เทศบาลตำบลหวายเหนียว

เทศบาลตำบลในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

เทศบาลตำบลหวายเหนียว เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6 และ 7 ของตำบลหวายเหนียว ในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลหวายเหนียวที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2505[2] และขยายเขตสุขาภิบาลในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งยึดเป็นเขตเทศบาลในปัจจุบัน[3] แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[4] ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีประชากร 4,294 คน

เทศบาลตำบลหวายเหนียว
ทต.หวายเหนียวตั้งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี
ทต.หวายเหนียว
ทต.หวายเหนียว
พิกัด: 13°54′46.5″N 99°45′21.0″E / 13.912917°N 99.755833°E / 13.912917; 99.755833
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอท่ามะกา
จัดตั้ง • 18 ธันวาคม 2505 (สุขาภิบาลหวายเหนียว)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.หวายเหนียว)
พื้นที่
 • ทั้งหมด3.630 ตร.กม. (1.402 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด4,294 คน
 • ความหนาแน่น1,182.92 คน/ตร.กม. (3,063.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05710507
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 123 หมู่ที่ 3 ตำบลหวายเหนียว อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 71120
เว็บไซต์www.whaynieo.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พื้นที่เทศบาลตำบลตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่ามะกาประมาณ 2 กิโลเมตร ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 66 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 93 กิโลเมตรตามทางรถยนต์ ด้านตะวันออกของเขตเทศบาลมีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านเป็นแหล่งน้ำสำคัญ มีพื้นที่รับผิดชอบ 3.630 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 7 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนศาลเจ้าตึก ชุมชนบ้านหวายเหนียวหมู่ที่ 2 ชุมชนอพอลโล่ ชุมชนบ้านหวายเหนียวหมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านวังทอง ชุมชนบ้านทับซุง และชุมชนบ้านวังทอง

อ้างอิง แก้

  1. ประชากรในเทศบาลตำบลหวายเหนียว พ.ศ. 2563 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหวายเหนียว อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (111 ง): 2659–2660. December 18, 1962.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหวายเหนียว อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (193 ง): 4305–4307. December 16, 1980.
  4. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-29.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้