เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว

เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว (ญี่ปุ่น: 吸血鬼すぐ死ぬโรมาจิKyūketsuki Sugu Shinuทับศัพท์: คีวเก็ตสึกิ ซูงุ ชินุ; แปลว่า "แวมไพร์ตายในฉับพลัน") เป็นซีรีส์มังงะญี่ปุ่น แต่งเรื่องและวาดภาพโดยอิตารุ บนโนกิ ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งแชมเปียนรายสัปดาห์ นิตยสารมังงะแนวโชเน็งของสำนักพิมพ์อากิตะโชเต็งตั้งเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 และได้รับการรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือมังงะรวมเล่ม (ทังโกบง) ถึงเล่มที่ 25 เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ซีรีส์มังงะมีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ดัดแปลงผลิตโดยสตูดิโอแมดเฮาส์ ออกอากาศตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 ฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2566

เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว
หน้าปกหนังสือมังงะ (ทังโกบง) เล่มแรก
吸血鬼すぐ死ぬ
(Kyūketsuki Sugu Shinu)
ชื่อภาษาอังกฤษThe Vampire Dies in No Time
แนวสุขนาฏกรรม[1]
มังงะ
เขียนโดยอิตารุ บนโนกิ
สำนักพิมพ์อากิตะโชเต็ง
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทยสยามอินเตอร์คอมิกส์
ในเครือโชเน็งแชมเปียนคอมิกส์
นิตยสารโชเน็งแชมเปียนรายสัปดาห์
กลุ่มเป้าหมายโชเน็ง
วางจำหน่ายตั้งแต่25 มิถุนายน พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม25 (ญี่ปุ่น)
2 (ไทย) (หนังสือ)
อนิเมะโทรทัศน์
กำกับโดยฮิโรชิ โคจินะ
เขียนบทโดยยูกิเอะ ซูงาวาระ
ดนตรีโดยเรียว ทากาฮาชิ
สตูดิโอแมดเฮาส์
ถือสิทธิ์โดยอนิพลัส
เครือข่ายโตเกียวเอ็มเอ็กซ์, BS11, tvk, KBS Kyoto, SUN
เครือข่ายภาษาไทยเอไอเอสเพลย์, อ้ายฉีอี้, เน็ตฟลิกซ์, ทรูไอดี
ฉาย 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 27 มีนาคม พ.ศ. 2565
ตอน24 (รายชื่อตอน)
icon สถานีย่อยการ์ตูนญี่ปุ่น

เนื้อเรื่อง

แก้

ฉาก

แก้

ซีรีส์มีฉากเป็นโลกที่แวมไพร์มีตัวตนจริง มีตั้งแต่แวมไพร์ชั้นต่ำซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นสัตว์ และแวมไพร์บรรพชนที่มีลักษณะและสติปัญญาเหมือนมนุษย์ แวมไพร์บรรพชนทุกตนมีความสามารถและจุดอ่อนพื้นฐานของแวมไพร์ แต่บางตนก็มีความสามารถพิเศษที่แตกต่างออกไปจากแวมไพร์ตนอื่น แวมไพร์บรรพชนยังสามารถหาสัตว์ทั่วไปมาทำให้เป็นภูตรับใช้ที่เป็นอมตะได้

แวมไพร์บางตนเลือกจะใช้ชีวิตร่วมกับมนุษย์อย่างสันติ ส่วนบางตนเลือกจะทำตนเป็นภัยคุกคาม ดังนั้นมนุษย์บางกลุ่มจึงทำหน้าที่เป็นแวมไพร์ฮันเตอร์ (นักล่าแวมไพร์) เพื่อควบคุมแวมไพร์ที่ไม่เป็นมิตร

เรื่องย่อ

แก้

เรื่องราวเกี่ยวกับโรนัลด์แวมไพร์ฮันเตอร์ผู้โด่งดัง ผู้ได้รับงานไปปราบดราลุค แวมไพร์บรรพชนที่ร่ำลือกันว่าไร้เทียมทาน เพื่อช่วยเหลือเด็กมนุษย์ผู้ชายที่ดราลุคถูกกล่าวหาว่าลักพาตัวไป แต่เมื่อโรนัลด์เผชิญหน้ากับดราลุคในปราสาท จึงได้รู้ความจริงว่าดราลุคเป็นแวมไพร์ที่อ่อนแออย่างเหลือเชื่อ ไม่ว่าจะโดนอะไรก็จะตายสลายกลายเป็นทราย แต่ก็มีความสามารถในการฟื้นคืนชีพอย่างรวดเร็วแทบจะทันทีหลังกลายเป็นทราย ส่วนเด็กที่เชื่อว่าถูกลักพาตัวไปนั้นแท้จริงเพียงแต่แอบเข้ามาในปราสาทของดราลุคเป็นประจำเพื่อเล่นวิดีโอเกมจำนวนมากที่ดราลุคสะสมไว้ ระหว่างที่โรนัลด์เผชิญหน้ากับดราลุคนั้นก็เกิดความโกลาหลจนทำให้ปราสาทของดราลุคถูกทำลายกลายเป็นจุณ

ดราลุคที่กลายเป็นแวมไพร์ไร้ที่อยู่จึงย้ายไปอาศัยที่สำนักงานปราบแวมไพร์ของโรนัลด์ สร้างความรำคาญให้โรนัลด์ ดราลุคยังพาภูตรับใช้เป็นตัวอาร์มาดิลโลที่น่ารักชื่อจอห์น ซึ่งโรนัลด์ก็เอ็นดูจอห์นมาก หลังจากดราลุคได้ช่วยเหลือโรนัลด์ในคดีแวมไพร์ครั้งหนึ่ง ทั้งคู่จึงกลายเป็นคู่หูอย่างไม่เป็นทางการ มักจะพบปะและปะทะกับเหล่าแวมไพร์และแวมไพร์ฮันเตอร์มากหน้าหลายตา

ตัวละคร

แก้

สำนักงานปราบแวมไพร์โรนัลด์

แก้
โรนัลด์ (ロナルド, Ronarudo)
ให้เสียงโดย: มาโกโตะ ฟูรูกาวะ[2], มุตสึมิ ทามูระ (วัยเด็ก) (ญี่ปุ่น); สรวิศ ตงเท่ง[3] (ไทย)
แวมไพร์ฮันเตอร์อายุราวยี่สิบปีที่ปฏิบัติงานอยู่ที่ชินโยโกฮาม่า เดิมทีไม่พอใจที่จะมีดราลุคมาเป็นเพื่อนร่วมห้อง แต่ความเป็นคู่หูระหว่างเขากับดราลุคที่เขียนไว้ในซีรีส์นิยาย "มหากาพย์โรนัลด์วอร์" ที่โรนัลด์เขียนทำให้นิยายประสบความสำเร็จด้านรายได้อย่างมาก โรนัลด์จึงต้องทนอยู่กับดราลุคอย่างไม่ค่อยเต็มใจ มักจะฆ่าดราลุคบ่อย ๆ เวลาดราลุคทำตัวน่ารำคาญ นอกจากนี้โรนัลด์ยังเป็นโรคกลัวขึ้นฉ่ายขั้นรุนแรง
ดราลุค (ドラルク, Doraruku)
ให้เสียงโดย: จุง ฟูกูยามะ[2], ยูมิริ ฮานาโมริ (วัยเด็ก) (ญี่ปุ่น); ฎาวิล วิศาลบรรณวิทย์[3] (ไทย)
แวมไพร์เชื้อสายโรมาเนีย-ญี่ปุ่นอายุ 208 ปีจากทรานซิลเวเนีย ชอบเล่นวิดีโอเกมและชอบล้อเลียนโรนัลด์ แต่ในสถานการณ์ปกติโดยมากมักมีสามัญสำนึกและมีความเป็นสุภาพบุรุษต่อผู้หญิง ในฐานะเพื่อนร่วมห้องของโรนัลด์ ดราลุครับผิดชอบในการทำความสะอาดและการทำอาหารซึ่งถือเป็นหนึ่งในความสามารถพิเศษของดราลุค ดราลุคเป็นแวมไพร์อ่อนแอที่มักจะตายอยู่บ่อย ๆ โดยการสลายกลายเป็นทราย แต่ดราลุคนั้นเป็นอมตะ สามารถฟื้นคืนร่างตัวเองได้อย่างรวดเร็ว
จอห์น (ジョン, Jon)
ให้เสียงโดย: มุตสึมิ ทามูระ[4] (ญี่ปุ่น); ชุติกาญจน์ บางแดง[3] (ไทย)
อาร์มาดิลโลสามแถบจากอเมริกาใต้และเป็นสัตว์อสูรรับใช้ของดราลุค เป็นที่รักและเอ็นดูของทุก ๆ คน มีเสียงร้องว่า "นู"

หน่วยปราบปรามแวมไพร์

แก้
ฮินะอิจิ (ヒナイチ, Hinaichi)
ให้เสียงโดย: นัตสึมิ ฮิโอกะ[4] (ญี่ปุ่น); ปพิชญา แสวงผล[3] (ไทย)
เจ้าหน้าที่จากหน่วยปราบปรามแวมไพร์ เป็นรองหัวหน้าหน่วยที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของหน่วยด้วยอายุ 19 ปี ใช้ดาบคู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ชื่นชอบอาหารฝีมือของดราลุคโดยเฉพาะคุกกี้
ฮันดะ โท (半田桃, Handa Tо̄)
ให้เสียงโดย: โยชิตสึงุ มัตสึโอกะ[4] (ญี่ปุ่น); อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา[3] (ไทย)
ผู้ใต้บังคับบัญชาของฮินะอิจิ เป็นแดมพีร์และอดีตเพื่อนร่วมชั้นในโรงเรียนมัธยมปลายเดียวกับโรนัลด์ เป็นคนติดแม่ที่เป็นแวมไพร์ จึงไม่ชอบที่แม่ของตนเป็นแฟนหนังสือของโรนัลด์และมักหาทางทำให้แม่ของตนเห็นด้านแย่ ๆ ของโรนัลด์
ฮิโยชิ (ヒヨシ, Hiyoshi)
ให้เสียงโดย: ไดซูเกะ โอโนะ[5]
หัวหน้าหน่วยปราบปรามแวมไพร์และเป็นพี่ชายของโรนัลด์ เคยเป็นแวมไพร์ฮันเตอร์
ซาเกียว (サギョウ, Sagyō)
ให้เสียงโดย: โคตาโร นิชิยามะ[6]
เจ้าหน้าที่คนใหม่ของหน่วยปราบปรามแวมไพร์
เคย์ คันทาโร่ (ケイ・カンタロウ, Kei Kantarō)
ให้เสียงโดย: เซอิจิโร ยามาชิตะ[6] (ญี่ปุ่น); อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา (ไทย)
เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของหน่วยปราบปรามแวมไพร์

ฮันเตอร์กิลด์

แก้
ซาเท็ตสึ (サテツ, Satetsu)
ให้เสียงโดย: โยชิมาซะ โฮโซยะ[5] (ญี่ปุ่น); รุจิระ ขจีเจริญ[3] (ไทย)
แวมไพร์ฮันเตอร์จากกิลด์ที่มีเกราะโลหะที่แขนซ้าย
ช็อต (ショット, Shotto)
ให้เสียงโดย: อัตสึชิ ทามูระ[5] (ญี่ปุ่น); ขจรภพ อินทร์ชิน[3] (ไทย)
แวมไพร์ฮันเตอร์จากกิลด์ผู้ชวมชุดแนวอเมริกันตะวันเฉียงใต้ มีรสนิยมชอบขนบนร่างกายผู้หญิง
มาเรีย (マリア, Maria)
ให้เสียงโดย: โยโกะ ฮิกาซะ[7]
แวมไพร์ฮันเตอร์หญิงจากกิลด์ผู้แต่งตัวเป็นแม่ชี มีงานหลักคือเป็นพรานล่าหมีมาตางิ
ต๋าเฉียง[a] (ター・チャン, Ta Chan)
ให้เสียงโดย: คาโอริ อิชิฮาระ[7]
แวมไพร์ฮันเตอร์หญิงร่างเล็กจากกิลด์ สวมชุดคล้ายชุดกี่เพ้า เป็นคนโผงผางตรงไปตรงมา
ซีเนีย ซีริสกี (シーニャ・シリスキー, Shi'nya Shirisuki)
ให้เสียงโดย: มาซายะ โอโนซากะ (ญี่ปุ่น); มนัสวิน มลิวงศ์[3] (ไทย)
แวมไพร์เทรนเนอร์ผู้ชอบฝึกสอนและควบคุมแวมไพร์ที่จับมาได้
โกเซ็ตสึ/มาสเตอร์ (ゴウセツ / マスター, Gо̄setsu / Masuta)
ให้เสียงโดย: เท็ตสึ อินาดะ
อดีตแวมไพร์ฮันเตอร์ที่กลายมาเป็นกิลด์มาสเตอร์และบาร์เทนเดอร์ของสมาคม
โคยูกิ (コユキ, Koyuki)
ให้เสียงโดย: ยูกิ ทากาดะ (ญี่ปุ่น); ดวงกมล นาระตะ[3] (ไทย)
ลูกสาวของโกเซ็ตสึ ทำงานเป็นบาร์เมด
วาโมเน่ (ヴァモネ, Vamone)
แวมไพร์ฮันเตอร์ที่สวมหน้ากากเป็ด เป็นที่นิยมมาก
โฮมรันแบตเตอร์ (ホームランバッター, Hōmuranbatta)
ให้เสียงโดย: ฮิโรโนริ ชิโอจิริ
แวมไพร์ฮันเตอร์ในชุดนักเบสบอล
เมโดกิและโชกะ (メドキ & ショーカ, Medoki & Shōka)
ให้เสียงโดย: โคได ซาไก (เมโดกิ), จุนจิ มาจิมะ (โชกะ) (ญี่ปุ่น); อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา (โชกะ)[3] (ไทย)
แวมไพร์ฮันเตอร์อีกสองคนในกิลด์
มิคาซึกิ (ミカヅキ, Mikazuki)
ให้เสียงโดย: อายูมุ มูราเซะ[8] (ญี่ปุ่น); มนัสวิน มลิวงศ์[3] (ไทย)
แดมพีร์ผู้มีความมุ่งมั่นในการปราบแวมไพร์

แวมไพร์

แก้
แวมไพร์เซนราเนียม (吸血鬼ゼンラニウム, Kyūketsuki Zenraniumu)
ให้เสียงโดย: อากิโตะ อตสึกะ
แวมไพร์เกือบเปลือยที่มีช่อดอกเจอราเนียมต่างเซ็นเซอร์ที่บริเวณหว่างขา มีความสามารถในการควบคุมพืชและคนที่ถูกป้อนด้วยเมล็ดพืช
นางิริจอมเชือด[b] (辻斬りナギリ, Tsujigiri Nagiri)
ให้เสียงโดย: โทชิฮิโกะ เซกิ (ญี่ปุ่น); ศิวพันธ์ บุณยรัตพันธุ์[3] (ไทย)
แวมไพร์อดีตฆาตกรต่อเนื่องผู้มีความสามารถทำให้เลือดแข็งตัวเป็นใบมีดโดยมักสร้างจากฝ่ามือ
สัตว์ประหลาด[c] (へんな動物, Henna Dōbutsu)
ให้เสียงโดย: ยาซูฮิโระ ทากาโตะ (ญี่ปุ่น); มนัสวิน มลิวงศ์[3] (ไทย)
ชื่อจริง: ฟอน นา ดูบุตซ์ (フォン・ナ・ドゥーブツ Fon na doubutsu) แวมไพร์ที่มีความสามารถในการแปลงร่างได้หลากหลาย แต่ควบคุมพลังของตนไม่ค่อยได้เพราะชอบคิดเรื่องลามกตลอดเวลา ร่างจริงเป็นแวมไพร์ผมทองรูปหล่อ
โบซัตสึ[d] (ボサツ, Bosatsu)
ให้เสียงโดย: รีวเซ นากาโอะ (ญี่ปุ่น); ขจรภพ อินทร์ชิน[3] (ไทย)
แมวแวมไพร์ที่ต่อมากลายเป็นแมวของฟุคุมะ
อดัม (アダム, Adamu)
ให้เสียงโดย: โทโมฮิโระ โอมาจิ
แวมไพร์รูปหล่อที่พยายามจีบสาวคนหนึ่ง แต่กลับดึงดูดมาเรมิที่เป็นเพือนของสาวคนนั้นให้เข้ามาหาแทน อดัมไม่อยากสานสัมพันธ์กับมาเรมิพยายามหลบหนีจากมาเรมิ จนกระทั่งได้มาเรมิช่วยชีวิตจากการถูกรถชน อดัมจึงหันมาหลงไหลมาเรมิ
เก็คโคอิน มาเรมิ (月光院 希美, Gekkōin Maremi)
ให้เสียงโดย: คานะ ฮานาซาวะ
อดีตเคยเป็นมนุษย์ ปัจจุบันเป็นแวมไพร์ เป็นที่รู้จักในนามจักรพรรดินี มาเรมิเข้าใจผิดว่าอดัมกำลังจีบตนทั้งที่อดัมตั้งใจจะจีบเพื่อนของมาเรมิ มาเรมิจึงเริ่มไล่ตามอดัมหวังจะให้อดัมกัดตน หลังมาเรมิช่วยชีวิตอดัมจากการถูกรถชนและกลับเป็นฝ่ายถูกรถชนบาดเจ็บใกล้ตาย อาดัมจึงตัดสินใจกัดมาเรมิเพื่อทำให้มาเรมิกลายเป็นแวมไพร์ เมื่อมาเรมิฟื้นขึ้นมาในฐานะแวมไพร์ก็กลายเป็นผู้มีพลังมหาศาล
แวมไพร์คุณลุงทะลึ่งตึงตัง[e] (吸血鬼Y談おじさん, kyūketsuki waidan ojisan)
ให้เสียงโดย: คาซูฮิโกะ อิโนอูเอะ
แวมไพร์ที่มีรูปร่างเป็นชายวัยกลางคนซึ่งมีความสามารถในการสะกดจิตทำให้ผู้คนพูดรสนิยมทางเพศของตน เป็นคนรู้จักเก่าแก่ของดราอุสพ่อของดราลุค
แวมไพร์คนรักเป่ายิงฉุบแก้ผ้า[f] (吸血鬼野球拳大好き, kyūketsuki yakyūken daisuki)
ให้เสียงโดย: ชิเงรุ ชิบะ (ญี่ปุ่น); ขจรภพ อินทร์ชิน[3] (ไทย)
แวมไพรผู้รักการเล่นยาคีวเค็งหรือเป่ายิงฉุบแก้ผ้า มีความสามารถในการกางม่านพลังกักคู่ต่อสู้ที่ตนต้องการเล่นเป่ายิงฉุบด้วย ผู้แพ้จะสูญเสียเครื่องแต่งกายของตนไปทีละชิ้น มีชื่อจริงว่า เค็น (ケン, Ken)
แวมไพร์ไมโครบิกีนี่ (吸血鬼マイクロビキニ, kyūketsuki maikuro bikini)
ให้เสียงโดย: ฮิโรกิ ยาซูโมโตะ (ญี่ปุ่น); ภาคภูมิ วันทอง[3] (ไทย)
แวมไพร์ที่ดึงพลังมาจากไมโครบิกินี่ที่ตนสวม ใครก็ตามที่ถูกเขากัดก็จะถูกสวมไมโครบิกินี่และตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเขา เป็นน้องชายของแวมไพร์คนรักเป่ายิงฉุบแก้ผ้า มีชื่อจริงว่า มิคาเอลา (ミカエラ, Mikaera)
ท่อนล่างใสแจ๋ว (下半身透明, Kahanshin Tōmei)
ให้เสียงโดย: โนบูนางะ ชิมาซากิ
แวมไพร์คล้ายผีที่มีความสามารถทำให้ร่างกายส่วนล่างโปร่งใส เป็นน้องชายคนสุดท้องของแวมไพร์คนรักเป่ายิงฉุบแก้ผ้าและแวมไพร์ไมโครบิกินี่
แวมไพร์ประพฤติผิดระเบียบ[g] (吸血鬼マナー違反, kyūketsuki manaaihan)
ให้เสียงโดย: โซมะ ไซโต
แวมไพร์ผู้ควบคุมกูลเพื่อละเมิดมารยาททางสังคมและก่อความรำคาญในที่สาธารณะ มีชื่อจริงว่า มานาบุ
แวมไพร์จุมพิตพิศวาส[h] (吸血鬼熱烈キッス, kyūketsuki netsuretsu kissu)
ให้เสียงโดย: มิซะ โคบายาชิ
แวมไพร์รูปร่างประหลาดที่มีริมฝีปาก 3 อัน พุ่งเป้าไปที่ชายหนุ่มหน้าตาดีและดูดเลือดผ่านการจูบ ชื่อจริงของเธอคือ ฮานาซาคุ ฟรานเชสก้า (花咲 フランチェスカ, Hanasaku Furanchesuka)
อาราเนีย (アラネア, Aranea)
ให้เสียงโดย: ซูมิเระ อูเอซากะ (ญี่ปุ่น); นิมมาน ชุนหชา[3] (ไทย)
แวมไพร์ที่มีความสามารถของแมงมุม
ดราอุส (ドラウス, Dorausu)
ให้เสียงโดย: โช ฮายามิ (ญี่ปุ่น); ศิวพันธ์ บุณยรัตพันธุ์[3] (ไทย)
พ่อของดราลุค
มิร่า (ミラ, Mira)
ให้เสียงโดย: อัตสึโกะ ทานากะ (ญี่ปุ่น); นิมมาน ชุนหชา[3] (ไทย)
แม่ของดราลุค
ปู่ของดราลุค (ドラルクの祖父, Doraruku no Sofu)
ให้เสียงโดย: โจจิ นากาตะ (ญี่ปุ่น); รุจิระ ขจีเจริญ[3] (ไทย)
กอร์กอน่า (ゴルゴナ, Gorugona)
ให้เสียงโดย: ยูกิ โคไดระ
อาสะใภ้ของดราลุคและน้องสะใภ้ของดราอุส สนใจการเต้นโพลแดนซ์ของโรนัลด์
อุระชินโยโกฮาม่า
ให้เสียงโดย: โฮจู อตสึกะ[9]
แวมไพร์ที่มีรูปร่างเป็นสถานีรถไฟ

สำนักพิมม์ออทัมโชเต็น

แก้
ฟุคุมะ (フクマ, Fukuma)
ให้เสียงโดย: ชูอิจิ โทกิ[5] (ญี่ปุ่น); รุจิระ ขจีเจริญ[3] (ไทย)
บรรณาธิการของโรนัลด์จากสำนักพิมม์ออทัมโชเต็น
ซันสุ (サンズ, Sanzu)
ให้เสียงโดย: มาริยะ อิเซะ[10]
หญิงสาวไฟแรงผู้เข้าทำงานในสำนักพิมพ์ออทัมโชเต็นหวังจะได้เป็นบรรณาธิการของโรนัลด์แทนฟุคุมะ มีนิสัยมักพูดสองแง่สามง่ามโดยไม่ตั้งใจเมื่อคุยกับโรนัลด์

ตัวละครอื่น ๆ

แก้
โยมตสึซากะ (ヨモツザカ, Yomotsuzaka)
ให้เสียงโดย: ทาเกฮิโตะ โคยาซุ[6]
ผุ้อำนวยการของศูนย์วิจัยแวมไพร์
ตากล้อง/คาเมยะ (カメ谷, Kameya)
ให้เสียงโดย: ทากายูกิ คงโด[5] (ญี่ปุ่น); อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา (ไทย)
ช่างภาพและนักข่าว อดีตเพื่อนร่วมชั้นเรียนของโรนัลด์ผู้ติดตามการทำงานของโรนัลด์อย่างใกล้ชิด
ไอ้เด็กคิกบอร์ด (キックボードのガキ, Kickboard no gaki)
ให้เสียงโดย: มุตสึมิ ทามูระ[5]
เด็กชายที่แอบเข้ามาในปราสาทของดราลุคเพื่อเล่นวิดีโอเกม เป็นต้นเหตุที่ทำให้ดราลุคเสียที่อยู่และย้ายมาอาศัยที่สำนักงานของโรนัลด์
โบโบโอะ (暴々夫, Bobo)
ให้เสียงโดย: ฮารูโอะ ยามางิชิ [5]
ผู้จัดการร้านสะดวกซื้อแวมมิลี่มาร์ทซึ่งตั้งอยู่ใกล้สำนักงานของโรนัลด์
บุบุโอะ (武々夫, Bubuo)
ให้เสียงโดย: ยูกิฮิโระ โนซูยามะ[5]
ลูกชายของโบโบโอะที่มีนิสัยหัวรั้น
คาโต้ ชินอิจิ, โยโคตะ ฮิโรชิ และมาโคโตะ ฮากิโนะ (加藤 新一、横田 浩、萩野 真, Katō Shin'ichi, Yokota Hiroshi, Hagino Makoto)
ให้เสียงโดย: นัตสึมิ ฟูจิวาวะ (ชินอิจิ), ซายากะ คิกูจิ (ฮิโรชิ), อายากะ อาซาอิ (มาโคโตะ) (ญี่ปุ่น); ชุติกาญจน์ บางแดง (ชินอิจิ), ดวงกมล นาระตะ (ฮิโรชิ), ปพิชญา แสวงผล (มาโคโตะ)[3] (ไทย)
เด็กนักเรียนชั้นประถมสามคนผู้ชอบเล่นออกล่าแวมไพร์

สื่อ

แก้

มังงะ

แก้

เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว แต่งเรื่องและวาดภาพโดยอิตารุ บนโนกิ มังงะเริ่มตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งแชมเปียนรายสัปดาห์ นิตยสารมังงะแนวโชเน็งของสำนักพิมพ์อากิตะโชเต็งตั้งแต่ฉบับที่ 30 ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558[11] ได้รับการรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือมังงะรวมเล่ม (ทังโกบง) ถึงเล่มที่ 24 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[12]

หนังสือมังงะ

แก้
ซีรีส์ภาคหลัก
แก้
# วันที่ออกจำหน่ายต้นฉบับ ISBN ต้นฉบับ วันที่ออกจำหน่ายภาษาไทย ISBN ภาษาไทย
1 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558[13]978-4-253-22279-2เมษายน พ.ศ. 2567978-616-605-833-8
2 8 เมษายน พ.ศ. 2559[14]978-4-253-22280-8พฤษภาคม พ.ศ. 2567978-616-605-834-5
3 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559[15]978-4-253-22281-5
4 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[16]978-4-253-22282-2
5 8 มีนาคม พ.ศ. 2560[17]978-4-253-22283-9
6 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560[18]978-4-253-22284-6
7 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560[19]978-4-253-22285-3
8 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[20]978-4-253-22323-2
9 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561[21]978-4-253-22324-9
10 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561[22]978-4-253-22325-6
11 8 มกราคม พ.ศ. 2562[23]978-4-253-22326-3
12 8 เมษายน พ.ศ. 2562[24]978-4-253-22327-0
13 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562[25]978-4-253-22328-7
14 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562[26]978-4-253-22329-4
15 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[27]978-4-253-22330-0
16 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563[28]978-4-253-22231-0
17 8 เมษายน พ.ศ. 2564[29]978-4-253-22232-7
18 8 กันยายน พ.ศ. 2564[30]978-4-253-22233-4
19 7 มกราคม พ.ศ. 2565[31]978-4-253-22234-1
20 8 มีนาคม พ.ศ. 2565[32]978-4-253-22235-8
21 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565[33]978-4-253-28191-1
22 8 กันยายน พ.ศ. 2565[34]978-4-253-28192-8
23 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565[35]978-4-253-28193-5
24 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[12]978-4-253-28194-2
25 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[36]978-4-253-28194-2
อาร์มาดิลโล โนะ จอห์น ฟอร์ม คีวเค็ตสึกิ ซูงุ ชินุ
แก้
# วันที่ออกจำหน่าย ISBN
1 8 เมษายน พ.ศ. 2562[37]978-4-253-25366-6
2 6 มกราคม พ.ศ. 2566[38]978-4-253-25367-3

อนิเมะ

แก้

อนิเมะดัดแปลงมีการประกาศสร้างในนิตยสารโชเน็งแชมเปียนรายสัปดาห์ฉบับที่ 23 ที่วางจำหน่ายในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[1] ภายหลังมีการเผยว่าเป็นซีรีส์โทรทัศน์ ผลิตโดยสตูดิโอแมดเฮาส์ กำกับโดยฮิโรชิ โคจินะ ดูแลบทของซีรีส์โดยยูกิเอะ ซูงาวาระ ออกแบบตัวละครโดยมายูโกะ นากาโนะ และแต่งดนตรีประกอบโดยเรียว ทากาฮาชิ ซีรีส์อนิเมะออกอากาศตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคมถึม 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทางช่องโตเกียวเอ็มเอ็กซ์, BS11, tvk, KBS Kyoto และ SUN[2][39][5] จุง ฟูกูยามะร้องเพลงเปิดชื่อเพลงว่า "Dies in No Time" ส่วนไดซูเกะ โอโนะและทากายูกิ คนโดในฐานะวงชื่อ TRD ร้อ เพลงปิดชื่อเพลงว่า "Strangers"[40][41] อนิพลัสได้ลิขสิทธิ์เผยแพร่ในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยฉายทางเอไอเอสเพลย์และอ้ายฉีอี้ และมีรูปแบบพากย์เสียงภาษาไทยทางอ้ายฉีอี้ ส่วนฟันนิเมชันได้ลิขสิทธิ์เผยแพร่อนิเมะนอกทวีปเอเชีย[42] ภายหลังอีกหนึ่งปี เน็ตฟลิกซ์ได้ลิขสิทธิ์เผยแพร่อนิเมะในทวีปเอเชียในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

หลังการออกอากาศตอนสุดท้าย ได้มีการประกาศสร้างฤดูกาลที่ 2 สมาชิกทีมงานจากฤดูกาลแรกกลับมารับหน้าที่เดิม[43] ฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 9 มกราคมถึง 27 มีนาคม พ.ศ. 2566[8][44] จุง ฟูกูยามะและวง TRD กลับมาร้องเพลงเปิดและเพลงปิด ชื่อเพลงว่า "New Drama Paradise" และ "Cozy Crazy Party!" ตามลำดับ[45]

รายชื่อตอน

แก้
ฤดูกาลที่ 1
แก้
ตอนที่ (ของซีรีส์)ตอนที่ (ของฤดูกาล)ชื่อ [46][47][i]กำกับโดย [46]เขียนโดย [46]สตอรีบอร์ดโดย [46]วันฉายเดิม [48]
11"มือปราบมาเยือนผองเพื่อนเหินฟ้า"
ถอดเสียง: "Hantā Kitarite Sora o Tobu Zenpen" (ญี่ปุ่น: 退治人 (ハンター)来たりて空を跳ぶ 前編[k])
ซาโตรุ มัตสึบาระยูกิเอะ ซูงาวาระฮิโรชิ โคจินะ4 ตุลาคม พ.ศ. 2564
"อนิจจาไอ้บ้ากับร้านสะดวกซื้อ[j]"
ถอดเสียง: "Baka to Konbini to Mujō" (ญี่ปุ่น: バカとコンビニと無常)
22"คุณฟุคุมะ จู่โจม![l]"
ถอดเสียง: "Shūgeki!! Fukuma-san" (ญี่ปุ่น: 襲撃!!フクマさん[n])
อาซามิ คาวาโนะโยชิกิ โอกูซะอาซามิ คาวาโนะ11 ตุลาคม พ.ศ. 2564
"บุปผาโรยราในชินโยโกฮาม่า[m]"
ถอดเสียง: "Shin-Yokohama ni Hana to Chiruramu" (ญี่ปุ่น: 新横浜に花と散るらむ)
"ทุบกำแพงเอาแรง ๆ จะตายไหม[o]"
ถอดเสียง: "Kabe o Tataite Koroseru ka" (ญี่ปุ่น: 壁を叩いて殺せるか)
33"หนทางเลื่อนขั้นเลื่อนขึ้นเลื่อนลง[p]"
ถอดเสียง: "Shusse Kaidō Tenraku-dō" (ญี่ปุ่น: 出世街道転落道)
ซาโตรุ มัตสึบาระอิตสึกิ โยโมยามะมิตสึยูกิ มาซูฮารุ18 ตุลาคม พ.ศ. 2564
"กิลด์มือปราบพันธุ์อลเวง[q]"
ถอดเสียง: "Bakasawagi Hantāzu Girudo" (ญี่ปุ่น: バカ騒ぎ退治人 (ハンターズ)ギルド)
"ยังคงเป็นกิลด์มือปราบพันธุ์อลเวง[r]"
ถอดเสียง: "Mada Bakasawagi Hantāzu Girudo" (ญี่ปุ่น: まだバカ騒ぎ退治人 (ハンターズ)ギルド)
44"วิปริตรักจำแลงร่าง[s]"
ถอดเสียง: "Erosu Yue ni Metamorufōze" (ญี่ปุ่น: (エロス)ゆえに変態 (メタモルフォーゼ))
ทากาอากิ อิชิยามะยูกิเอะ ซูงาวาระโทโมยะ คิตางาวะ25 ตุลาคม พ.ศ. 2564
"พลพรรคปลดแอกห้องครัว[t]"
ถอดเสียง: "Daidokoro Riberaru Fōsu" (ญี่ปุ่น: 台所リベラルフォース)
"เรียกเขาว่าฮันดะ[u]"
ถอดเสียง: "Sono Otoko no Na wa Handa" (ญี่ปุ่น: その男の名は半田)
55"1 วันอันแสนยาวนานของนากิริจอมดักเชือด[v]"
ถอดเสียง: "Tsujigiri Nagiri no Ichiban Nagai Hi" (ญี่ปุ่น: 辻斬りナギリのいちばん長い日)
ชิเอะ ยามาชิโระโยชิกิ โอกูซะชิเอะ ยามาชิโระ1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
"แมวเหมียวน่ารัก[w]"
ถอดเสียง: "Neko wa Kawaii" (ญี่ปุ่น: 猫はかわいい)
"ฮันดะ-วันหยุด-ฮิสตอรี่[x]"
ถอดเสียง: "Handa Ofu no Hi Hisutorī" (ญี่ปุ่น: 半田・オフの日・ヒストリー)
66"กำเนิดจักรพรรดินี[y]"
ถอดเสียง: "Jotei Tanjō Monogatari" (ญี่ปุ่น: 女帝誕生物語)
จุนอิจิ ฟูจิเซะยูกิเอะ ซูงาวาระโทโมยะ คิตางาวะ8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
"ครอบครัวหรรษาดราลุค[z]"
ถอดเสียง: "Doraruku-ke no Ichizoku" (ญี่ปุ่น: ドラルク家の一族)
"ครอบครัวหรรษาดราลุค ต่อ[aa]"
ถอดเสียง: "Zoku Doraruku-ke no Ichizoku" (ญี่ปุ่น: 続・ドラルク家の一族)
77"เรื่องทะลึ่งตะลึงตึงตึง[ab]"
ถอดเสียง: "Waidan Dadandandandadān" (ญี่ปุ่น: Y談ダダンダンダンダダーン)
อาซามิ คาวาโนะยูกิเอะ ซูงาวาระฮิโรชิ โคจินะ15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
"วันหยุดสุดรันทดของฮันดะ โท[ac]"
ถอดเสียง: "Handa Tō no Sanzan na Hiban no Hi" (ญี่ปุ่น: 半田桃の散々な非番の日)
"และแล้วพ่อก็มาเยือน"
ถอดเสียง: "Soshite Chichi ga Kuru" (ญี่ปุ่น: そして父が来る)
88"เรื่องปี๊ด ๆ สุดหวาดเสียว[ad]"
ถอดเสียง: "Pisu Pisu Kiki Ippatsu" (ญี่ปุ่น: ピスピス危機一髪)
ซาโตรุ มัตสึบาระยูกิเอะ ซูงาวาระมาซาโตชิ ฮากาตะ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
"Kidnap Capriccio[ae]"
ถอดเสียง: "Kiddonappu Kapurichio" (ญี่ปุ่น: キッドナップ・カプリチオ)
"Kidnap Elegy[af]"
ถอดเสียง: "Kiddonappu Erejī" (ญี่ปุ่น: キッドナップ・エレジー)
99"เป่ายิงฉุบแก้ผ้ามหา~ชน[ag]"
ถอดเสียง: "Shimin Yakyū Kēn" (ญี่ปุ่น: 市民野球ケーン)
ยูกิ คูซากาเบะยูกิเอะ ซูงาวาระอาซามิ คาวาโนะ29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
"แขนซ้ายเหล็กกล้ามันจืดจางซะเหลือเกิน[ah]"
ถอดเสียง: "Tetsu no Hidarite Imaichi Jimi de" (ญี่ปุ่น: 鉄の左手イマイチ地味で)
"จักรพรรดิหาดทราย[ai]"
ถอดเสียง: "Nagisa no Teiō-sama" (ญี่ปุ่น: 渚の帝王様)
1010"เสียงบรรเลงเทศกาลที่เรียกหาเธอ[aj]"
ถอดเสียง: "Matsuri Bayashi ga Kimi o Yobu" (ญี่ปุ่น: 祭り囃子が君を呼ぶ)
ชิเอะ ยามาชิโระยูกิเอะ ซูงาวาระชิเอะ ยามาชิโระ6 ธันวาคม พ.ศ. 2564
"ศึกปะทะแวมไพร์สุดวายป่วงแห่งชินโยโกยุคเฮย์เซย์[ak]"
ถอดเสียง: "Heisei Meiwaku na Kyūketsuki Gassen Shin'yoko" (ญี่ปุ่น: 平成迷惑な吸血鬼合戦シンヨコ)
"รายการออลไนท์ชินโยโกกับดราลุค[al]"
ถอดเสียง: "Doraruku no Ōru Naito Shin'yoko" (ญี่ปุ่น: ドラルクのオールナイト・シンヨコ)
1111"ชินโยโก แบททะลึ่ง รอยัล[am]"
ถอดเสียง: "Shin'yoko Batoru Rowaiyaru" (ญี่ปุ่น: シンヨコ・バトル・ロYヤル)
จุนอิจิ ฟูจิเซะ
ซาโตรุ มัตสึบาระ
ยูกิเอะ ซูงาวาระมาซาโตชิ ฮากาตะ13 ธันวาคม พ.ศ. 2564
"John meets Draluc[an]"
"Waiting for LOVE[ao]"
1212"ซิลเวอร์ไลซ์ ไบลด์ ยัวร์ อายส์[ap]"
ถอดเสียง: "Shirubā Raizu Buraindo Yua Aizu" (ญี่ปุ่น: シルバーライズ・ブラインド・ユア・アイズ)
อาซามิ คาวาโนะยูกิเอะ ซูงาวาระอาซามิ คาวาโนะ20 ธันวาคม พ.ศ. 2564
"เดรสอัพ ฟอร์ ยู[aq]"
ถอดเสียง: "Doresu Appu Fō Yū" (ญี่ปุ่น: ドレスアップ・フォー・ユー)
"ศึกคนบ้าห้ายก[ar]"
ถอดเสียง: "Baka Goban Shōbu" (ญี่ปุ่น: バカ五番勝負)
ฤดูกาลที่ 2
แก้
ตอนที่ (ของซีรีส์)ตอนที่ (ของฤดูกาล)ชื่อ [46][47][as]กำกับโดย [46]เขียนโดย [46]สตอรีบอร์ดโดย [46]วันฉายเดิม [49]
131"ดราลุค กลีบไม่เดียว กระเทียมไม่โทน"
ถอดเสียง: "Doraruku・Tomodachi・Hitoridachi Misui" (ญี่ปุ่น: ドラルク・ともだち・ひとりだち未遂)
มายูโกะ นากาโนะโทชิ ทากาเมะอาซามิ คาวาโนะ9 มกราคม พ.ศ. 2566
"สู้สุดฟ้า ล่าท้าผี"
ถอดเสียง: "Soreike Gōsutohantāzu" (ญี่ปุ่น: それ行けゴーストハンターズ)
"ดราลุค-ไม่รักสงบ"
ถอดเสียง: "Doraruku Za Sairentojamā" (ญี่ปุ่น: ドラルク・ザ・サイレントジャマー)
142"ฟรอม โตเกียว ทู นีโอ เบย์ไซด์"
ถอดเสียง: "Furomu Tokyo tu Neo Bei Saido" (ญี่ปุ่น: フロム トーキョー トゥ ネオ ベイサイド)
ฮิเดกิ โทโนคัตสึโทชิ ทากาเมะจุนอิจิ ซากาตะ16 มกราคม พ.ศ. 2566
"บันทึกสังเกตการณ์ดราลุคแสนสนุก"
ถอดเสียง: "Wakuwaku Doraruku Kansatsu Nikki" (ญี่ปุ่น: わくわくドラルク観察日記)
"Quest of Soul Gate: เหล่าผู๋ไล่ล่าจิตวิญญาณ"
ถอดเสียง: "Quest of Soul Gate: Tamashī no Tankyūsha-tachi" (ญี่ปุ่น: Quest of Soul Gate:魂の探求者たち)
153"Lovecall of Sanzu"
มิตสึยูกิ มาซูฮาระโทชิ ทากาเมะมิตสึยูกิ มาซูฮาระ23 มกราคม พ.ศ. 2566
"สู้ต่อไปซาเกียวคุง"
ถอดเสียง: "Ganbare Sagyō-kun" (ญี่ปุ่น: がんばれサギョウくん)
"ไอ้ตัววุ่นกลับมาแล้ว"
ถอดเสียง: "Kaettekita Mechakuchaman" (ญี่ปุ่น: 帰ってきたメチャクチャマン)
164"คืนเฝ้าร้านกับไอ้วิตถาร"
ถอดเสียง: "Omiseban to Fushinsha" (ญี่ปุ่น: お店番と不審者)
ชินโนซูเกะ โทนากะโทชิ ทากาเมะมาซาโตชิ ฮากาตะ30 มกราคม พ.ศ. 2566
"Good Mother Goodbye Summer"
ถอดเสียง: "Guddo Mazā・Guddobai Samā" (ญี่ปุ่น: グッドマザー・グッドバイサマー)
"Good Mother Goodbye Summer ต่อ"
ถอดเสียง: "Zoku・Guddo Mazā・Guddobai Samā" (ญี่ปุ่น: 続・グッドマザー・グッドバイサマー)
175"ผจญภัยล่าฝันกับฟุคุมะพิศวง"
ถอดเสียง: "Michinaru Fukuma ni Yume o Motomete" (ญี่ปุ่น: 未知なるフクマに夢を求めて)
เซจุนอิจิ ฟูจิโทชิ ทากาเมะมาซาโตชิ ฮากาตะ6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
"ไอ้คนดี อาละวาด"
ถอดเสียง: "Bōsō Tokkyū Ohitoyoshi" (ญี่ปุ่น: 暴走特急お人好し)
"สถานีต่อไป สุดสาย อุระชินโยโกฮาม่า"
ถอดเสียง: "Tsugi wa Shūten Ura-Shin-Yokohama" (ญี่ปุ่น: 次は終点裏新横浜)
186"พี่จ๋าซาก้า ภาคแสงสว่าง"
ถอดเสียง: "Aniki Sāga: Kō no Shō" (ญี่ปุ่น: アニキ・サーガ 光の章)
อาซามิ คาวาโนะโทชิ ทากาเมะอาซามิ คาวาโนะ13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
"พี่จ๋าซาก้า ภาคความมืด"
ถอดเสียง: "Aniki Sāga: Yami no Shō" (ญี่ปุ่น: アニキ・サーガ 闇の章)
"เพลงมาร์ชทะลุนรก"
ถอดเสียง: "Oshuraba Kōshinkyoku" (ญี่ปุ่น: お修羅場行進曲)
197"Put a sock in it"
ยูกิ โมริชิตะโทชิ ทากาเมะฮิโรชิ โคจินะ,
ฮิเดกิ โทโนคัตสึ
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
"อันจู๋คือชาติ"
ถอดเสียง: "Chin wa Kokkanari" (ญี่ปุ่น: ちんは国家なり)
"จอห์น อ้วนขึ้นนะ"
ถอดเสียง: "Jon Inutta na" (ญี่ปุ่น: ジョン 犬ったな)
208"โอ้โห เซนรา"
ถอดเสียง: "Ō Zenra" (ญี่ปุ่น: オオ・ゼンラ)
ซูมิโตะ ซาซากิโทชิ ทากาเมะจุนอิจิ ซากาตะ27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
"ฮันดะลึ่ง ตะลึงตะลึงตึงตัง"
ถอดเสียง: "Handandadandandandadān" (ญี่ปุ่น: 半田ンダダンダンダンダダーン)
"หาดวงจันทร์ขึ้นลอยขึ้น เหนือชินโยโกฮาม่า?"
ถอดเสียง: "Shinyokohama ni Tsuki wa Mata Noboru ka?" (ญี่ปุ่น: 新横浜に月はまた昇るか?)
219"BBOLAND แดนแห่งความฝัน"
ถอดเสียง: "Yume no Kuni BBOLAND" (ญี่ปุ่น: 夢の国BBOLAND)
มิตสึยูกิ มาซูฮาระโทชิ ทากาเมะมิตสึยูกิ มาซูฮาระ6 มีนาคม พ.ศ. 2566
"คุณพ่อกับคนน่าสงสัย"
ถอดเสียง: "Otōsan to Fushinsha" (ญี่ปุ่น: お父さんと不審者)
"ฮัลโหล ฮาวอาร์ยู ตอนนี้ว่างป่าว?"
ถอดเสียง: "Harō Hawayū Ima ohima?" (ญี่ปุ่น: ハロー・ハワユー・いまおヒマ?)
2210"ตัวน้อย ตัวจ้อย ร้อยบรรเลง"
ถอดเสียง: "Ritoru・Ritoru・Kyōsōkyoku" (ญี่ปุ่น: リトル・リトル・協奏曲)
วาตานากะ ชินโนซูเกะโทชิ ทากาเมะมาซาโตชิ ฮากาตะ13 มีนาคม พ.ศ. 2566
"ตัวน้อย ตัวจ้อย ร้อยบรรเลง ~ภาคสยบเป็ด~"
ถอดเสียง: "Ritoru・Ritoru・Kyōsōkyoku ~Kamo Tsubushi-hen~" (ญี่ปุ่น: リトル・リトル・協奏曲〜鴨潰し編〜)
"เดชะบุญแท้ กุญแจมือ ทำไมชีวิตข้าถึงเป็นแบบนี้"
ถอดเสียง: "Mirakuru・Manakuru・Dōshite Itsumo Ore wa Kō Naru" (ญี่ปุ่น: ミラクル・マナクル・どうしていつも俺はこうなる)
2311"ร้องขอไออุ่นให้ฉันที"
ถอดเสียง: "Atatametekure to Ittekure" (ญี่ปุ่น: 温めてくれと言ってくれ)
ทัตสึโนริ มิยาเกะ,
คัง อิล-กู,
ฮวัง อิล-จิน
โทชิ ทากาเมะจุนอิจิ ซากาตะ20 มีนาคม พ.ศ. 2566
"เลเจนด์ ออฟ โรนัลลิสต์"
ถอดเสียง: "Rejendo Obu Ronarisuto" (ญี่ปุ่น: レジェンド オブ ロナリスト)
"ร่ายจังหวะวอลซ์กับแย้มเจ้าเหมันต์ในเมืองนิรันดร"
ถอดเสียง: "Tokoyo no Machi wa Kōri Emi Kyō to Warutsu o Odoru" (ญี่ปุ่น: 常世の町は氷笑卿とワルツを踊る)
2412"ร่ายจังหวะวอลซ์กับแย้มเจ้าเหมันต์ในเมืองนิรันดร ต่อ"
ถอดเสียง: "Zoku・Tokoyo no Machi wa Kōri Emi Kyō to Warutsu o Odoru" (ญี่ปุ่น: 続・常世の町は氷笑卿とワルツを踊る)
อาซามิ คาวาโนะโทชิ ทากาเมะอาซามิ คาวาโนะ27 มีนาคม พ.ศ. 2566
"พลพรรคคนบ้าหรรษาแห่งชินโยโกฮาม่า สเปเชี่ยลver."
ถอดเสียง: "Shin-Yokohama no Tanoshī Baka Yarōtachi Supesharu Ver." (ญี่ปุ่น: 新横浜の楽しいバカ野郎たち スペシャルver.)
"ถามตอบ 12 ข้อโคทัตสึปีใหม่[at]"
ถอดเสียง: "Shinshun Kotatsu Jūni Mondō" (ญี่ปุ่น: 新春コタツ十二問答)

หมายเหตุ

แก้
  1. บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะโดยอนิพลัสที่เอไอเอสเพลย์ เน็ตฟลิกซ์ และทรูไอดี เรียกด้วยชื่อว่า "ทาจัง"
  2. บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะโดยอนิพลัสที่เอไอเอสเพลย์ เน็ตฟลิกซ์ และทรูไอดีเรียกด้วยชื่อว่า "นากิริจอมดักเชือด" บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "ฆาตกรจ้วงสังหารนากิริ"
  3. บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะโดยอนิพลัสที่เอไอเอสเพลย์ เน็ตฟลิกซ์ และทรูไอดีเรียกด้วยชื่อว่า "สัตว์แปลกหน้าบูด" บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "สัตว์ประหลาด" เช่นเดียวกับมังงะฉบับภาษาไทย
  4. บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะโดยอนิพลัสที่เอไอเอสเพลย์ เน็ตฟลิกซ์ และทรูไอดีเรียกด้วยชื่อว่า "พุดโท" บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "โพธิสัตว์"
  5. บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "แวมไพร์ ตาลุงมุกลามก"
  6. บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "แวมไพร์ "ชอบเกมเป่ายิ้งฉุบแก้ผ้าที่สุด" "
  7. บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "แวมไพร์ ไม่ทำตามกฎ"
  8. บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "แวมไพร์ จูบเร่าร้อน" ส่วนรูปแบบพากย์ไทยเรียกด้วยชื่อว่า "แวมไพร์ จุมพิตอันเร่าร้อน"
  9. ชื่อตอนภาษาไทยนำมาจากเอไอเอส เพลย์
  10. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "คนโง่กับร้านสะดวกซื้อและความแล้งน้ำใจ"
  11. ชื่อตอนเขียนว่า 退治人 (ハンター)来たりて空を跳ぶ ในตอน
  12. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "โจมตี! คุณฟุคุมะ!"
  13. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ดอกไม้ร่วงโรยที่ชินโกฮาม่า"
  14. ชื่อตอนเขียนว่า 襲撃!フクマさん ในตอน
  15. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ชนกำแพงจะตายไหม"
  16. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เส้นทางอาชีพตกต่ำ"
  17. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เอะอะโวยวาย สมาคมแวมไพร์ฮันเตอร์"
  18. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เอะอะโวยวาย สมาคมแวมไพร์ฮันเตอร์ ต่อ"
  19. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "โรคจิตเพราะรัก"
  20. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "พลังเอกเทศของห้องครัว"
  21. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ผู้ชายคนนั้นชื่อว่า ฮันดะ"
  22. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "วันที่ยาวนานที่สุดในชีวิตของฆาตกรจ้วงสังหารนากิริ"
  23. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "แมวน่ารักกันทุกตัว"
  24. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ฮันดะ วันหยุด ประวัติศาสตร์"
  25. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "การถือกำเนิดของจักรพรรดินี"
  26. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ตระกูลดราลุค"
  27. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ตระกูลดราลุค ต่อ"
  28. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ศึกมุกลามก"
  29. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ " วันหยุดที่ทำให้ฮันดะ โทหมดแรง"
  30. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ปี๊ดปี๊ด รอดหวุดหวิด"
  31. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "คดีคาปริชลักพาตัว"
  32. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ลักพาตัว สถานการณ์ฉุกเฉิน"
  33. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เกมเป่ายิ้งฉุบแก้ผ้าประชาชน"
  34. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "แขนซ้ายที่ทำจากเหล็กดูไม่สะดุดตาเลย"
  35. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "พระราชาริมทะเล"
  36. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ฮอร์นแห่งงานเทศกาลกำลังเรียกเจ้าอยู่"
  37. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "แวมไพร์หาเรื่องแห่งเฮเซต่อสู้ ณ ชินโยโกฮาม่า"
  38. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ชินโยโกฮาม่าที่ไม่หลับใหลของดราลุค"
  39. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "การต่อสู้เกมลามก ณ ชินโยโกฮาม่า"
  40. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "จอห์นเจอกับลูกโบว์ลิ่ง"
  41. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "รอคอยความรัก"
  42. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เศษแก้วที่กระเด็น แทงใส่ตาเธอ"
  43. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "แต่งตัวอย่างอลังเพื่อคุณ"
  44. ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เจ้าโง่ ห้ารอบติดสินผลแพ้ชนะ"
  45. ชื่อตอนภาษาไทยนำมาจากเอไอเอส เพลย์และอ้ายฉีอี้
  46. ไม่ปรากฏป้ายชื่อตอน

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Itaru Bonnoki's The Vampire Dies in No Time Manga Gets Anime". Anime News Network. May 6, 2020. สืบค้นเมื่อ May 7, 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 "The Vampire Dies in No Time Comedy Anime Unveils Cast, Staff, 2021 TV Debut". Anime News Network. November 5, 2020. สืบค้นเมื่อ November 5, 2020.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 "🧛‍♂️ The Vampire Dies in No Time เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว S1-2". เฟซบุ๊ก. Tanudan Studio. May 4, 2024. สืบค้นเมื่อ May 5, 2024.
  4. 4.0 4.1 4.2 "The Vampire Dies in No Time Anime Reveals 3 Cast Members". Anime News Network. April 7, 2021. สืบค้นเมื่อ April 7, 2021.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 "The Vampire Dies in No Time Anime Announces More Cast & Staff, October 4 Debut". Anime News Network. August 8, 2021. สืบค้นเมื่อ August 8, 2021.
  6. 6.0 6.1 6.2 "The Vampire Dies in No Time Anime Announces 3 More Cast Members". Anime News Network. September 14, 2021. สืบค้นเมื่อ September 14, 2021.
  7. 7.0 7.1 "The Vampire Dies in No Time Anime Casts Yōko Hikasa, Kaori Ishihara". Anime News Network. August 25, 2021. สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
  8. 8.0 8.1 Mateo, Alex (August 8, 2022). "The Vampire Dies in No Time Anime's 2nd Season Reveals Promo Video, Cast, January 2023 Premiere". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ August 8, 2022.
  9. Cayanan, Joanna (February 7, 2023). "The Vampire Dies in No Time Anime's 2nd Season Reveals New Cast Member". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ February 7, 2023.
  10. "Mariya Ise, Nobunaga Shimazaki Join Cast of Vampire Dies in No Time Anime's 2nd Season". Anime News Network. March 26, 2022. สืบค้นเมื่อ March 26, 2022.
  11. "週チャンですぐ死ぬ吸血鬼描くギャグ新連載、「実は私は」アフレコレポも". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). June 25, 2015. สืบค้นเมื่อ October 3, 2021.
  12. 12.0 12.1 吸血鬼すぐ死ぬ 第24巻 [The Vampire Dies Immediately Volume 24] (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ January 8, 2023.
  13. "吸血鬼すぐ死ぬ 第1巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  14. "吸血鬼すぐ死ぬ 第2巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  15. "吸血鬼すぐ死ぬ 第3巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  16. "吸血鬼すぐ死ぬ 第4巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  17. "吸血鬼すぐ死ぬ 第5巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  18. "吸血鬼すぐ死ぬ 第6巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  19. "吸血鬼すぐ死ぬ 第7巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  20. "吸血鬼すぐ死ぬ 第8巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  21. "吸血鬼すぐ死ぬ 第9巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  22. "吸血鬼すぐ死ぬ 第10巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  23. "吸血鬼すぐ死ぬ 第11巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  24. "吸血鬼すぐ死ぬ 第12巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  25. "吸血鬼すぐ死ぬ 第13巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  26. "吸血鬼すぐ死ぬ 第14巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  27. "吸血鬼すぐ死ぬ 第15巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  28. "吸血鬼すぐ死ぬ 第16巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
  29. "吸血鬼すぐ死ぬ 第17巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ June 25, 2020.
  30. "吸血鬼すぐ死ぬ 第18巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ October 3, 2021.
  31. "吸血鬼すぐ死ぬ 第19巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ January 19, 2022.
  32. "吸血鬼すぐ死ぬ 第20巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ January 19, 2022.
  33. "吸血鬼すぐ死ぬ 第21巻" [The Vampire Dies Immediately Volume 21] (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ July 1, 2022.
  34. "吸血鬼すぐ死ぬ 第22巻" [The Vampire Dies Immediately Volume 22] (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ October 30, 2022.
  35. "吸血鬼すぐ死ぬ 第23巻" [The Vampire Dies Immediately Volume 23] (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ October 30, 2022.
  36. 吸血鬼すぐ死ぬ 第25巻 [The Vampire Dies Immediately Volume 25] (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ March 13, 2023.
  37. "アルマジロのジョン from 吸血鬼すぐ死ぬ 第1巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ March 13, 2023.
  38. "アルマジロのジョン from 吸血鬼すぐ死ぬ 第2巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ March 13, 2023.
  39. "The Vampire Dies in No Time Anime Reveals Promo Video, Teaser Visual, October Debut". Anime News Network. March 27, 2021. สืบค้นเมื่อ March 27, 2021.
  40. "Jun Fukuyama Performs The Vampire Dies in No Time Anime's Opening Theme Song". Anime News Network. July 1, 2021. สืบค้นเมื่อ July 1, 2021.
  41. Loo, Egan (July 10, 2021). "Takayuki Kondō, Daisuke Ono Perform The Vampire Dies in No Time Anime's Ending Song". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ July 10, 2021.
  42. Friedman, Nicholas (September 20, 2021). "The Vampire Dies in No Time From Hunter x Hunter Director Joins the Funimation Fall Lineup". Funimation. สืบค้นเมื่อ September 20, 2021.
  43. Mateo, Alex (December 20, 2021). "The Vampire Dies in No Time Anime Gets 2nd Season". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ December 20, 2021.
  44. Hodgkins, Crystalyn (November 28, 2022). "The Vampire Dies in No Time Anime's 2nd Season Previewed in Promo Video, Ad". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ November 28, 2022.
  45. Mateo, Alex (October 12, 2022). "Jun Fukuyama, TRD Return to Perform Theme Songs for The Vampire Dies in No Time Anime's 2nd Season". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ October 12, 2022.
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 46.4 46.5 46.6 46.7 "Sutōrī | Terebi Anime "Kyūketsuki Sugu Shinu" Kōshiki Saito" STORY | TVアニメ「吸血鬼すぐ死ぬ」公式サイト [Story | TV Anime "The Vampire Dies in No Time" Official Website]. sugushinu-anime.jp (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2021. สืบค้นเมื่อ September 27, 2021.
  47. 47.0 47.1 "เจ้าแวมไพร์พันธุ์ตายไว". เอไอเอสเพลย์. สืบค้นเมื่อ February 28, 2023.
  48. "On'ea | Terebi Anime "Kyūketsuki Sugu Shinu" Kōshiki Saito" ON AIR | TVアニメ「吸血鬼すぐ死ぬ」公式サイト [On Air | TV Anime "The Vampire Dies in No Time" Official Website]. sugushinu-anime.jp (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2021. สืบค้นเมื่อ August 8, 2021.
  49. "On'ea | Terebi Anime "Kyūketsuki Sugu Shinu" Kōshiki Saito" ON AIR | TVアニメ「吸血鬼すぐ死ぬ」公式サイト [On Air | TV Anime "The Vampire Dies in No Time" Official Website]. sugushinu-anime.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ January 9, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้