เฉิน ฉุยเปี่ยน (จีน: ; ฮั่นยฺหวี่พินอิน: Chén Shuǐbiǎn; ทงย่งพินอิน: Chen Shuei-bian; เวด-ไจลส์: Ch'en Shui-pien; เป่อ่วยยี: Tân Chúi-píⁿ) หรือชื่อเล่น อาเปี่ยน เกิดเมื่อวันที่ 18 ก.พ. พ.ศ. 2492 ที่หมู่บ้านซีโจ้ว ตำบลกวันเถียน เมืองไถหนาน ครอบครัวเป็นชาวนาที่ยากจน บิดาชื่อเฉินซงเกิ่น มารดาชื่อเฉินหลี่เสิ้น มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน แม้ครอบครัวจะยากจนแต่พ่อแม่ก็สนับสนุนให้ลูก ๆ เรียนหนังสือ โดยเฉพาะเฉิน ฉุยเปี่ยน ซึ่งมีผลการเรียนดีมาตั้งแต่เด็ก

เฉิน ฉุยเปี่ยน
陳水扁
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
หัวหน้ารัฐบาลถัง เฝย
จาง จุน เซียง
ยู่ ฉี กุ้น
แฟรงก์ เซี่ย
ซู เจินชาง
รองประธานาธิบดีหลู่ ซิ่วเหลียน
ก่อนหน้าหลี่ เติงฮุย
ถัดไปหม่า อิงจิ่ว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 (74 ปี)
ตำบลกวันเถียน เมืองไถหนาน สาธารณรัฐจีน
ศาสนาลัทธิอนุตตรธรรม[1]
คู่สมรสอู๋ สูเจิน

การศึกษา

แก้

เฉิน ฉุยเปี่ยน จบการศึกษาชั้นประถม ชั้นมัธยมศึกษาชั้นต้นและตอนปลายสอบได้คะแนนสูงอันดับที่ 1 และสอบเข้าเรียนในคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (หรือมหาวิทยาลัยไถต้า) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดของไต้หวันด้วยคะแนนสูงเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ เฉิน ฉุยเปี่ยน คว้าอันดับที่ 1 ของประเทศอีกครั้ง จากการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความขณะที่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ดังนั้นแม้ยังไม่สำเร็จการศึกษา เฉิน ฉุยเปี่ยน ก็สามารถออกว่าความได้แล้ว

เส้นทางการเมือง

แก้

เฉิน ฉุยเปี่ยนสมรสกับอู๋สูเจินบุตรสาวของนายแพทย์ชื่อดังและร่ำรวยของเมืองไถหนาน ทั้งคู่รักกันตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ มีบุตรธิดาอย่างละ 1 คน เฉิน ฉุยเปี่ยนก้าวเข้าสู่วงการการเมือง โดยรับเป็นทนายว่าความให้ผู้ต้องหาคดีก่อเหตุจลาจลคือ นายหวงซิ่นเจ้แกนนำพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ต่อมาลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นก่อน โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไทเป ระหว่างนี้ถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาทเลขาธิการของประธานาธิบดีเจียงจิงกัว ถูกตัดสินให้จำคุก 1 ปี และต้องจ่ายเงินชดเชยให้โจทย์ 2 ล้านเหรียญ

ปลายปี 2528 ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการเมืองไถหนาน แต่ประสบความพ่ายแพ้ด้วยคะแนนเสียงที่เฉียดฉิว สองวันหลังการเลือกตั้ง ภรรยาของเฉิน ฉุยเปี่ยนประสบอุบัติเหตุถูกรถชนได้รับบาดเจ็บสาหัสและกลายเป็นคนพิการเดินไม่ได้ตลอดชีวิต อุบัติเหตุครั้งนี้ เฉิน ฉุยเปี่ยน ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ด้วยปักใจเชื่อว่าเป็นอุบัติเหตุทางการเมือง

ปี 2532 เฉิน ฉุยเปี่ยนได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ (ส.ส.) และกลายเป็น ส.ส. ดาวรุ่งที่มาแรงมากในสมัยนั้น โดยเลือกเปิดโปงคดีทุจริตดัง ๆ หลายคดี โดยเฉพาะความไม่ชอบมาพากลในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพ เดือนธันวาคม ปี 2535 ได้รับเลือกเป็น ส.ส. สมัยที่ 2 เดือนกรกฎาคม ปี 2536 ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสาร Times ของสหรัฐให้เป็นบุรุษแห่งปีของไต้หวัน เดือนพฤศจิกายน ปี 2537 นิตยสาร Times เลือกให้เป็น 1 ใน 100 ของผู้นำการเมืองของโลก เดือนธันวาคม ปี 2537 ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการกรุงไทเป ซึ่งเขาก็ชนะการเลือกตั้งและกลายเป็นผู้ว่าการกรุงไทเปคนแรกที่มาจากพรรคฝ่ายค้าน แต่มาพ่ายแพ้การเลือกตั้งในครั้งต่อมา เฉิน ฉุยเปี่ยน เบนเข็มไปที่เก้าอี้ประธานาธิบดี เขาออกตระเวนเยือนหมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ ทั่วไต้หวัน ทำให้คะแนนนิยมของเฉิน ฉุยเปี่ยนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะทางภาคใต้ของเกาะไต้หวัน วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2543 เฉิน ฉุยเปี่ยนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของไต้หวันสาธารณรัฐจีน กลายเป็นประธานาธิบดีที่หนุ่มที่สุดในประวัติศาสตร์ของไต้หวันสาธารณรัฐจีนด้วยอายุเพียง 49 ปีและเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากพรรคฝ่ายค้านด้วย

วิดีโอ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Kuo, Cheng-Tian (2008). Religion and Democracy in Taiwan. Albany, New York: State University of New York Press. p. 13. ISBN 978-0-7914-7445-7. Zbl 1975.K84. Chen Shui-bian was an initiated member of I-Kuan Tao. Nevertheless, he never publicly acknowledged his religious belief. Probably because of the syncretistic nature of I-Kuan Tao, Chen has paid his respects to all religions on their important holidays. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |zbl= (help)