ฮู่ต้ง (จีน: 互动在线, พินอิน: Hùdòng Zàixiàn, อังกฤษ: Hudong) เป็นเครือข่ายสังคมแสวงหาผลกำไรในจีน รวมทั้งเว็บไซต์สารานุกรม/ข่าวภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดของโลก แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ใหม่โดยเสรี[2][3] เป็นเว็บไซต์วิกิขนาดใหญ่ที่สุดของจีน โดยมีการโฆษณาที่ได้รับค่าตอบแทน[4] มีบทความมากกว่า 5 ล้านบทความและอาสาสมัครมากกว่า 2.5 ล้านคน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[2][3][5] อย่างไรก็ดี ฮู่ต้งเป็นสารานุกรมข่าว/บัญญัติศัพท์[2] และดังนั้น จึงไม่จำกัดบทความเฉพาะเนื้อหาระยะยาว มีแหล่งอ้างอิงและเนื้อหาที่มีมุมมองไม่ลำเอียง ผู้เขียนตกลงเผยแพร่งานเขียนของตนภายใต้สัญญาอนุญาตปราศจากค่าสิทธิตลอดกาล (perpetual royalty-free) ในการเผยแพร่ผลงาน แต่ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ใหม่โดยเสรีในเว็บไซต์อื่น[6]

ฮู่ต้ง
ประเภทเครือข่ายสังคมและสารานุกรมแบบวิกิ ฟอรัมแชต และกระดานข่าว
ภาษาที่ใช้ได้จีน
สำนักงานใหญ่ปักกิ่ง
เจ้าของHoodong (Beijing) Technologies Co.
สร้างโดยDr. Pan Haidong (CEO)
ยูอาร์แอลhttp://www.hudong.com/
ลงทะเบียนบังคับ

ประวัติ แก้

ฮู่ต้งพัฒนาแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์วิกิของตนเอง เรียกว่า เอชดีวิกิ เป็นคู่แข่งของมีเดียวิกิ ระบบนี้มีคุณลักษณะปฏิสัมพันธ์คล้ายเครือข่ายสังคมบางประการ เช่น โปรไฟล์ผู้ใช้ เพื่อนและกลุ่ม เวอร์ชันแรกออกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และจนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ได้ออกเวอร์ชัน 3 โดยเพิ่มฟังก์ชัน คุณลักษณะและมีความเสถียรมากขึ้น[7]

ซอฟต์แวร์เอชดีวิกิสามารถใช้เพื่อประโยชน์อื่นนอกจากเชิงพาณิชย์ได้อย่างเสรี ได้มีการดาวน์โหลดแล้ว 200,000 ครั้ง และปัจจุบันสนับสนุนเว็บไซต์อีกมากกว่า 1,000 เว็บในจีน (จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550) ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นนักวิจัยเทคโนโลยี กลุ่มซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส รัฐบาล มหาวิทยาลัยและนักศึกษา

ใน พ.ศ. 2554 มีการประกาศว่า เดรเปอร์ ฟิสเชอร์ เจอร์เวตสันได้ลงทุน 15 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในฮู่ต้ง[8]

คุณลักษณะ แก้

ฮู่ต้งเป็นวิกิและให้ผู้ใช้แก้ไขและเขียนเนื้อหาได้ ผู้ใช้ขาประจำอาจสะสมเครดิตเพื่อแลกของขวัญได้[8] ฮู่ต้งยังมีคุณลักษณะอย่างเว็บเครือข่ายสังคม รวมทั้งฟอรัมแชตและกลุ่มแฟน[2][9] ฮู่ต้งเป็นธุรกิจแสวงหาผลกำไรซึ่งได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากการโฆษณาและบริการสนับสนุนที่จ่ายค่าตอบแทน[2] ผู้เขียนได้รับสัญญาอนุญาตปราศจากค่าสิทธิตลอดกาลในการเผยแพร่และนำเนื้อหาไปใช้ใหม่ ฮู่ต้งไม่เผยแพร่เนื้อหาภายใต้สัญญาอนุญาตเสรีและไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ใหม่ในเว็บไซต์อื่น[6]

อ้างอิง แก้

  1. "Hudong.com Site Info". Alexa Internet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-11. สืบค้นเมื่อ 2011-11-02.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Information game changer", Chinadaily.com, 2011-02-24, webpage: CD6 (อังกฤษ).
  3. 3.0 3.1 "Hudong.com Confirms Expansion into Overseas Market, Invading Wikipedia's territory". Hudong.com press release. 12 November 2009. สืบค้นเมื่อ 9 July 2011.
  4. Innovative Chinese wiki software: interview with Hoodong, 10 December 2007
  5. How Hudong Thumped Wikipedia in China, TNW, 24 November 2009
  6. 6.0 6.1 Hudong Terms of Service เก็บถาวร 2011-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, points 7.4 and 8.2. (จีน)
  7. "Red Herring 100 Asia, 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-07. สืบค้นเมื่อ 2011-12-30.
  8. 8.0 8.1 "Why Draper Funded China's Wikipedia". Forbes. 23 August 2011.
  9. Fletcher, Owen (22 May 2009). "'Chinese Wikipedia' Offers Social Networking Too". PC World. สืบค้นเมื่อ 23 May 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้