เชม (/ʃɛm/; ฮีบรู: שֵׁם, อักษรโรมัน: Šēm; อาหรับ: سَام, อักษรโรมัน: Sām)[a] เป็นหนึ่งในบุตรชายของโนอาห์ ในพระคัมภีร์ (ปฐมกาล 5-11[1] และ 1 พงศาวดาร 1:4) และ อัลกุรอาน

เชม
เชม บุตรโนอาห์ ศตวรรษที่ 16 วาดโดย Guillaume Rouillé
บุตรเอลาม
อัสชูร
อารปัคชาด
ลูด
อารัม
บิดามารดา
ครอบครัวยาเฟท และ ฮาม (น้องชาย)

บุตรของเชมคือ เอลาม อัสชูร อารปัคชาด ลูด และ อารัม นอกเหนือจากบุตรสาวที่ไม่มีชื่อ อับราฮัม อัครบิดรของชาวยิว, คริสเตียน และ มุสลิม เป็นหนึ่งในบุตรหลานของอารปัคชาด

ในยุคกลาง และ สมัยใหม่ของยุโรป ในยุคแรก เขาถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเอเชีย[2][3][4] และเขาให้ชื่อของเขาเป็นชื่อ "ชาวเซเมติก" ที่เคยตั้งให้กับชนชาติเอเชียตะวันตก[5]

วรรณกรรมอิสลามบรรยายว่าเชมเป็นหนึ่งในบุตรผู้ศรัทธาของโนอาห์ (นูห์) แหล่งข้อมูลบางแห่งถึงกับระบุว่าเชมเป็นผู้เผยพระวจนะในสิทธิ์ของเขาเอง และเขาเป็นผู้เผยพระวจนะคนต่อไปหลังจากบิดาของเขา[6]

การระบุทางภูมิศาสตร์สำหรับบุตรของโนอาห์ (โยเซพุส ราว ค.ศ. 100); บรรดาบุตรของเชม อยู่ในจุดสีเขียว
ลำดับวงศ์ตระกูลของเชม ถึง อับราฮัม ตามพระคัมภีร์แสดงที่มาของชาวโมอับ, ชาวอิสราเอล, ชาวอัมโมน, ชาวอิชมาเอล, ชาวเอโดม, ชาวมีเดียน และ ชาวอาเชอร์

ในพระคัมภีร์

แก้

ปฐมกาล 10

แก้

ปฐมกาล 10:21 อ้างถึงอายุสัมพัทธ์ของเชมและยาเฟท น้องชายของเขา แต่มีความกำกวมมากพอที่จะทำให้การแปลภาษาอังกฤษแตกต่างกัน กลอนนี้แปลในฉบับคิงเจมส์ ว่า: "ฝ่ายเชมพี่ชายคนโตของยาเฟทก็มีบุตรเช่นกัน และเป็นบิดาของพงศ์พันธุ์เอเบอร์ทั้งหมด"[7]

ตามปฐมกาล 10:22–31 (สมาคมสิ่งพิมพ์ชาวยิว แปลปี 1917):

22บุตรของเชมนั้นชื่อเอลาม อัสชูร อารปัคชาด ลูด และอารัม 23บุตรอารัมชื่ออูส ฮูล เกเธอร์ และมัช 24อารปัคชาดมีบุตรชื่อเช-ลาห์ ส่วนเช-ลาห์มีบุตรชื่อเอเบอร์ 25เอเบอร์มีบุตรสองคน คนหนึ่งชื่อเปเลก ด้วยว่าในช่วงอายุของเปเลกนั้น ดินแดนถูกแบ่งกัน และน้องชายของเปเลกชื่อโยกทาน 26โยกทานมีบุตรชื่ออัลโมดัด เชเลฟ ฮาซารมาเวท เยราห์ 27ฮาโดรัม อุซาล ดิคลาห์ 28โอบาล อาบีมาเอล เชบา 29โอฟีร์ ฮาวิลาห์ และโยบับ คนเหล่านี้เป็นบุตรของโยกทานทั้งนั้น 30ดินแดนที่พวกเขาอาศัยอยู่เริ่มจากเมชาไปทางเสฟาร์ถึงเทือกเขาทางทิศตะวันออก 31คนเหล่านี้เป็นพงศ์พันธุ์ของเชม ตามตระกูล ตามภาษา ตามดินแดนและตามชาติของเขา 32คนเหล่านี้เป็นพงศ์พันธุ์ที่สืบมาจากบุตรของโนอาห์ ตามลำดับพงศ์ ตามชาติของพวกเขา และจากคนเหล่านี้ประชาชาติทั้งหลายในโลกก็กระจายออกไปภายหลังน้ำท่วม[8]

ปฐมกาล 11

แก้

ปฐมกาล 11:10 บันทึกว่าเชมอายุได้ 100 ปีเมื่อให้กำเนิดอารปัคชาด สองปีหลังน้ำท่วม และมีชีวิตต่อไปอีก 500 ปี สิ้นอายุขัยได้ 600 ปี

ข้อความที่ตัดตอนมาจากปฐมกาล 11:10-27 — (สมาคมสิ่งพิมพ์ชาวยิว ฉบับ แปลปี 1917):

ต่อไปนี้เป็นเชื้อสายของเชม เมื่อเชมมีอายุได้ 100 ปีก็มีบุตรชื่ออารปัคชาดหลังน้ำท่วมสองปี ... เมื่ออารปัคชาดมีอายุได้ 35 ปี ก็มีบุตรชื่อเช-ลาห์ ตั้งแต่อารปัคชาดมีบุตรคือเช-ลาห์.. เมื่อเช-ลาห์มีอายุได้ 30 ปี ก็มีบุตรชื่อเอเบอร์ ... เมื่อเอเบอร์มีอายุได้ 34 ปี ก็มีบุตรชื่อเปเลก ... เมื่อเปเลกมีอายุได้ 30 ปีก็มีบุตรชื่อเรอู ... เมื่อเรอูมีอายุได้ 32 ปี ก็มีบุตรชื่อเสรุก '... เมื่อเสรุกมีอายุได้ 30 ปี ก็มีบุตรชื่อนาโฮร์ ... เมื่อนาโฮร์มีอายุได้ 29 ปี ก็มีบุตรชื่อเท-ราห์ ... เมื่อเท-ราห์มีอายุได้ 70 ปี ก็มีบุตร ชื่ออับราม นาโฮร์ และฮาราน ... ฮารานก็มีบุตรชื่อโลท

ในศาสนาอิสลาม

แก้

เชม หรือในภาษาอาหรับคือ ซาม (อาหรับ: سام, อักษรโรมัน: Sām) ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากนบีนูห์ โดยได้รับความรู้เชิงพยากรณ์ การตรัสรู้ และความเป็นผู้นำของประชาชนของเขา ซามยังเป็นหนึ่งในคนที่อัลลอฮ์ ให้นบีอีซา ฟื้นคืนชีพเพื่อเป็นสัญญาณแก่ชาวอิสราเอล[9] แต่นี้เป็นเพียงเรื่องเล่าที่ไม่มีแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง นักประวัติศาสตร์อิสลามในยุคแรก ๆ เช่น อิบน์ อิสฮาก และ อิบน์ ฮิชาม มักรวมชื่อของซาม ไว้ในลำดับวงศ์ตระกูลของนบีมุฮัมมัด[10]

เชิงอรรถ

แก้
  1. กรีก: Σήμ Sḗm; กืออึซ: ሴም, อักษรโรมัน: Sēm

อ้างอิง

แก้
  1. Genesis 5:32, 6:10; 7:13; 9:18,23,26–27; 10; 11:10
  2. Reynolds, Susan (October 1983). "Medieval Origines Gentium and the Community of the Realm". History. Chichester, West Sussex: Wiley-Blackwell. 68 (224): 375–390. doi:10.1111/j.1468-229X.1983.tb02193.x. JSTOR 24417596.
  3. Javakhishvili, Ivane (1950). საქართველოს, კავკასიისა და ახლო აღმოსავლეთის ისტორიულ-ეთნოლოგიური პრობლემები [Historical-Ethnological problems of Georgia, the Caucasus and the Near East] (PDF) (ภาษาจอร์เจีย). Tbilisi: Publishing House of the Academy of Sciences of the Georgian SSR. pp. 130–135. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2023.
  4. Kidd 2004.
  5. Bernard E. Lewis. "Who Are the Semites? – A historian traces the origins of the term". My Jewish Learning.
  6. Scott B. Noegel and Brannon M. Wheeler (2002). "Shem". In the Historical Dictionary of Prophets in Islam and Judaism. p. 301. ISBN 978-0-8108-4305-9.
  7. Genesis 10:21 KJV
  8. Max Leopold Margolis (1917). "Genesis 10:22–31". The Holy Scriptures according to the Masoretic text. Philadelphia: The Jewish Publication Society of America. OCLC 1132787.
  9. Ibn Kathir (26 พฤศจิกายน 2014). "28. Prophet Isa (Jesus)". Stories of the Prophets (ภาษาอังกฤษ). CreateSpace Independent Publishing Platform. pp. 173–187. ISBN 978-1-5033-8840-6.
  10. Ibn Ishāq (2004) [1955]. The Life of Muhammad – A translation of Ishāq's Sīrat Rasūl Allāh. แปลโดย Alfred Guillaume (17th ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 3. ISBN 0-19-636033-1.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้