เกอลูลุซ (อินโดนีเซีย: kelulus) หรือ กาลูลุซ (kalulus) เป็นเรือพายชนิดหนึ่งที่ใช้ในอาณาจักรมัชปาหิต (ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน) โดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดเล็กและใช้กรรเชียงหรือพาย อย่างไรก็ตาม ในการเดินทางระยะไกลอาจติดตั้งใบเรือได้ [1]: 261  เรือชนิดนี้ไม่เหมือนกับเรือกาลูลิซ (อินโดนีเซีย: prahu kalulis) ซึ่งพบทางตะวันออกของหมู่เกาะอินโดนีเซีย

เรือเกอลูลุซที่ประดับตกแต่งของเมืองปัตตะเวีย ค.ศ. 1733

ศัพทมูลวิทยา แก้

ชื่อเกอลูลุซอาจมาจากคำว่า ลูลุซ (lulus) ในภาษามลายูและชวา ซึ่งแปลว่า "ทำให้สิ่งหนึ่งผ่านไปได้" คำศัพท์ในพจนานุกรมฮอบสัน-จ็อบสัน (Hobson-Jobson) แปลตามตัวอักษรให้ความหมายว่า "the threader"[2]

คำอธิบาย แก้

รายงานแรกที่พบมาจากพงศาวดารของกษัตริย์แห่งปาไซ (มลายู: Hikayat Raja-Raja Pasai, อักษรยาวี: حكاية راج-راج ڤاسا) ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งกล่าวว่าเกอลูลุซเป็นเรือประเภทหนึ่งที่ใช้โดยอาณาจักรมัชปาหิต แม้ว่าคำอธิบายจะไม่ชัดเจนนัก แต่เกอลูลุซก็เป็นหนึ่งในประเภทเรือหลักของอาณาจักรรองจากเรือจง (jong) และมาลังบัง (malangbang)[3]

จากแหล่งข้อมูลภาษาโปรตุเกส ชื่อถูกแปลเป็นกาลาลุช (calaluz, พหูพจน์ calaluzes) โดยอธิบายว่าเป็น "เรือพายแบบเร็วที่ใช้ทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"[4][5]: 557 

ในปี ค.ศ. 1515 ตูแม ปีรึช (Tomé Pires) รายงานว่าปาเตส (ชวา: pates) หรือขุนนางของชวา มีเรือกาลาลุชมากมายใช้สำหรับการโจมตีและอธิบายว่า:

"...แต่พวกมันไม่เหมาะที่จะใช้ออกห่างจากชายฝั่ง เกอลูลุซเป็นเรือชนิดพิเศษของชวา พวกมันถูกแกะสลักเพื่อตกแต่งมากกว่าพันรูปแบบเช่น มีรูปงูและปิดทอง แต่ละลำมีลวดลายเหล่านี้มากมาย และส่วนใหญ่ของเรือถูกทาสีซึ่งทำให้สวยงาม เรือถูกสร้างขึ้นมาอย่างสง่างามและพวกมันมีไว้เพื่อกษัตริย์ที่จะสำราญส่วนพระองค์ แสดงความแตกต่างจากคนทั่วไป พวกเขาใช้ไม้พายในการพายเรือ"

“... พวกเขาออกไปด้วยรถฉลองชัย และหากพวกเขาไปทางทะเล [พวกเขาไป] ในเรือกาลาลุชที่ทาสีตกแต่ง สะอาดและสวยงามมาก มีหลังคามากมายจนขุนนางมองไม่เห็นฝีพายของเรือ"[6]: 200 

ในปี ค.ศ. 1537 เรือเกอลูลุซชวาที่พบในปตานีได้ถูกอธิบายว่าเรือมีพายสองแถว: แถวหนึ่งใช้ไม้พาย อีกแถวหนึ่งกรรเชียงในแบบเดียวกับเรือแกลลีย์ โดยบรรทุกทหารกว่า 100 นาย พร้อมด้วยปืนใหญ่และอาวุธปืนมากมาย กงซาลู ดึ โซซา (Gonçalo de Souza) เขียนในบันทึก Coriosodades de Gonçallo de Sousa ของเขาว่าเรือมี 27 พาย (54 ฝีพาย?) พร้อมทหาร 20 นายและติดอาวุธด้วยปืนขนาดเล็ก (falconselhos; ฟัลกงเซลยุส) ปรับทิศทางได้ที่หัวเรือและท้ายเรือ[7][8]: 158 

พจนานุกรมภาษาสเปนระบุว่ากาลาลุซ (สเปน: calaluz) เป็น "เรือเล็กที่ใช้ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก"[9]

ในปี ค.ศ. 1544 อังตอนียู กัลเวา (António Galvão) นักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกส ได้ทำบทความเกี่ยวกับมาลูกู ซึ่งระบุประเภทของเรือที่มาจากภูมิภาคนี้ รวมทั้งเกอลูลุซด้วย เขาอธิบายว่าลำตัวเรือเป็นรูปไข่ตรงกลาง แล้วค่อยโค้งขึ้นที่ปลายทั้งสองข้าง หัวเรือมีรูปร่างเหมือนคองูที่ชูสูงโดยมีส่วนหัวของงูใหญ่และเขาของกวาง[10]

การใช้งาน แก้

เกอลูลุซถูกใช้เป็นเรือขนส่งหรือเรือรบ การบุกโพ้นทะเลของอาณาจักรมัชปาหิตโดยปกติใช้เรือชนิดนี้ในจำนวนที่มากมาย[11][3] ปาตี (ผู้สำเร็จราชการ) ของชวามีเรือรบเกอลูลุซมากมายเพื่อโจมตีหมู่บ้านชายฝั่ง ในปี ค.ศ. 1513 ระหว่างที่รัฐสุลต่านเดมักเข้าโจมตีโปรตุเกสที่มะละกา เรือเกอลูลุซถูกใช้โดยเทียบเข้ากับเรือเปินจาจัป (มลายู: penjajap) และเรือลันจารัน (ชวา: lancaran) เพื่อใช้ขนส่งกองทหารยกพลขึ้นบก เนื่องจากเรือสำเภาชวามีขนาดใหญ่เกินกว่าจะเข้าใกล้ฝั่งได้[12]

ปี ค.ศ. 1574 ราตูกาลินยามัต (ชวา: Ratu Kalinyamat) พระราชินีแห่งกาลินยามัตและเจปอรอ ทรงนำการโจมตีมะละกาของโปรตุเกส ด้วยเรือ 300 ลำ โดย 220 ลำเป็นเรือเกอลูลุซ ที่เหลือเป็นเรือจง การโจมตีสิ้นสุดลงด้วยความล้มเหลวของกองทัพชวา[13]

ในปี ค.ศ. 1600 กษัตริย์จิอะฮ์ มาซียูโร (ชวา: Chiay Masiuro หรือ Chiaymasiouro) แห่งรัฐเดมัก ได้เสด็จโดยเรือกาเลลุซ (calelus) จากอาณาจักรบลัมบางัน (ชวา: Blambangan) ซึ่งขับเคลื่อนโดยใช้พายและใบเรือไปทางทิศใต้ หลังจากผ่านไป 12 วัน ก็มาถึงลูกาอันตอรอ (ชวา: Luca Antara) หรือ Java Major ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นประเทศออสเตรเลีย ณ ที่นั้นนายท่าสถานีการค้าหรือชะฮ์บันดาร์ (มลายู: syahbandar) รับเสด็จพระองค์ซึ่งได้ทรงประทับอยู่หลายวัน จิอะฮ์ มาซียูโรทรงพบว่าผู้อยู่อาศัยเป็นชาวชวา แต่มีวัฒนธรรมผสมผสานของชวา, ซุนดา และบาหลี หลังจากที่เสด็จกลับมาที่บลัมบางันแล้ว ข่าวการเสด็จสร้างความประหลาดใจอย่างมากและเป็นเรื่องโจษขานของสาธารณชนในชวา[1]: 61–63 

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Mills, J. V. (1930). "Eredia's Description of Malaca, Meridional India, and Cathay". Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society. 8.
  2. Yule, Sir Henry (1996). Hobson-Jobson: The Anglo-Indian Dictionary. Wordsworth Editions. p. 143. ISBN 9781853263637.
  3. 3.0 3.1 Hill (มิถุนายน 1960), p. 157: จากนั้นเขาก็สั่งกำลังพลให้เตรียมอาวุธและยุทโธปกรณ์ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับการโจมตีดินแดนปาไซ - เรือสำเภาที่ใหญ่ที่สุดประมาณสี่ร้อยลำ รวมถึงเรือบรรทุก (มาลังบัง) และเรือแกลลีย์จำนวนมาก เช่นเดียวกับ Nugroho (2011). p. 286, อ้างถึง Hikayat Raja-Raja Pasai, 3: 98: "Sa-telah itu, maka disuroh baginda musta'idkan segala kelengkapan dan segala alat senjata peperangan akan mendatangi negeri Pasai itu, sa-kira-kira empat ratus jong yang besar-besar dan lain daripada itu banyak lagi daripada malangbang dan kelulus." (หลังจากนั้น พระเจ้าอยู่หัวมีหมายรับสั่งให้เตรียมยุทโธปกรณ์และอาวุธทั้งหมดเพื่อมายังดินแดนป่าไซ ประกอบด้วยเรือจงใหญ่ประมาณสี่ร้อยลำ นอกจากนั้นมีเรือมาลังบังและเกอลูลุซอีกมาก)
  4. Pinto, Fernão Mendes (2013). The Travels of Mendes Pinto. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0226923239.
  5. Catz, Rebecca D. (1989). The travels of Mendes Pinto. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 0226923231.
  6. Pires, Tome (1944). The Suma oriental of Tomé Pires : an account of the East, from the Red Sea to Japan, written in Malacca and India in 1512-1515 ; and, the book of Francisco Rodrigues, rutter of a voyage in the Red Sea, nautical rules, almanack and maps, written and drawn in the East before 1515. The Hakluyt Society. ISBN 9784000085052.   บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  7. Coriosidades de Gonçalo de Souza, manuscript in the Biblioteca da Universidade de Coimbra, Ms. 3074, fol. 38vo.
  8. Reid, Anthony (2012). Anthony Reid and the Study of the Southeast Asian Past. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 978-9814311960.
  9. "calaluz". enciclonet 3.0.
  10. Jacobs, Hubert (1971). A Treatise on the Moluccas (c. 1544), probably the preliminary version of António Galvão's lost Historia das Moluccas. Rome: Jesuit Historical Society. OCLC 905632007.
  11. Adam (2019). p.128: "Setelah itu maka disuruh baginda musta'ibkan segala kelengkapan dan segala alat senjata peperangan akan mendatangi negeri Pasai itu; sekira-kira empat ratus jong yang besar-besar; dan lain daripada itu banyak lagi daripada melangbang [melambang] dan kelulus."
  12. Winstedt, Sir Richard (1962). A History of Malaya (Rev. and enlarged ed.). Singapore: Marican. OCLC 876833983.
  13. Marsden, William (7 June 2012). The History of Sumatra: Containing an Account of the Government, Laws, Customs, and Manners of the Native Inhabitants. Cambridge University Press. p. 431. ISBN 978-1108050487.

บรรณานุกรม แก้