เทพลิขิต หรือ โองการของพระเจ้า (อังกฤษ: Manifest Destiny) เป็นความเชื่อทางวัฒนธรรมในสหรัฐช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ว่าผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอเมริกันได้รับการกำหนดให้ขยายไปทั่วอเมริกาเหนือ[3][4][5]

ภาพวาด ความเจริญของอเมริกา (1872) โดยจอห์น แกสต์ แสดงให้เห็นถึงภาพเชิงเปรียบเทียบของกระบวนการพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันตกของสหรัฐ โดยแสดงโคลัมเบีย บุคลาธิษฐานของสหรัฐ นำพาความเจริญก้าวหน้าไปสู่ฝั่งตะวันตกพร้อมกับเหล่าผู้ตั้งรกรากชาวอเมริกัน เธอนำแสงไฟจากตะวันออกไปยังตะวันตก ร้อยสายโทรเลข ถือตำราเรียน[1] และเน้นฐานะต่าง ๆ ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและรูปแบบการขนส่งที่มีการพัฒนา[2] ส่วนฝั่งซ้าย ชาวอเมริกันพื้นเมืิองพลัดถิ่นจากบ้านเกิดของตน

หลักการพื้นฐานสำหรับแนวคิดนี้มีสามประการ คือ:[6][7]

  • คุณธรรมพิเศษของชาวอเมริกันและสถาบันของตน
  • ภารกิจของสหรัฐในการไถ่และสร้างตะวันตกในแบบกสิกรรมทางตะวันออกใหม่
  • การทำหน้าที่สำคัญนี้ให้สำเร็จเป็นสิ่งที่โชคชะตาต้านทานได้ยาก

นักประวัติศาสตร์ได้เน้นย้ำว่า "เทพลิขิต" ถูกโต้แย้งเสมอ โดยมีหลายคนรับรองความคิดนี้ แต่สมาชิกพรรควิกส่วนใหญ่ และชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงหลายคน (เช่น อับราฮัม ลินคอล์นกับยูลิสซีส เอส. แกรนต์) ปฏิเสธแนวคิดนี้[8][9][10]

จอห์น โอซัลลิแวน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปถือเป็นผู้คิดค้นวลีนี้ใน ค.ศ. 1845 เพื่ออธิบายสาระสำคัญของความคิดนี้[11] นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าวลีนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในบทบรรณาธิการ "การผนวก" ที่ไม่ได้ลงนาม ผลิตโดย Jane Cazneau นักข่าวและผู้สนับสนุนการผนวกดินแดน[12][13]

การเสริมสร้างรากฐานปรัชญา แก้

ผู้บุกเบิกอเมริกันจำนวนมากมีสำนึกที่แข็งแกร่งว่า เสรีภาพของชาติและอุดมคตินั้นมีความสำคัญมาก และจำเป็นที่จะต้องนำไปเผยแพร่ในดินแดนใหม่โดยการขยายขอบเขตของชาติและพรมแดนของประเทศให้กว้างขวางออกไปจนสุดขอบฟ้า สองศตวรรษก่อนหน้านั้น จอห์น วินโทรพ ข้าหลวงแห่งอาณานิคมอ่าวแมซซาชูเสตต์ ได้อ้างเหตุผลสนับสนุนแนวคิดนี้ว่า อาณานิคมของเขานั้นจะเป็นเสมือน เมืองบนยอดเขา ที่แสดงให้ดินแดนส่วนที่เหลือของโลกได้เห็นว่า สังคมเสรีในวิถีของพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นอย่างไร คนจำนวนหนึ่งได้ออกมาเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่าการแพร่ขยายหลักการนี้ออกไป เนื่องเพราะมันเป็นโชคชะตาที่กำหนดไว้และหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้น สหรัฐอเมริกาควรจะขยายอาณาเขตออกไปให้ครอบคลุมทั่วทั้งทวีปอเมริกาเหนือ ขบวนการอเมริกันหนุ่ม (The Young America movement) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแฟรงกลิน เพียรซ ได้เคลื่อนไหวส่งเสริมทรรศนะดังกล่าวนี้อย่างคึกคักยิ่ง

อ้างอิง แก้

  1. Mountjoy, Shane (2009). Manifest Destiny: Westward Expansion. Infobase Publishing. p. 19. ISBN 978-1438119830.
  2. "John Gast, American Progress, 1872". Picturing U.S. History. City University of New York. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2014. เก็บถาวร มิถุนายน 15, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Merk 1963, pp. 215–216
  4. Randazzo, Michele E.; Hitt, John R. (2019). LexisNexis Practice Guide: Massachusetts Administrative Law and Practice (6 ed.). LexisNexis. p. 29. ISBN 978-1522182887.
  5. Byrnes, Mark Eaton (2001). James K. Polk: A Biographical Companion (illustrated ed.). ABC-CLIO. p. 128. ISBN 978-1576070567.
  6. Weeks, W.E. (2002). John Quincy Adams and American Global Empire. University Press of Kentucky. pp. 183–184. ISBN 978-0-8131-9058-7.
  7. Miller, Robert J. (2006). Native America, Discovered And Conquered: Thomas Jefferson, Lewis & Clark, And Manifest Destiny. Greenwood. p. 120. ISBN 978-0275990114.
  8. Greenberg, Amy S. (2013). A Wicked War: Polk, Clay, Lincoln, and the 1846 U.S. Invasion of Mexico. Vintage Books. p. 51. ISBN 978-0307475992.
  9. Simpson, Brooks (2014). Ulysses S. Grant: Triumph Over Adversity, 1822–1865. Voyageur Press. p. 30. ISBN 978-0760346969.
  10. Joy, Mark (2014). American Expansionism, 1783–1860: A Manifest Destiny?. Routledge. pp. 62, 70. ISBN 978-1317878452.
  11. "29. Manifest Destiny". American History. USHistory.org.
  12. "Who Coined the Phrase Manifest Destiny?". Jane Cazneau Omeka Net. Jane Cazneau Omeka website. Retrieved October 25, 2020
  13. Hudson, Linda S. (2001). Mistress of Manifest Destiny: A Biography of Jane McManus Storm Cazneau, 1807–1878. Texas State Historical Association. ISBN 0-87611-179-7.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้