เชลยศึกชาวญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการคาดการณ์กันว่า มีสมาชิกของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น จำนวนระหว่าง 19,500 และ 50,000 นาย ถูกจับเป็นหรือยอมจำนนต่อกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ก่อนที่สงครามแปซิฟิกจะสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945[1] กองกำลังทหารโซเวียตได้จับกุมและคุมขังแก่ทหารและพลเรือนชาวญี่ปุ่นกว่าครึ่งล้านคนในประเทศจีนและที่อื่น ๆ[2] จำนวนของทหารบก ทหารเรือ นาวิกโยธิน และนักบินชาวญี่ปุ่นที่ได้ยอมจำนนนั้นมีจำกัดโดยกองทัพญี่ปุ่นได้ปลูกฝังแก่บุคคลากรว่าให้สู้จนตัวตาย ส่วนทหารฝ่ายสัมพันธมิตรมักจะไม่เต็มใจที่จะจับเชลย[3] และทหารญี่ปุ่นหลายคนต่างเชื่อกันว่า หากยอมจำนนแล้ว ก็จะถูกสังหารโดยผู้จับกุม[4][5]
รัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและผู้บัญชาการทหารระดับชั้นสูงได้ออกคำสั่งให้เชลยศึกชาวญี่ปุ่นได้รับการปฏิบัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ในทางปฏิบัติ ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวนมากไม่เต็มใจที่จะยอมรับการยอมจำนนของทหารญี่ปุ่น เนื่องจากความโหดร้ายที่ถูกกระทำโดยญี่ปุ่น การรณรงค์ได้เปิดฉากขึ้นในปี ค.ศ. 1944 เพื่อสนับสนุนในการจับกุมเชลยซึ่งประสบความสำเร็จเพียงบางส่วน และจำนวนเชลยที่ถูกจับกุมได้เพิ่มมากขึ้นในปีสุดท้ายของสงคราม
เชลยศึกชาวญี่ปุ่นมักเชื่อกันว่าการยอมจำนนของพวกเขาได้ทำลายพันธะทั้งหมดกับญี่ปุ่นและมีหลายคนได้ให้ข่าวกรองทางทหารแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร เชลยที่ถูกจับกุมโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกนั้นอยู่ในสภาพที่ดีโดยทั่ว ๆ ไปในค่ายที่ตั้งอยู่ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนเชลยที่ถูกจับกุมโดยสหภาพโซเวียตนั้นได้รับการปฏิบัติอย่างโหดร้ายในค่ายแรงงานที่ตั้งอยู่ในไซบีเรีย ภายหลังสงคราม เชลยศึกชาวญี่ปุ่นถูกส่งตัวกลับประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าสหรัฐและบริติชจะเก็บเชลยศึกเอาไว้จำนวนพันนาย จนถึง ค.ศ. 1946 และ ค.ศ. 1947 ตามลำดับ และสหภาพโซเวียตยังคงกังขังเชลยศึกชาวญี่ปุ่นนับแสนนายจนถึงต้นปี ค.ศ. 1950 สหภาพโซเวียตก็ค่อย ๆ ปล่อยเชลยศึกจำนวนบางส่วนออกไปในช่วงไม่กี่ทศวรรษต่อมา แต่บางคนก็ไม่ได้กลับจนกระทั่งสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายในปี ค.ศ. 1990 ในขณะที่คนอื่น ๆ ได้ตั้งรกรากและเริ่มมีครอบครัวในสหภาพโซเวียตซึ่งเลือกที่จะอยู่ต่อ[6]
ทัศนคติต่อการยอมจำนนของญี่ปุ่น
แก้ในช่วง ค.ศ. 1920 และ ค.ศ. 1930 กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJA) ได้นำแนวคิดที่ว่าให้ทหารสู้รบจนตัวตายแทนที่จะยอมจำนน[7] นโยบายนี้สะท้อนแนวทางปฏิบัติของการทำสงครามของญี่ปุ่นในยุคก่อนสมัยใหม่[8] ในยุคเมจิ รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำนโยบายตะวันตกมาใช้กับเชลยศึกและบุคลากรชาวญี่ปุ่นเพียงไม่กี่คนที่ยอมจำนนในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นซึ่งจะถูกลงโทษเมื่อสงครามยุติลง เชลยที่ถูกจับกุมโดยกองกำลังญี่ปุ่นในช่วงเวลานี้และสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้รับการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเช่นกัน[9] การปฏิบัติที่ดีต่อผู้ถูกคุมขังนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งแสดงความรู้สึกถึง "ความกล้าหาญ" เมื่อเทียบกับการรับรู้ถึงความโหดร้ายป่าเถื่อนอย่างมากในเอเชียที่รัฐบาลเมจิต้องการที่จะหลีกเลี่ยง[10] ทัศนคติต่อการยอมจำนนของญี่ปุ่นดูจะเมินเฉยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ลงนามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1929 ซึ่งได้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติต่อเชลยศึก แต่ไม่ได้ให้สัตยาบันในข้อตกลง โดยกล่าวอ้างว่า การยอมจำนนนั้นขัดต่อความเชื่อของทหารญี่ปุ่น ทัศนคตินี้ได้รับการสนับสนุนโดยการปลูกฝังความคิดของคนหนุ่มสาว[11]
ทัศนคติต่อการยอมจำนนของกองทัพญี่ปุ่นได้ถูกนำมาใช้ใน "หลักเกณฑ์การปฏิบัติในสนามรบ" (เซ็นจินคุน) ซึ่งได้ตีพิมพ์แจกเอกสารให้แก่ทหารญี่ปุ่นทุกคน เอกสารฉบับนี้ได้พยายามที่จะกำหนดมาตรฐานของพฤติกรรมทหารญี่ปุ่นและปรับปรุงวินัยและขวัญกำลังใจภายในกองทัพ และรวมถึงข้อห้ามไม่ให้ถูกจับเป็นเชลย[14] รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินการให้เซ็นจินคุนนั้นเกิดบรรลุผลด้วยการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งได้ทำการยกย่องสรรเสริญให้กับผู้ที่ต่อสู้รบจนตัวตายมากกว่าจะยอมจำนนในช่วงสงครามของญี่ปุ่น[15] ในขณะที่กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) ไม่ได้ตีพิมพ์แจกเอกสารเทียบเท่ากับเซ็นจินคุน บุคลากรของกองทัพเรือถูกคาดหวังให้แสดงพฤติกรรมที่คล้ายกันและไม่ยอมจำนน[16] ทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้กล่าวว่าพวกเขาจะถูกสังหารหรือทรมานโดยฝ่ายสัมพันธมิตร หากพวกเขาถูกจับเป็นเชลย[17] ข้อบังคับการปฏิบัติทางภาคสนามของกองทัพบกได้รับการแก้ไขใน ค.ศ. 1940 เพื่อแทนที่บทบัญญัติที่ระบุว่าบุคลากรที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสในโรงพยาบาลภาคสนามได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1929 สำหรับทหารผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในภาคสนาม โดยมีข้อกำหนดที่ว่าผู้บาดเจ็บจะไม่ตกอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก ในช่วงสงคราม สิ่งนี้ทำให้บุคลากรผู้บาดเจ็บจะถูกเจ้าหน้าที่แพทย์สังหารหรือถูกมอบด้วยระเบิดมือเพื่อให้ฆ่าตัวตาย เหล่านักบินจากเครื่องบินญี่ปุ่นซึ่งตกลงสู่ดินแดนที่ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครอง มักจะฆ่าตัวตายแทนที่พวกเขาจะยอมให้ถูกจับกุม[18]
เซ็นจินคุน[15]
ในขณะที่นักวิชาการไม่เห็นด้วยว่า เซ็นจินคุนนั้นมีผลผูกพันทางกฏหมายกับทหารญี่ปุ่นหรือไม่ เอกสารดังกล่าวสะท้อนถึงบรรทัดฐานทางสังคมของญี่ปุ่นและมีอำนาจเหนือทั้งบุคลากรทางทหารและพลเรือน ในปี ค.ศ. 1942 ทางกองทัพได้แก้ไขประมวลกฏหมายทางอาญาเพื่อระบุถึงเจ้าหน้าที่ที่ยอมจำนนทหารภายใต้บัญชาการของพวกเขาจะต้องถูกจำคุกอย่างน้อยหกเดือน โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ซึ่งการยอมจำนนจะเกิดขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ดึงดูดความสนใจเพียงเล็กน้อย เมื่อเซ็นจินคุนได้ถูกกำหนดมาอย่างเข้มงวดมากและมีพลังทางศีลธรรมมากขึ้น[19]
การปลูกฝังความคิดของทหารญี่ปุ่นถึงการให้ความเคารพการยอมจำนนเพียงเล็กน้อยได้นำไปสู่การปฏิบัติที่ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรพบว่าเป็นการหลอกลวง ในช่วงสงครามแปซิฟิก มีเหตุการณ์หนึ่งที่ทหารญี่ปุ่นได้แสร้งยอมจำนนเพื่อหลอกล่อกองกำลังทหารฝ่ายสัมพันธมิตรให้เข้ามาเพื่อซุ่มโจมตี นอกจากนี้ ทหารญี่ปุ่นที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งบางครั้งได้พยายามจะใช้ระเบิดมือเพื่อสังหารทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้พยายามจะช่วยเหลือพวกเขา[20] ทัศนคติต่อการยอมจำนนของญี่ปุ่นมีส่วนทำให้เกิดการปฏิบัติที่รุนแรงซึ่งเกิดขึ้นได้กับบุคลากรฝ่ายสัมพันธมิตรที่พวกเขาถูกจับกุม[21]
ไม่ใช่เพียงทหารญี่ปุ่นทุกคนที่เลือกที่จะปฏิบัติตามศีลธรรมที่ได้กำหนดเอาไว้ในเซ็นจินคุน เหล่าผู้ที่เลือกว่าจะยอมจำนนซึ่งที่ทำเช่นนั้นด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงไม่เชื่อว่าการฆ่าตัวตายนั้นเหมาะสมหรือขาดเจตจำนงที่จะกระทำดังกล่าว ความขมขืนต่อเจ้าหน้าที่ และการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะปฏิบัติเป็นอย่างดี[22] ในช่วงปีหลัง ๆ ของสงคราม ขวัญกำลังใจของทหารญี่ปุ่นนั้นได้พังทลายลงอันเป็นผลมาจากชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ส่งผลทำให้จำนวนผู้ที่เตรียมพร้อมจะยอมจำนนหรือแปรพักตร์เพิ่มมากขึ้น[23] ในช่วงยุทธการที่โอกินาวะ, ทหารญี่ปุ่นจำนวน 11,250 นาย (รวมทั้งแรงงานที่ไม่มีอาวุธ 3,581 คน) ได้ยอมจำนน ระหว่างเดือนเมษายนและเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1945 คิดเป็น 12 เปอร์เซ็นของกองกำลังที่ประการอยู่เพื่อป้องกันเกาะ จำนวนคนเหล่านี้เพิ่งถูกเกณฑ์มาจากสมาชิกหน่วยยามป้องกันบ้านเกิด โบอิไต ที่ไม่ได้รับการปลูกฝังความคิดแบบเดียวกับกองทัพประจำการของกองทัพบก แต่ก็มีทหารของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นจำนวนมากก็ได้ยอมจำนนเช่นกัน[24]
ความไม่เต็มใจที่จะยอมจำนนของทหารญี่ปุ่นยังได้รับอิทธิพลมาจากการรับรู้ว่า กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรจะสังหารพวกเขา หากพวกเขายอมจำนน และนักประวัติศาสตร์นามว่า Niall Ferguson ได้โต้แย้งว่าสิ่งนี้มีอิทธิพลที่สำคัญในความท้อใจในการยอมจำนนมากกว่าความกลัวว่าจะถูกลงโทษทางวินัยหรือดูหมิ่นศักดิ์ศรี[25] นอกจากนี้ ประชาชนชาวญี่ปุ่นทราบดีว่า บางครั้งกองกำลังทหารสหรัฐได้ทำการตัดอวัยวะจากศพทหารญี่ปุ่นและส่งของที่ระลึกที่ทำมาจากชิ้นส่วนของศพกลับไปยังบ้าน จากรายงานสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สำคัญถึงสองครั้งในปี ค.ศ. 1944 ซึ่งได้เปิดจดหมายถึงงานแกะสลักที่ทำมาจากกระดูกของทหารญี่ปุ่นซึ่งถูกนำเสนอต่อประธานาธิบดีรูสเวลต์ และภาพถ่ายกะโหลกทหารญี่ปุ่นที่ทหารสหรัฐจะส่งกลับบ้าน ได้ถูกตีพิมพ์ในนิตยสารไลฟ์ ในรายงานฉบับนี้ ชาวอเมริกันถูกมองว่า "วิกลจริต ป่าเถื่อน เหยียดผิว และไร้มนุษยธรรม"[26] หัวข้อใน "สงครามของญี่ปุ่น:ความขัดแย้งครั้งใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิก" ให้เหตุผลว่า การปฏิบัติของฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยการนำกระดูกจากซากศพของทหารญี่ปุ่นส่งกลับไปยังบ้านเพื่อเป็นของที่ระลึกนั้นได้ถูกนำไปใช้โดยการโฆษณาชวนเชื่อของญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ และ"ส่วนทำให้มีความยินยอมที่จะตายมากกว่าจะยอมจำนนและถูกจับกุม แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง ในการฆ่าตัวตายของพลเรือนจำนวนมากในเกาะไซปันและเกาะโอกินาวะ ภายหลังการยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตร"[27]
อ้างอิง
แก้- ↑ Fedorowich (2000), p. 61
- ↑ https://www.nytimes.com/1998/04/12/world/japan-s-blossoms-soothe-a-pow-lost-in-siberia.html
- ↑ Bergerud (1997), pp. 415–416
- ↑ Johnston (2000), p. 81
- ↑ Ferguson (2004), p. 176.
- ↑ https://www.nytimes.com/1998/04/12/world/japan-s-blossoms-soothe-a-pow-lost-in-siberia.html
- ↑ Drea (2009), p. 257
- ↑ Strauss (2003), pp. 17–19
- ↑ Strauss (2003), pp. 20–21
- ↑ "MIT Visualizing Cultures". visualizingcultures.mit.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.
- ↑ Strauss (2003), pp. 21–22
- ↑ "Australian War Memorial 013968". Collection database. Australian War Memorial. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2011. สืบค้นเมื่อ 1 January 2010.
- ↑ McCarthy (1959), p. 450
- ↑ Drea (2009), p. 212
- ↑ 15.0 15.1 Straus (2003), p. 39
- ↑ Straus (2003), p. 40
- ↑ Dower (1986), p. 77
- ↑ Ford (2011), p. 139
- ↑ Straus (2003), p. 40
- ↑ Doyle (2010), p. 206
- ↑ Straus (2003), p. 3
- ↑ Strauss (2003), pp. 44–45
- ↑ Gilmore (1998), pp. 2, 8
- ↑ Hayashi (2005), pp. 51–55
- ↑ Ferguson (2004), p. 176.
- ↑ Harrison, p.833
- ↑ Harrison, p.833