ไอซิส
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
เทวีไอซิส (อังกฤษ: Isis) เป็นหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์
ไอซิส | |||||
---|---|---|---|---|---|
ภาพของเทพีไอซิสใน สุสานเนเฟอร์ทารี | |||||
ชื่อในอักษรไฮเออโรกลีฟ |
| ||||
ศูนย์กลางของลัทธิ | Behbeit el-Hagar, Philae | ||||
สัญลักษณ์ | Tyet | ||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||
คู่ครอง | โอไซริส, Min, Serapis, ฮอรัสผู้พี่ | ||||
บุตร - ธิดา | ฮอรัส, Min, บุตรทั้งสี่ของฮอรัส | ||||
บิดา-มารดา | เกบ กับ นัต | ||||
พี่น้อง | โอไซริส, เซต, เนฟทีส, ฮอรัสผู้พี่ |
ลักษณะของเทวีไอซิส
แก้สัญลักษณ์ของเทวีไอซิสมีลักษณะเป็นเทพี บางครั้งมีปีก เครื่องทรงศิราภรณ์เป็นรูปบัลลังก์คล้ายขั้นบันได
บางตำรากล่าวไว้ว่า เทวีไอซิส (Isis) เป็นธิดาของเทพและเทพีนุต แต่บางตำรากลับบอกว่า เทพีไอซิสเป็นธิดาของเทพรากับเทพีนุต (หรือ เทพีนัต) ตามที่จะขอกล่าวถึงดังต่อไปนี้
ต้นกำเนิดของเทวีไอซิสเริ่มขึ้นหลังจากที่เทพราได้อภิเษกกับเทพีนุตแล้ว เทพรามีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้โอรสธิดา แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้า เทพีนุตก็ไม่ทรงครรภ์เสียที ทำให้เทพราทรงพิโรธ และลงมือสาปให้เทพีนุตไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกเลย เทพีนุตทรงเสียใจเป็นอย่างมาก จึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับเทพธอทผู้ทรงความรอบรู้ ซึ่งเดิมทีแล้วเทพธอทได้ตกหลุมรักเทพีนุตมาโดยตลอด
เทพธอทให้คำแนะนำพร้อมยื่นข้อเสนอแก่เทพีนุตว่า หากพระองค์สามารถมีโอรสธิดาให้เทพราได้ พระนางจะต้องมอบความรักให้แก่เทพธอท เทพีนุตตอบตกลงในคำนั้น เทพธอทจึงได้ไปท้าพนันกับเทพคอนชูผู้เป็นเทพพระจันทร์ซึ่งรักการพนันเป็นชีวิตจิตใจ เทพธอททำทีแสร้งเดินหมากกันกับเทพคอนชูจนหลงลืมวันคืน ซึ่งเทพคอนชูไม่ทันรู้เล่ห์กล จึงเปล่งแสงอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งแสงมีมากพอเท่ากับแสงจากพระอาทิตย์จำนวน 5 วัน เทพธอทจึงยกเลิกการเล่นหมากกับเทพคอนชู
หลังจากนั้นเป็นต้นมา แสงจากเทพคอนชูจึงมีไม่มากเพียงพอ ทำให้เทพคอนชูจำเป็นต้องลดแสงลงบ้างในเวลาตอนกลางคืน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของข้างขึ้นข้างแรมในปัจจุบันนั่นเอง ตั้งแต่นั้นมา เทพธอทก็นำแสงที่นอกเหนือจากแสงอาทิตย์ของเทพรา มาสร้างเป็นวันจำนวน 5 วัน ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้เทพีนุตตั้งครรภูได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เทพีนุตให้กำเนิดเหล่าเทพเทพีจำนวน 5 องค์ อันได้แก่
1. วันที่หนึ่ง เทพีนุตให้กำเนิด เทพโอซีริส ผู้เป็นเทพกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ทำให้การถือกำเนิดครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งสรวงสวรรค์
2. วันที่สอง เทพีนุตให้กำเนิด เทพฮามาร์คิส หรือ สฟิงซ์ ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งรุ่งอรุณและเป็นเทพนักรบ
3. วันที่สาม เทพีนุตให้กำเนิด เทพเซต ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย เนื่องจาก เทพเซตถือกำเนิดในช่วงเวลาที่เป็นฤกษ์ร้าย และฉีกครรภ์ของพระมารดาออกมา
4. วันที่สี่ เทพีนุตให้กำเนิด เทพีไอซิส ผู้เป็นเทพีแห่งความรักและไสยศาสตร์
5. วันที่ห้า เทพีนุตให้กำเนิด เทพีเนฟธิส ผู้เป็นเทพีผู้คุ้มครองวิญญาณคนตาย
ในเวลาต่อมาเทพีไอซิส และเทพโอซิริส นั้นหลงรักกันมาตั้งแต่ครั้งอยู่ในครรภ์ของเทพีนุตผู้เป็นมารดา ทั้งสองจึงเติบโตมาด้วยกันและเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์กัน สำหรับเทพโอซิริสนั้นทรงเป็นผู้มีวิสัยการเป็นผู้นำและมีความเก่งกล้าสามารถเหนือใคร ส่วนเทพีไอซิสนั้นเป็นผู้เก่งกาจด้านมนตราทุกประการ อีกทั้งยังมีสติปัญญาอันแสนชาญฉลาดยิ่งนัก
จนกระทั่งในครั้งหนึ่ง เทพีไอซิสคิดอยากจะให้เทพโอซิริสได้ขึ้นครองบัลลังก์ไอยคุปต์ นางจึงใช้สติปัญญาของตนล่อลวงเทพรา จนทำให้เทพราหลงบอกพระนามจริงแก่เทพีไอซิส ซึ่งหากผู้ใดล่วงรู้ จะทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุนี้ พระนางจึงต้องยอมสละบัลลังก์และมอบฤทธิ์ให้แก่เทพโอซิริส
เมื่อเทพโอซิริสได้ขึ้นตำแหน่งเป็นเทพราชาแล้ว พระองค์จึงจัดอภิเษกสมรสให้ตนเองและเทพีไอซิส และแต่งตั้งให้เทพีไอซิสเป็นพระราชินีเคียงคู่พระองค์ ซึ่งในสมัยของเทพโอซิริสและเทพีไอซิส เป็นช่วงเวลาที่อียิปต์รุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ทั้งสองพระองค์ทรงสั่งสอนประชาชนให้เรียนรู้อารยธรรม และการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆมากมาย ทำให้เหล่าราษฏรทั้งหลายต่างเคารพนับถือในเทพเทพีทั้งสองเป็นอย่างมาก
เรื่องราวความรักและความรุ่งเรืองของเทพทั้งสอง อยู่ในสายตาของเทพเซตผู้มีความอิจฉาริษยาเทพผู้พี่นี้มาตลอด เทพเซตคิดว่าตนจะต้องขึ้นครองราชย์เป็นพระราชาให้ได้ จึงทำการสังหารเทพโอซิริส แล้วใส่โลงลอยตามแม่น้ำไนล์ไป เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เทพีไอซิสกับเทพโอซิริสต้องแยกจากกัน พระนางจึงเกิดความเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก
เมื่อเทพโอซิริสสิ้นพระชนม์ลง เทพเซตก็ยึดบัลลังก์และตั้งตัวเป็นใหญ่แทนที่ แต่เส้นทางของเทพเซตผู้ชั่วร้ายก็ไม่ได้ราบรื่นสมใจ เพราะเทพีไอซิสทรงตั้งครรภ์
ด้วยความรักอันแสนยิ่งใหญ่ ทำให้เทพีไอซิสตัดสินใจตามหาร่องรอยของพระสวามีไปทั่วไอยคุปต์ด้วยความยากลำบาก และทรงคลอดโอรสที่ให้ชื่อว่า เทพโฮรัส หรือ เทพฮอรัส ออกมากลางทาง ทำให้เทพีไอซิสจำใจต้องมอบโอรสให้เทพีบูโตช่วยดูแลด้วยใจห่วงหา เพราะพระนางจำเป็นต้องออกตามหาเพื่อนำพระศพของพระสวามีมาประกอบพิธีทางศาสนา เพื่อให้เทพโอซิริสสามารถเดินทางไปยังดินแดนแห่งความตายได้
ในที่สุด เทพีไอซิสก็พบพระศพของสวามี หลังจากที่ตามหามานานแสนนาน แต่เทพเซตผู้ชั่วร้ายก็สามารถตามหาพระศพเจอเช่นกัน เทพเซตจึงทำการฉีกศพเทพโอซิริสจนขาดวิ่นและโยนศพนั้นทิ้งไปทั่วไอยคุปต์ ทำให้เทพีไอซิสต้องออกตามหาพระศพของสวามีอีกครั้งอย่างยากเย็นยิ่งกว่าเก่า โชคร้ายยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะเมื่อเทพเซตได้ส่งงูร้ายตามไปสังหารเทพโฮรัสที่ยังเป็นเพียงแค่ทารกจนตาย เพื่อที่จะได้ขจัดเสี้ยนหนามที่ขวางทางการขึ้นเป็นราชาให้หมดไป
อย่างไรก็ตาม เหล่าทวยเทพได้มาบอกข่าวดีกับเทพีไอซิสว่า เทพโฮรัสจะทรงฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง และครั้งนี้จะเก่งกล้าสามารถเป็นที่สุด จนถึงขั้นสามารถสังหารเทพเซตลงได้ ขอให้พระนางไม่ต้องเป็นกังวล และติดตามหาพระศพของสวามีต่อไปเถิด
เทพีไอซิสต้องการแก้เผ็ดเทพเซตจึงแปลงกายเป็นเทพีเนฟธิส เพื่อขอคำสาบานจากเทพเซตว่าจะไม่ทำร้ายโอรสของพระนางอีก จนกว่าโอรสของพระนางทำร้ายท่าน ซึ่งจะทำให้เทพโฮรัสสามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้ครั้งอย่างสำเร็จและปลอดภัยจนกว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ด้วยความที่เทพเซตคิดว่าเทพีเนฟธิสเป็นผู้พูด เทพเซตจึงตกปากรับคำสาบานนั้นไป ทันใดนั้นเอง เทพีไอซิสแปลงกายกลับสู่ร่างเดิม ทำให้เทพเซตโกรธแค้นเป็นอย่างมาก
หลังจากที่ติดตามหาชิ้นส่วนของเทพโอซิริสมาตลอดหลายปีด้วยความทุกข์ทรมานใจ เทพีไอซิสก็สามารถตามหาชิ้นส่วนได้จนครบ และนำชิ้นส่วนกลับมาประกอบพิธีศพได้อีกครั้ง โดยมีเทพอานูบิส เทพแห่งความตาย (โอรสที่เกิดจากเทพีเนฟธิสผู้หลงรักเทพโอซิริส โดยพระนางได้แปลงกายเป็นเทพีไอซิส และมอมสุราเทพโอซิริสจนเกิดเป็นเทพอานูบิสขึ้นมา แต่บางตำราก็ว่า เทพอานูบิสเป็นโอรสของเทพีเนฟธิสกับเทพเซตนั่นเอง) เป็นผู้ทำพิธีศพให้ โดยพิธีศพมีการพันผ้ารอบศพและลงน้ำยา จนก่อให้เกิดเป็นมัมมี่นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากประกอบพิธีศพแล้ว เทพโอซิริสก็สามารถไปถึงดินแดนแห่งความตายได้ พระองค์ได้ขึ้นเป็นใหญ่ถึงขนาดเป็นราชาแห่งโลกของคนตาย
เมื่อเทพโฮรัส (พระองค์มีสัญลักษณ์ คือ นกฟีนิกซ์วิหคอมตะ) ได้ฟื้นขึ้นจากตาย เวลาแห่งการล้างแค้นก็มาถึงเสียที เทพทั้งหลายทั้งเทพบิดา เทพมารดา และเหล่าทวยเทพอีกมากมาย ได้พากันสั่งสอนสิ่งต่าง ๆ ให้แก่เทพโฮรัส จนพระองค์นั้นเก่งกาจมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งบู๊และบุ๋น และในที่สุด เทพโฮรัสก็สามารถปราบเทพเซตลงได้ตามคำทำนาย จากนั้นจึงขึ้นเป็นเทพกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งไอยคุปต์ เพื่อครอบครองบัลลังก์อย่างชอบธรรม
ผู้คนในอียิปต์เชื่อกันว่า หากบูชาเทพองค์ใดองค์หนึ่งในเทพที่กล่าวมานี้ ก็จะต้องบูชาเทพทั้งสององค์ร่วมด้วย อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์สืบต่อกันมาว่า ฟาโรห์ที่สิ้นพระชนม์ไปแทนเทพโอซิริส ก็คือ องค์รานีคือเทพีไอซิส และฟาโรห์องค์ถัดมา ก็คือ เทพโฮรัส
ลักษณะของเทวีไอซิสมีสัญลักษณ์แทนพระองค์ได้หลายแบบ โดยพระนางอาจเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นวัว หรืออาจมีดวงจันทร์สวมอยู่บนศีรษะ บางครั้งก็จะสวมมงกุฎรูปดอกบัว นอกจากนี้จะมีหูเป็นข้าวโพด หรือถือขาแพะเอาไว้ในมือ ซึ่งแสดงถึงสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าเป็นลักษณะของรูปปั้น ก็มักจะสังเกตเป็นรูปของพระมารดากำลังให้นมเทพเจ้าฮฮรัสอยู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการคุ้มครองเด็กจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนบนศีรษะก็จะมีเขาสองเขา และมีวงสุริยะอยู่ตรงกลาง
ลักษณะของเทวีไอซิส
แก้สัญลักษณ์ของเทวีไอซิสมีลักษณะเป็นเทพี บางครั้งมีปีก เครื่องทรงศิราภรณ์เป็นรูปบัลลังก์คล้ายขั้นบันได
อ้างอิง
แก้http://www.tumnandd.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%AA-isis-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%9B/ เก็บถาวร 2017-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน