. สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Zakon o područjima županija, gradova i općina u Republici Hrvatskoj" [Territories of Counties, Cities and Municipalities of the Republic of Croatia Act]. Narodne novine (ภาษาโครเอเชีย). 28 July 2006. สืบค้นเมื่อ 9 September 2011.
- ↑ "Popovača dobila status grada". Poslovni dnevnik (ภาษาโครเอเชีย). 12 April 2013. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
- ↑ 6.0 6.1 "Zakon o lokalnim izborima" [Local Elections Act]. Narodne novine (ภาษาโครเอเชีย). No. 144/2012. 21 December 2012. สืบค้นเมื่อ 5 October 2016.
- ↑ 7.0 7.1 "Zakon o lokalnoj i područnoj (regionalnoj) samoupravi (pročišćeni tekst)" [Local and Regional Self-Government Act (consolidated text)]. Narodne novine (ภาษาโครเอเชีย). No. 19/2013. 18 February 2013. สืบค้นเมื่อ 5 October 2016.
- ↑ "The Croatian tax system". Croatian Tax Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2012. สืบค้นเมื่อ 15 April 2012.
- ↑ Anto Bajo; Mihaela Bronić (December 2004). "Fiskalna decentralizacija u Hrvatskoj: problemi fiskalnog izravnanja" [Fiscal Decentralisation in Croatia: Problems of Fiscal Equalisation]. Financijska Teorija I Praksa (ภาษาโครเอเชีย). Institute of Public Finance. 28 (4): 445–467. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
- ↑ "Home". hrvzz.hr. Croatian County Association. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
- ↑ Oleg Mandić (1952). "O nekim pitanjima društvenog uređenja Hrvatske u srednjem vijeku" [On some issues regarding Croatia's social system in the Middle Ages] (PDF). Historijski zbornik (ภาษาโครเอเชีย). Školska knjiga. 5 (1–2): 131–138. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 August 2019. สืบค้นเมื่อ 9 September 2011.
- ↑ "Iz povijesti Splitsko-dalmatinske županije IV" [Outline of history of the Split-Dalmatia County (4)] (ภาษาโครเอเชีย). Split-Dalmatia County. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2010. สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
- ↑ Budak, Neven (2018). Hrvatska povijest od 550. do 1100 [Croatian history from 550 until 1100]. Leykam international. pp. 197, 199, 327. ISBN 978-953-340-061-7.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 Josip Vrbošić (September 1992). "Povijesni pregled razvitka županijske uprave i samouprave u Hrvatskoj" [A historical review of the development of county administration and self-government in Croatia]. Društvena Istraživanja (ภาษาโครเอเชีย). Ivo Pilar Institute of Social Sciences. 1 (1): 55–68. ISSN 1330-0288. สืบค้นเมื่อ 9 April 2012.
- ↑ 15.0 15.1 Ivo Goldstein (1996). Hrvatske županije kroz stoljeća [Croatian counties through the centuries] (ภาษาโครเอเชีย). Školska knjiga. p. 86. ISBN 9789530613676. สืบค้นเมื่อ 10 April 2012.
- ↑ 16.0 16.1 Branko Dubravica (January 2002). "Političko-teritorijalna podjela i opseg civilne Hrvatske u godinama sjedinjenja s vojnom Hrvatskom 1871–1886" [Political and territorial division and scope of civilian Croatia in the period of unification with the Croatian military frontier 1871–1886]. Politička Misao (ภาษาโครเอเชีย). University of Zagreb, Faculty of Political Sciences. 38 (3): 159–172. ISSN 0032-3241. สืบค้นเมื่อ 20 June 2012.
- ↑ Richard C. Frucht (2005). Eastern Europe: An Introduction to the People, Lands, and Culture. ABC-CLIO. p. 429. ISBN 9781576078006. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
- ↑ Mark Biondich (2000). Stjepan Radić, the Croat Peasant Party, and the politics of mass mobilization, 1904–1928. University of Toronto Press. p. 11. ISBN 9780802082947. สืบค้นเมื่อ 18 October 2011.
- ↑ "Zakon o područjima županija, gradova i općina u Republici Hrvatskoj" [Territories of Counties, Cities and Municipalities of the Republic of Croatia Act]. Narodne novine (ภาษาโครเอเชีย). 30 December 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2013. สืบค้นเมื่อ 9 September 2011.
- ↑ "Counties, surface area, population, towns, municipalities and settlements, 2011 census". Croatian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 17 December 2012.
- ↑ "Priopćenja i javni pozivi - Popis stanovništva 2021". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 2022-09-17.
- ↑ Čajkušić, Suzana; Pipp, Patrik; Omerzo, Ingrid (14 February 2022). "Bruto domaći proizvod za Republiku Hrvatsku, HR NUTS 2 i županije u 2019" [Gross domestic product for the Republic of Croatia, HR NUTS 2 and counties in 2019]. Croatian Bureau of Statistics (ภาษาโครเอเชีย). Croatian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 12 September 2022.
- ↑ Mira Kolar-Dimitrijević (October 1991). "Utjecaj Prvog svjetskog rata na kretanje stanovništva i stočarstva na području Hrvatske i Slavonije" [Impact of World War I on population and animal husbandry trends in the area of Croatia and Slavonia]. Radovi Zavoda Za Hrvatsku Povijest (ภาษาโครเอเชีย). University of Zagreb, Croatian History Institute. 24 (1): 41–56. ISSN 0353-295X. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- Croatian Parliament (2013-02-18). "Zakon o lokalnoj i područnoj (regionalnoj) samoupravi (pročišćeni tekst)". Narodne novine (ภาษาโครเอเชีย) (19/2013). สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
- Croatian Parliament (2012-12-21). "Zakon o lokalnim izborima". Narodne novine (ภาษาโครเอเชีย) (144/2012). สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
- "The Constitution of the Republic of Croatia (consolidated text)". Croatian Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-02. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.