เจมเบ

กลองขึงหนังรูปถ้วยจากแอฟริกาตะวันตก

เจมเบ (อักษรโรมัน: djembe, jembe, มานินกา: jembe [dʲẽbe],[1] อักษรอึนโก: ߖߋ߲߰ߓߋ[2]) เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่มีต้นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตก ลักษณะเป็นกลองรูปถ้วย ตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น เลนเก (Afzelia africana) จัลลา (Khaya senegalensis) และดูกูรา (Cordyla africana)[3] หนังกลองทำจากหนังไม่ผ่านการฟอกซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังแพะ ขึงด้วยเชือก เส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 30–38 เซนติเมตร (12–15 นิ้ว) สูง 58–63 เซนติเมตร (23–25 นิ้ว) และหนัก 5–13 กิโลกรัม (11–29 ปอนด์) ขึ้นอยู่กับขนาดและวัสดุที่ใช้ เจมเบส่วนใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 33–36 เซนติเมตร (13–14 นิ้ว) และขนาดกลางมีน้ำหนัก 9 กิโลกรัม (20 ปอนด์) ชื่อเจมเบมาจากวลีในภาษาบัมบารา "Anke djé, anke bé" แปลว่า "ทุกคนมารวมกันอย่างสันติ"[4]

เจมเบ
Brown goblet-shaped wood and leather drum with blue rope on an alabaster background
เจมเบทำจากไม้เลนเกจากประเทศมาลี
เครื่องกระทบ
ประเภท เครื่องหนัง
Hornbostel–Sachs classification211.261.1
(กลองรูปถ้วยมีหนังด้านหนึ่ง อีกด้านเปิดโล่ง ใช้ตีโดยตรง)
คิดค้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1200
ช่วงเสียง
65–1000 Hz.
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง
ดูนูน, บูการาบู, อาชีโก, กลองถ้วย
นักดนตรี
โบโลกาดา คอนเด, ซอนกาโล คูลีบาลี, มามาดี เคตา, ฟามูดู โคนาเต, ดริสซา โคเน
บทความที่เกี่ยวข้อง
ดูนูน, ชาวมันดินกา

เจมเบมีที่มาจากจักรวรรดิมาลี[5] เมื่อประมาณ ค.ศ. 1230 สันนิษฐานว่ารูปถ้วยของกลองพัฒนามาจากครก ซึ่งเป็นอุปกรณ์เตรียมอาหารที่ใช้แพร่หลายในแอฟริกาตะวันตก[6] การเล่นเจมเบจำกัดอยู่ในหมู่ชนพื้นเมืองจนกระทั่งการให้เอกราชแอฟริกาช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 เมื่อโฟเดบา เคตาก่อตั้งเลบัลเลแอฟริแกง (Les Ballets Africains) ในประเทศกินีเพื่อแสดงการเต้นรำดั้งเดิมของแอฟริกาในประเทศต่าง ๆ[6] หลังจากนั้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960–1980 มีนักเล่นเจมเบจำนวนมากที่ย้ายไปอยู่ประเทศตะวันตกและเริ่มสอนการเล่นเจมเบ[7][8][9] นอกจากนี้สารคดี Djembefola โดยโลร็อง เชอวาเลียในปี ค.ศ. 1991 ยังมีส่วนทำให้เจมเบเป็นที่รู้จักในวงกว้าง[10][11]

เจมเบเป็นกลองที่สร้างเสียงได้หลากหลาย เสียงพื้นฐานมี 3 เสียง ได้แก่ bass, tone, slap (ต่ำ, กลาง, สูง ตามลำดับ) เสียงต่ำมาจากการตีตรงกลางหนังกลอง ส่วนเสียงกลางและสูงมาจากการตีใกล้ขอบกลอง เจมเบเป็นกลองที่ให้เสียงดังมากจนได้ยินชัดเจนเมื่อเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ชาวมันดินกากล่าวว่าผู้เล่นที่มีความสามารถคือผู้ที่ทำให้เจมเบ "พูดได้" กล่าวคือทำให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วมขณะเล่นเจมเบ ตามธรรมเนียมมีเพียงผู้ชายเท่านั้นที่เล่นเจมเบ ขณะที่ผู้หญิงจะเล่นเพอร์คัชชันอื่น ๆ เช่น เชเกเร กาชีชี การิกนัน ในปัจจุบันยังถือเป็นเรื่องยากในการพบเห็นผู้หญิงเล่นเจมเบ และหญิงชาวแอฟริกามักแสดงความประหลาดใจเมื่อเห็นนักเล่นเจมเบที่เป็นผู้หญิง[12]

อ้างอิง แก้

  1. Friedländer, Marianne (1992). Lehrbuch des Malinke (ภาษาเยอรมัน) (1st ed.). Leipzig: Langenscheidt. pp. 279, 159–160. ISBN 978-3-324-00334-6.
  2. Faya Ismael Tolno (September 2011). "Les Recherches linguistiques de l'école N'ko" (PDF). Dalou Kende (ภาษาฝรั่งเศส). No. 19. Kanjamadi. p. 7. สืบค้นเมื่อ 17 December 2020.
  3. Henning, Michi. "Djembe Woods: What You Need to Know". djembefola.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2012. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.
  4. Doumbia, Abdoul; Wirzbicki, Matthew (2005). Anke Djé Anke Bé, Volume 1. 3idesign. p. 86. ISBN 978-0-9774844-0-9.
  5. Sidibé, Séga; Piquet, Cyril (2010). Sega Kan Do. Courbevoie Cedex, France: ID Music. ISBN 978-2-7466-1384-3.
  6. 6.0 6.1 Billmeier, Uschi; Keïta, Mamady (2004). A Life for the Djembé—Traditional Rhythms of the Malinké (5th ed.). Kirchhasel-Uhlstädt: Arun-Verlag. ISBN 978-3-935581-52-3. First published 1999 as a three-language edition (English, German, and French){{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์) ISBN 3-927940-61-5
  7. Wassserman, Andy (1995). "Papa Ladji Camara". The African Music Encyclopedia: Music from Africa and the African Diaspora. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2012. สืบค้นเมื่อ January 13, 2012.
  8. "Who is Epizo Bangoura?". Epizo Bangoura official website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2016. สืบค้นเมื่อ January 13, 2012.
  9. Files, Frederick Rimes (2012). Hairy drums, live sampling: Ethos Percussion Group commissions of 2004 and their "extra-conservatory" elements (วิทยานิพนธ์ Ph.D.). City University of New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ July 28, 2013.
  10. "Laurent Chevallier – Awards – IMdb". IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2009. สืบค้นเมื่อ March 4, 2012.
  11. "Marseille Festival of Documentary Film (1991)". IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2015. สืบค้นเมื่อ October 22, 2013.
  12. Flaig, Vera (2010). The Politics of Representation and Transmission in the Globalization of Guinea's Djembé (PDF) (วิทยานิพนธ์ Ph.D.). University of Michigan. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2014. สืบค้นเมื่อ January 15, 2012.