เชษฐ์ ติงสัญชลี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2520 -) เป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะชาวไทย อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร[1] มีความชำนาญด้านศิลปะและประวัติศาสตร์อินเดียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะศิลปะอินเดีย พม่า และเนปาล, อิทธิพลของศาสนาพุทธและพราหมณ์ต่องานศิลปะ รวมทั้งอิทธิพลศิลปะอินเดียในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีผลงานแต่งหนังสือที่สำคัญ เช่น "ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"[2], "พระพุทธรูปอินเดีย"[3] เป็นต้น
เชษฐ์ ติงสัญชลี | |
---|---|
เกิด | 22 เมษายน พ.ศ. 2520 กรุงเทพมหานคร |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ | อาจารย์, นักวิชาการ |
ประวัติ
แก้เชษฐ์ ติงสัญชลี เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2520 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ (เกียรตินิยมอันดับ 1 ทุนภูมิพล) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับทุนพระราชทานจากมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ให้ศึกษาต่อทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะที่สถาบัน National Museum Institute of the History of Art, Conservation and Museology (NMIHACM) ประเทศอินเดีย[4]
ผลงาน
แก้หนังสือ
แก้- พระพุทธรูปอินเดีย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2554.
- สังเวชนียสถาน
- เจดีย์ในศิลปะพม่า-มอญ : พัฒนาการทางด้านรูปแบบตั้งแต่ศิลปะศรีเกษตรถึงศิลปะมัณฑเล. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2556.
- สัตตมหาสถาน
- ศิลปะชวา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มติชน, 2558.
- ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: รูปแบบ พัฒนาการ ความหมาย . กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, 2558.
บทความ
แก้- เทวาลัยวัฏฏุวันโกวิลที่กาลุคุมาไลยตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ปาณฑยะระยะแรก
- รัตนจงกรมเจดีย์ที่พุทธคยา
- ศิลปกรรมที่เมืองตักษิลา
- สถาปัตยกรรมสมัยอมราวดีที่นาคารชุนโกณฑะ
- "การแสวงบุญที่สถูปพระอดีตพุทธเจ้ากกุสันธะและสถูปพระอดีตพุทธเจ้าโกณาคมนะ" ใน ความคิด ความหมาย ความเชื่อ ของการจาริกยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
- "แนะนำสถาปัตยกรรมในเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์" ใน แหล่งประวัติศาสตร์ – มรดกวัฒนธรรมของประเทศฟิลิปปินส์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ [1] เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน http://art-in-sea.com/ เก็บถาวร 2017-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 2015-05-10]
- ↑ [2] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน http://www.central.co.th/. สืบค้นเมื่อ 2015-05-10
- ↑ [3] http://www.fringer.org/. สืบค้นเมื่อ 2015-05-10
- ↑ [4] http://www.archae.su.ac.th/ เก็บถาวร 2010-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 2015-05-10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒๔, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๕๕, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗