เทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่

เทศบาลตำบลในอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย

เทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะลันตาใหญ่ เป็นแหล่งชุมชนขนาดเล็กตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะลันตาใหญ่[3] มีศูนย์กลางที่หมู่ 2 บ้านศรีรายา ใน พ.ศ. 2562 เทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่มีประชากรทั้งหมด 1,186 คน[2]

เทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Ko Lanta Yai
บ้านศรีรายา
บ้านศรีรายา
ทต.เกาะลันตาใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดกระบี่
ทต.เกาะลันตาใหญ่
ทต.เกาะลันตาใหญ่
ที่ตั้งของเทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่
พิกัด: 7°31′51.83″N 99°05′39.23″E / 7.5310639°N 99.0942306°E / 7.5310639; 99.0942306
ประเทศ ไทย
จังหวัดกระบี่
อำเภอเกาะลันตา
จัดตั้ง
  •  • 15 ตุลาคม 2499 (สุขาภิบาลเกาะลันตาใหญ่)
  •  • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.เกาะลันตาใหญ่)[1]
พื้นที่
 • ทั้งหมด0.810 ตร.กม. (0.313 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)[2]
 • ทั้งหมด1,186 คน
 • ความหนาแน่น1,464.19 คน/ตร.กม. (3,792.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05810301
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่ ถนนศรีรายา ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
โทรศัพท์0-7569-7209
โทรสาร0-7569-7243
เว็บไซต์www.lantayaicity.go.th/index.php
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่ เป็นชุมชนขนาดเล็กตั้งอยู่บนเกาะลันตาใหญ่ ภาษาอูรักลาโว้ยเรียกว่า "ปาตัยซาตั๊ก"[4] ชุมชนนี้ชื่อว่าบ้านศรีรายา บ้างเรียกลันตาเมืองเก่า เดิมชื่อว่า "ปาไตรายา" (มลายู: Pantai Raya) แปลว่า "หาดหลวง หรือหาดเจ้านาย"[5][6] เดิมเป็นชุมชนชาวประมงของชาวอูรักลาโว้ย แต่เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาพร้อมกับการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ กอปรกับมีชาวไทยมุสลิมอพยพเข้าบ้านหัวแหลม ชาวอูรักลาโว้ยจึงต้องอพยพถอยร่นออกไปเรื่อย ๆ จนมีคำพูดท้องถิ่นที่ว่า "จีนไล่แขก แขกไล่ชาวเล"[7] ในอดีตเป็นชุมชนชายทะเลเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต บริเวณนี้เป็นจุดแวะพักของเรือสินค้าระหว่างเกาะภูเก็ตกับเกาะปีนัง แต่ภายหลังเมื่อมีการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินในพื้นที่อำเภอเกาะลันตาช่วง พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ทำให้มีผู้ใช้เรือในการสัญจรน้อยลง การเป็นเมืองด่านภาษีก็สิ้นลง สำนักงานศุลกากรบ้านศรีรายาก็ย้ายไปยังปากน้ำกระบี่ ส่วนที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาก็ย้ายไปบ้านหลังสอด ตำบลเกาะลันตาน้อย ชุมชนศรีรายาจึงลดความสำคัญลงไป[5][8] ประชากรเริ่มโยกย้ายไปพื้นที่อื่นมากขึ้นตามลำดับ[9]

ยุครัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม กระทรวงมหาดไทยประกาศยกพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะลันตาใหญ่บริเวณบ้านศรีรายาจัดตั้งสุขาภิบาลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499[10]

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ด้วยเหตุนี้สุขาภิบาลเกาะลันตาใหญ่ จึงเปลี่ยนเป็นเทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่ มาแต่นั้น[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่เป็นชุมชนขนาดน้อย มีขนาด 0.810 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะลันตาใหญ่ มีแนวเขาลันตาทางทิศตะวันตกแนวเหนือจรดใต้ มีพื้นที่ราบชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันออก และมีป่าชายเลนขนาดน้อยทางทิศเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ มีลำห้วยไหลผ่านจากแนวเขาลงทะเลทางทิศตะวันออก[3] พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรม มีการตั้งชุมชนหนาแน่นย่านที่ทำการเทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่[11] มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา

การปกครอง แก้

 
ศาลเจ้าสามต่องอ๋อง บ้านศรีรายา
 
วัดเกาะลันตา บ้านศรีรายา

เทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะลันตาใหญ่ ประกอบด้วย[2][3]

ชุมชน ตำบล หมู่ที่ ชาย หญิง ประชากร ครัวเรือน
(คน) (คน) (คน) พ.ศ. 2562[12] (หลัง)
**ทะเบียนบ้านกลาง เกาะลันตาใหญ่ - 1 1 2 2
หัวแหลม เกาะลันตาใหญ่ 1 33 41 74 30
ศรีรายา เกาะลันตาใหญ่ 2 539 571 1,110 461
รวม - - 573 613 1,186 493

ประชากร แก้

พ.ศ. 2562 เทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่มีประชากรทั้งหมด 1,186 คน[2] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน นับถือศาสนาพุทธ อาศัยอยู่ที่บ้านศรีรายา ในชุมชนมีศาลเจ้าจีนหนึ่งแห่ง[13] นอกนั้นเป็นชาวไทยมุสลิมและชาวอูรักลาโว้ยอาศัยปะปนกันที่บ้านหัวแหลม[14] ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม[15]

โดยประชากรกลุ่มที่เข้ามาอาศัยกลุ่มแรกคือชาวอูรักลาโว้ย อพยพจากเมืองไทรบุรีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านหัวแหลมทางใต้ของเขตเทศบาล ส่วนชาวไทยมุสลิม เป็นชาวมลายูอพยพจากกลันตันและสตูลช่วงยุคอาณานิคมมลายา[9] ขณะที่ชาวไทยเชื้อสายจีน โดยมากเป็นชาวฮกเกี้ยนและไหหลำอพยพจากเกาะปีนังหรือกรุงเทพมหานครอีกทีหนึ่ง เริ่มเข้าไปตั้งถิ่นฐานเมื่อ พ.ศ. 2444[16]–2490 เป็นต้นมา[9] และชาวไทยพุทธ ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการและแต่งงานผสมกับคนในท้องถิ่น[9]

เทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม[9] ประชากรนับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม มีศาสนสถานได้แก่ มัสยิดมุสลิม (บ้านศรีรายา), วัดเกาะลันตา และศาลเจ้าสามต่องอ๋อง[17] ชาวไทยเชื้อสายจีนจะกลับมาเยี่ยมบ้านช่วงตรุษจีนและสารทจีน กินเจในเดือนสิบ ปัจจุบันเริ่มมีการใส่บาตรและเผาศพตามธรรมเนียมไทยมากขึ้น[9] ส่วนชาวอูรักลาโว้ยเชื่อในวิญญาณบรรพชน[18] แต่ในบัตรประชาชนระบุว่านับถือศาสนาพุทธ[19] มีประเพณีลอยเรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ช่วงวันเพ็ญเดือนหก และวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ด[20]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ประชากรในเทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่ พ.ศ. 2562 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  3. 3.0 3.1 3.2 สุขุมาลย์ วิริโยธิน (2551). แนวทางการใช้ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษาเกาะลันตาใหญ่ (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 44.
  4. อัมพิกา อำลอย (2560). การตั้งถิ่นฐานของชุมชนอูรักลาโว้ยในเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ (PDF). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 48. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-10. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
  5. 5.0 5.1 ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์, รองศาสตราจารย์ ดร. (2556). ศรีรายา : อัตลักษณ์ของชุมชนและมรดกทางวัฒนธรรม (PDF). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 168.
  6. นฤมล ขุนวีช่วย และมานะ ขุนวีช่วย (2553). รายงานวิจัย ชีวิตและวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโว้ยแห่งทะเลอันดามัน (PDF). สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. p. 31.[ลิงก์เสีย]
  7. นฤมล ขุนวีช่วย และมานะ ขุนวีช่วย (2553). รายงานวิจัย ชีวิตและวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโว้ยแห่งทะเลอันดามัน (PDF). สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. p. 48.[ลิงก์เสีย]
  8. นฤมล ขุนวีช่วย และมานะ ขุนวีช่วย (2553). รายงานวิจัย ชีวิตและวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโว้ยแห่งทะเลอันดามัน (PDF). สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. p. 32.[ลิงก์เสีย]
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์, รองศาสตราจารย์ ดร. (2556). ศรีรายา : อัตลักษณ์ของชุมชนและมรดกทางวัฒนธรรม (PDF). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 169.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (ฉบับพิเศษ 83 ก): 1. 15 ตุลาคม 2499.
  11. สุขุมาลย์ วิริโยธิน (2551). แนวทางการใช้ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษาเกาะลันตาใหญ่ (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 45.
  12. ประชากรรายหมู่บ้าน เขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่ (ตำบลเกาะลันตาใหญ่บางส่วน) พ.ศ. 2562
  13. สุขุมาลย์ วิริโยธิน (2551). แนวทางการใช้ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษาเกาะลันตาใหญ่ (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 46.
  14. อัมพิกา อำลอย (2560). การตั้งถิ่นฐานของชุมชนอูรักลาโว้ยในเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ (PDF). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 49, 70. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-10. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
  15. สุขุมาลย์ วิริโยธิน (2551). แนวทางการใช้ที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษาเกาะลันตาใหญ่ (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 62-63.
  16. ""เกาะลันตา" ไข่มุกซุกซ่อนแห่งทะเลกระบี่". ผู้จัดการออนไลน์. 16 มีนาคม 2548. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง (19 พฤศจิกายน 2550). "รายงานพิเศษ: เปิดเล "ลันตา" (ตอน 2) ปฏิบัติการเพื่อ "บ้านเรา" ทวนกระแสเลือกปฏิบัติ-เลือกพัฒนา". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. บุญยงค์ เกศเทศ, รองศาสตราจารย์ ดร. (15 กุมภาพันธ์ 2562). "อุ (อู) รักลาโว้ย บนหาดราไวย์ และเกาะลันตาในดินแดนไข่มุกอันดามัน". เทคโนโลยีชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. นฤมล ขุนวีช่วย และมานะ ขุนวีช่วย (2553). รายงานวิจัย ชีวิตและวัฒนธรรมชาวเลอูรักลาโว้ยแห่งทะเลอันดามัน (PDF). สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. p. 61.[ลิงก์เสีย]
  20. ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดกระบี่ (PDF). กระทรงวัฒนธรรม. 2559. p. 9.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้