เยเซรอ (หุบอุกกาบาต)

(เปลี่ยนทางจาก เจซีโร (หลุมอุกกาบาต))

หุบอุกกาบาตเยเซรอ (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Jezero, ออกเสียง: [jêzero];[2] (ICAO: JZRO)) อยู่บนดาวอังคารในบริเวณสี่เหลี่ยมเซียทิสเมเจอร์[3] มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 45.0 กิโลเมตร (28.0 ไมล์) และเชื่อว่าเคยเป็นพื้นที่น้ำท่วมถึง ภายในหุบอุกกาบาตพบกองตะกอนดินดอนสามเหลี่ยมรูปพัดซึ่งมีดินเหนียวเป็นสำคัญ[4] เชื่อว่าเคยมีทะเลสาบในหุบอุกกาบาตนี้ในช่วงที่เครือข่ายหุบเขาบนดาวอังคารกำลังก่อตัว นอกจากจะมีดินดอนสามเหลี่ยมแล้ว หุบอุกกาบาตเยเซรอยังแสดงให้เห็นถึงดินงอกริมตลิงและช่องน้ำกลับขั้ว จากการศึกษาดินดอนสามเหลี่ยมและช่องน้ำ สามารถสรุปได้ว่าทะเลสาบในหุบอุกกาบาตน่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีการไหลบ่าของน้ำผิวดินอย่างต่อเนื่อง[5]

เยเซรอ
ภาพสีเต็มภาพแรกที่ส่งโดยเพอร์เซเวียแรนส์จากหุบอุกกาบาตเยเซรอ
ดาวเคราะห์ดาวอังคาร
พิกัด18°23′N 77°35′E / 18.38°N 77.58°E / 18.38; 77.58
เส้นผ่านศูนย์กลาง45 กิโลเมตร (28 ไมล์)[1]
ตั้งชื่อตามเยเซรอ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
หุบอุกกาบาตเยเซรออยู่บนขอบของแอ่งไอซิดิส

ภายหลังจากการค้นพบทะเลสาบโบราณใน ค.ศ. 2007 ได้มีการตั้งชื่อหุบอุกกาบาตนี้ตามชื่อเยเซรอในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่มีชื่อเดียวกันหลายแห่งในประเทศนั้น[6][7] ในภาษากลุ่มสลาฟบางภาษา คำว่า jezero[a] มีความหมายว่า 'ทะเลสาบ'[8]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 หุบอุกกาบาตเยเซรอได้รับเลือกให้เป็นจุดลงจอดของยานสำรวจดาวอังคารเพอร์เซเวียแรนส์ ในภารกิจมาร์ส 2020 ของนาซา[9][10][11] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 ได้มีการพบหลักฐานของร่องธารหินบนลาดตะกอนดินดอนสามเหลี่ยมที่ยานสำรวจวางแผนที่จะสำรวจ ทั้งบนขอบหุบอุกกาบาตเยเซรอเอง และขอบหุบอุกกาบาตดาโคโน[12] ซึ่งเป็นหุบอุกกาบาตขนาดเล็กภายในหุบอุกกาบาตเยเซรอที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์)[13] ยานสำรวจเพอร์เซเวียแรนส์ลงจอดในหุบอุกกาบาตนี้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021[14] ในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2021 นาซาได้ตั้งชื่อสถานที่ลงจอดของยานสำรวจว่าจุดลงจอดออกเตเวีย อี บัตเลอร์[15]

เชิงอรรถ แก้

  1. บัลแกเรียและมาซิโดเนีย: езеро, อักษรโรมัน: ezero; บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: jezero/језеро; เช็กและสโลวีเนีย: jezero; และรูปแบบการเขียนที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น (โปแลนด์: jezioro; ซอร์เบียตอนใต้: jezer; สโลวัก: jazero; รัสเซียและยูเครน: озеро, อักษรโรมัน: ozero) รวมถึงในภาษากลุ่มบอลต์ (ลิทัวเนีย: ežeras; ลัตเวีย: ezers)[8]

อ้างอิง แก้

  1. "Perseverance Rover's Landing Site: Jezero Crater". Mars 2020 Mission Perseverance Rover. NASA. สืบค้นเมื่อ 12 March 2022.
  2. Urrutia, Doris Elin (18 February 2021). "How to pronounce 'Jezero crater.' (Yes, you may be doing it wrong.)". Space.com. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
  3. Wray, James (6 June 2008). "Channel into Jezero Crater Delta". NASA. สืบค้นเมื่อ 6 March 2015.
  4. Muir, Hazel. "Prime landing sites chosen for biggest Martian rover". สืบค้นเมื่อ 20 November 2018.
  5. Goudge, T.; และคณะ (2017). Stratigraphy and Evolution of Delta Channel Deposits, Jezero Crater Mars (PDF). Lunar and Planetary Science 48 (2017). 1195.pdf.
  6. "NASA Mars Mission Connects With Bosnian Town". jpl.nasa.gov. Jet Propulsion Laboratory. 23 September 2019. สืบค้นเมื่อ 18 February 2021.
  7. "Planetary Names: Crater, craters: Jezero on Mars". planetarynames.wr.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
  8. 8.0 8.1 Trubachyov, Oleg Nikolayevich, บ.ก. (1979). Etimologicheskiy slovar' slavyanskikh yazykov Этимологический словарь славянских языков [Etymological Dictionary of Slavic Languages] (ภาษารัสเซีย). Vol. 6. Moscow: Nauka. pp. 33–34.
  9. Chang, Kenneth (28 July 2020). "How NASA Found the Ideal Hole on Mars to Land In – Jezero crater. the destination of the Perseverance rover, is a promising place to look for evidence of extinct Martian life". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 July 2020.
  10. Chang, Kenneth (19 November 2018). "NASA Mars 2020 Rover Gets a Landing Site: A Crater That Contained a Lake – The rover will search the Jezero Crater and delta for the chemical building blocks of life and other signs of past microbes". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 November 2018.
  11. Wall, Mike (19 November 2018). "Jezero Crater or Bust! NASA Picks Landing Site for Mars 2020 Rover". Space.com. สืบค้นเมื่อ 20 November 2018.
  12. "Dacono". Gazetteer of Planetary Nomenclature. IAU Working Group for Planetary System Nomenclature. สืบค้นเมื่อ 22 September 2021.
  13. Sinha, R.K.; และคณะ (2020). "Boulder fall activity in the Jezero Crater, Mars". Geophysical Research Letters. 47 (23): e90362. Bibcode:2020GeoRL..4790362S. doi:10.1029/2020GL090362. S2CID 228859524.
  14. Billings, Lee. "Perseverance Has Landed! Mars Rover Begins a New Era of Exploration". Scientific American (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-18.
  15. Staff (5 March 2021). "Welcome to 'Octavia E. Butler Landing'". NASA. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.