เดวิด วูดอาร์ด

นักเขียนผู้ควบคุมวงและนักธุรกิจชาวอเมริกัน

เดวิด วูดอาร์ด (อังกฤษ: David Woodard; เกิด 6 เมษายน พ.ศ. 2507) คือ นักเขียนและวาทยากรชาวอเมริกัน ในช่วงปี พ.ศ. 2533 ได้กำหนดคำว่า prequiem ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำว่า preemptive (เกี่ยวกับการจับจอง) และ requiem (เพลงสวดศพ) เพี่อใช้ในการอธิบายการปฏิบัติตามแนวทางพุทธในการประพันธ์เพลงเพื่อใช้เล่นก่อนการดับสิ้นของวัตถุ[1][2]

เดวิด วูดอาร์ด
เดวิด วูดอาร์ดในปี 2563
เดวิด วูดอาร์ดในปี 2563
เกิด6 เมษายน พ.ศ. 2507 (60 ปี)
แซนตาบาร์บารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
อาชีพนักเขียน คีตกวี
สัญชาติอเมริกัน
จบจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนตาบาร์บารา
โรงเรียนใหม่เพื่อการวิจัยทางสังคม
แนวร่วมในทางวรรณคดีแนวคิดหลังยุคนวนิยม

ทั้งนี้วูดอาร์ดได้ทำงานให้กับฌาปนสถานในลอสแอนเจลิสในฐานะวาทยากรรวมถึงงานพิธีไว้อาลัยแก่ Leon Praport ใน พ.ศ. 2544 ที่เสียชีวิตจากรถไฟตกรางรวมถึงเล่นให้แก่ภรรยาของเขา Lola[3][4]: 125  โดยเดวิดยังได้เล่นเพลงสวดศพให้แก่สัตว์ป่า อาทิ นกกระทุงน้ำตาลแคลิฟอร์เนีย[5]

วูดอาร์ดเป็นที่รู้จักในการจำลอง Dreamachine ตะเกียงกล่อมประสาทที่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทั่วโลก ในประเทศเยอรมนีและเนปาล เขาเป็นที่รู้จักในนามของผู้เขียนวารสาร Der Freund รวมถึงงานเขียนเกี่ยวกับกฏแห่งกรรม การรับรู้ของต้นไม้และการตั้งถิ่นฐานของชาวปารากวัยใน Nueva Germania[6]

การศึกษา แก้

วูดอาร์ดสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนใหม่เพื่อการวิจัยทางสังคม และ มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียแซนตาบาร์บารา[7]

นิวเยอรมนี แก้

ใน พ.ศ. 2546 วูดอาร์ดได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานสภาพ Juniper Hills (ลอสแอนเจลิส) รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยได้แต่งตั้งเมืองพี่เมืองน้องกับ นิวเยอรมนี ประเทศปารากวัย ในการดำเนินการตามแผนที่ตั้งไว้วูดอาร์ดได้เดินทางไปยังยูโทเปียของนักมังสาวิรัติและนิยมสิทธิสตรีในสมัยก่อนและได้พบกับผู้นำชุมชน หลังจากการไปเยือนครั้งแรก เขาเลือกที่จะจัดตั้งชุมชนเพื่อใช้ทำการศึกษาแทนการพัฒนาความสัมพันธ์กับเมืองนี้ โดยสิ่งที่เขาสนใจเป็นพิเศษคือ แนวความคิดของลัทธิการเปลี่ยนผ่านของมนุษย์ไปยังอีกโพ้นหนึ่งโดย ริชาร์ด วากเนอร์ และ Elisabeth Förster-Nietzsche ร่วมกับสามี Bernhard Förster ทำการก่อตั้งและอาศัยในอาณานิคมระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2429 ถึง 2432[7]

 
วูดอาร์ด และ เบอร์โรห์ส กับ ดรีมแมชชีน ประมาณปี 2540[8]: 98–101 

ระหว่าง พ.ศ. 2547 ถึง 2549 วูดอาร์ดได้นำคณะเดินทางจำนวนมากไปยัง นิวเยอรมนี และได้รับการสนับสนุนจากรองประธานาธิบดีสหรัฐ ดิก ชีนีย์[9] ใน พ.ศ. 2554วูดอาร์ดได้อนุญาตให้นักเขียนนวนิยายชาวสวิส Christian Kracht ทำการเผยแพร่จดหมายส่วนตัวที่เขาเขียนเกี่ยวกับ นิวเยอรมนี[10]: 113–138  จำนวนสองเล่น พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Wehrhahn Verlag แห่ง University of Hanover[11]: 180–189  ในการแลกเปลี่ยนจดหมาย Frankfurter Allgemeine Zeitung ได้กล่าวว่า "วูดอาร์ดและ Kracht] ได้ทลายเส้นแบ่งระหว่างชีวิตและศิลปะอย่างสิ้นเชิง"[12] Der Spiegel โดยเล่มแรก Five Years, vเล่มที่ 1,[13] คือ "ผลงานการเตรียมตัวทางจิตวิญญาณ" สำหรับผลงานเล่มถัดมาของ Kracht ที่ชื่อ Imperium[14]

จากคำกล่าวของ Andrew McCann, "Kracht ได้เดินทางไปพร้อมกับวูดอาร์ดไปยังสถานที่ที่ทายาทของผู้ตั้งถิ่นฐานเดิมได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แร้นแค้นอย่างยิ่ง จากนั้น Kracht ได้ทำตามความต้องการของวูดอาร์ดในการพัฒนาวัฒนธรรมของชุมชนและสร้างโรงอุปรากร ไบร็อยท์ บนพื้นที่ที่เคยเป็นที่อาศัยของครอบครัว Elisabeth Förster-Nietzsche"[15][ห 1] เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา นิวเยอรมนี ได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมโดยมีที่พักพร้อมอาหารเช้าให้บริการรวมถึงพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์

ดรีมแมชชีน แก้

ระหว่าง พ.ศ. 2532 ถึง 2550 วูดอาร์ดได้สร้างงานจำลองของดรีมแมชชีน (Dreamachine)[16] เครื่องศึกษาการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ได้คิดค้นขึ้นโดย Brion Gysin และ Ian Sommerville โดยประกอบด้วยกระบอกที่เป็นช่องทำจากทองแดงและกระดาษและหมุนรอบตะเกียงไฟฟ้า หากปิดตามองเข้าไป เครื่องดังกล่าวจะทำให้จิตใจเกิดอาการผิดปกติคล้ายกับผลของยาหรือการฝัน[ห 2]

หลังจากที่ได้อุทิศ Dreamachine ให้แก่ วิลเลียม เอส. เบอร์โรห์ส ในผลงาน Ports of Entry[17] ในงาน พ.ศ. 2539 LACMA นั้น วูดอาร์ด ได้เป็นเพื่อนกับนักเขียนและได้มอบ "แบบจำลองโบฮีเมียน" (กระดาษ) ของ Dreamachine เพื่อเป็นของขวัญครบรอบวันเกิด 83[18][19]: 23  ปี จากนั้น ซัทเทบีส์ ได้ทำการประมูลเครื่องก่อนหน้านี้ให้แก่นักสะสมบุคคลใน พ.ศ. 2545 และเครื่องรุ่นหลังได้ถูกยืมโดย เบอร์โรห์ส เพื่อจัดแสดงที่ Spencer Museum of Art[20]

หมายเหตุและการอ้างอิง แก้

บันทึก แก้

  1. นักนิรุกติศาสตร์คลาสสิคชาวสวิว Thomas Schmidt ได้เปรียบเทียบเสียงของ Woodard เพื่อเป็นเสียงประกอบในนิยายของ ทอมัส พินชอน
  2. ในปี พ.ศ. 2533 Woodard ได้ประดิษฐ์เครื่องออกฤทธิ์ต่อประสาทที่ชื่อว่า Feraliminal Lycanthropizer ซึ่งส่งผลตรงกันข้ามกันกับ Dreamachine.

อ้างอิง แก้

  1. คาร์เพนเทอร์ เอส., "In Concert at a Killer's Death", ลอสแอนเจลิสไทมส์, พ.ค. 9, พ.ศ. 2544.
  2. แรปปิ้ง เอ., พอร์เทรท วูดอาร์ด (ซีแอตเทิล: เกตตี้อิมเมจ, พ.ศ. 2544).
  3. ริค เค., "Family to Sue City, Firms Over Angels Flight Death", ลอสแอนเจลิสไทม์, มี.ค. 16, พ.ศ. 2544.
  4. ดอสัน เจ., Los Angeles' Angels Flight (เมาท์เฟซัน SC: สำนักพิมพ์อาคาเดีย, พ.ศ. 2551), หน้า 125.
  5. แมนเซอร์ ที., "Pelican's Goodbye is a Sad Song", เพรส เทเลแกรม, ต.ค. 2, พ.ศ. 2541.
  6. คารอสซี ไอ., "La storia di Nueva Germania", อิล โพสต์, ต.ค. 13, พ.ศ. 2554.
  7. 7.0 7.1 ริงนิเกอร์ เค., "Autorschaftsinszenierung und Diskursstörungen in Five Years," ใน J. Bolton, เป็นต้น, สาราณียกร, เจอร์มันมอนิเตอร์ 79 (ไลเดิน: บริล, พ.ศ. 2559).
  8. Chandarlapaty, R., "Woodard and Renewed Intellectual Possibilities", ใน Seeing the Beat Generation (เจฟเฟอร์สัน, รัฐนอร์ทแคโรไลนา: McFarland & Company, 2562), หน้า 98–101.
  9. เอปสเตน เจ., "Rebuilding a Home in the Jungle" เก็บถาวร 2016-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ซานฟรานซิสโก ประวัติศาสตร์, มี.ค. 13, พ.ศ. 2548.
  10. โชสเตอร์ เจ., "Interpretive Problems with Author, Self-Fashioning and Narrator," ใน Birke, Köppe, สาราณียกร, ผู้เขียน (เบอร์ลิน: เดอ กรุยเตอร์, พ.ศ. 2558), หน้า 113–138.
  11. วูดอาร์ด ดี., "In Media Res", 032c, ปี พ.ศ. 2554, หน้า 180–189.
  12. ลิงก์ เอ็ม., "Wie der Gin zum Tonic", แฟรงเฟิร์ต ไซตุง, พ.ย. 9, พ.ศ. 2554.
  13. คราส ซี., Five Years (ฮันโนเฟอร์: เวอร์รัก, พ.ศ. 2554).
  14. ดิแอส จี., "Die Methode Kracht", เดอ สปีเกล, ก.พ. 13, พ.ศ. 2555.
  15. แม็คเคน เอ. แอล., "Allegory and the German (Half) Century", หนังสือซิดนีย์, ส.ค. 28, พ.ศ. 2558.
  16. อัลเล็น เอ็ม., "Décor by Timothy Leary", เดอะนิวยอร์กไทมส์, ม.ค. 20, พ.ศ. 2548.
  17. ไนท์ ซี., "The Art of Randomness", ลอสแอนเจลิสไทมส์, ส.ค. 1, พ.ศ. 2539.
  18. สถานทูตสหรัฐฯ ปราก, "Literary Centenary", พ.ศ. 2557.
  19. วูดอาร์ด, "Burroughs und der Steinbock", ชไวเซอร์ โมเนต์, มี.ค. พ.ศ. 2557, หน้า 23.
  20. พิพิธภัณฑ์ศิลปะสเปนเซอร์, ดรีมแมชชีน, มหาวิทยาลัยแคนซัส.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้