ฮูด (อาหรับ: هود) เป็นนบีแห่งอาระเบียโบราณที่ถูกกล่าวในอัลกุรอาน[2][3][4][5][6][7][8] โดยมีซูเราะฮ์ที่ 11 ของอัลกุรอานที่เป็น ชื่อตนเอง แม้ว่าจะเล่าเรื่องในบทเพียงไม่มากก็ตาม[3]


ฮูด
هود
สุสานก็อบร์นะบีฮูด ฮัฎเราะเมาต์ (เป็นไปได้)[1]
ชื่ออื่นน่าจะเป็นเอเบอร์ (ฮีบรู: עֵבֶר) แต่ยังกำกวม
ตำแหน่งนบี
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนฮันเซาะละห์
ผู้สืบตำแหน่งศอลิห์

เรื่องเล่าในอัลกุรอาน แก้

นี่คือเรื่องราวของฮูดโดยย่อในสองอายะฮ์เฉพาะ:

ชาวอ๊าดมีมีอำนาจและรวยมากและพวกเขาสร้างสิ่งก่อสร้างเป็นจำนวนมาก[9] อย่างไรก็ตาม ความร่ำรวยของชาวอ๊าดทำให้พวกเขาหยิ่งผยองและทอดทิ้งพระเจ้าแล้วเริ่มสักการะเทวรูป ซึ่งรวมไปถึงเทวรูป 3 องค์ที่มีนามว่า ศ็อดดาอ์, เศาะมูด และ อัลฮะบาอ์[10] ฮูดยังคงภักดีต่อพระเจ้าอย่างสม่ำเสมอ แม่แต่ในวัยเด็ก ซึ่งมีอรรถกถาว่าแม่ของฮูด เป็นคนเดียวที่ส่งเสริมให้ฮูดทำอิบาดะฮ์ต่อพระองค์ ดังนั้น อัลลอฮ์จึงทรงยกฐานะฮูดให้เป็นศาสดาของชาวอ๊าด

เมื่อฮูดเริ่มเทศนาและเชิญชวนให้สักการะพระเจ้าองค์เดียว ชาวอ๊าดเริ่มที่จะด่าทอและเยาะเย้ยคำสอนของท่าน เรื่องราวของฮูดเป็นไปตามวงจรของศาสดาช่วงแรกในอัลกุรอานว่า: ศาสดาถูกส่งมายังผู้คนของเขา เพื่อเรียกร้องให้สักการะพระเจ้าองค์เดียว และบอกให้ขอบคุณพระเจ้าที่ประทานพรให้พวกเขา[11] ในกุรอานได้เล่าไว้ว่า[3]:

และยังอ๊าด (เราได้ส่ง) พี่น้องคนหนึ่งของพวกเขาคือฮูด เขากล่าวว่า "โอ้กลุ่มชนของฉันเอ๋ย พวกท่านจงเคารพอิบาดะฮฺอัลลอฮฺเถิดพวกท่านไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ พวกท่านมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นพวกอุปโลกน์เท่านั้น
โอ้กลุ่มชนของฉันเอ๋ย ฉันมิได้ขอร้องต่อพวกท่านซึ่งรางวัลในการนี้เลย รางวัลของฉันนั้นอยู่กับพระผู้ให้บังเกิดฉัน พวกท่านไม่ใช้ปัญญาหรือ?
และโอ้กลุ่มชนของฉันเอ๋ย จงขออภัยโทษต่อพระเจ้าของพวกท่าน แล้วจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ พระองค์จะส่งเมฆ(น้ำฝน) มาเหนือพวกท่าน ให้หลั่งน้ำฝนลงมาอย่างหนัก และจะทรงเพิ่มพลังเป็นทวีคุณให้แก่พวกท่านและพวกท่านอย่าผินหลังโดยเป็นผู้กระทำผิด"
พวกเขากล่าวว่า "โอ้ฮูดเอ๋ย ท่านมิได้นำหลักฐานอันชัดแจ้งมาให้แก่เรา และพวกเราก็จะไม่ละทิ้งพระเจ้าทั้งหลายของเราเพราะคำกล่าวของท่าน และพวกเราก็จะไม่ศรัทธาในตัวท่าน
เราจะไม่กล่าวอย่างใด เว้นแต่พระเจ้าบางองค์ของเราได้นำความชั่วเข้าไปสิงในตัวท่าน" เขา (ฮูด) กล่าวว่า "แท้จริงฉันให้อัลลอฮ์ทรงเป็นพยาน แล้วพวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่าแท้จริงฉันปลีกตัวออกจากสิ่งที่พวกท่านตั้งภาคี
อื่นจากพระองค์ ดังนั้นพวกท่านทั้งหมดจงวางแผนทำร้ายฉันเถิด แล้วพวกท่านอย่าได้ให้ฉันต้องรอคอยเลย
แท้จริงฉันมอบหมายต่ออัลลอฮ์ พระเจ้าของฉันและพระเจ้าของพวกท่าน ไม่มีสัตว์เลื้อยคลานใด ๆ เว้นแต่พระองค์ทรงกำขมับมัน แท้จริงพระเจ้าของฉันอยู่บนทางที่เที่ยงตรง
หากพวกท่านผินหลังให้แล้วไซร้ แน่นอนฉันได้แจ้งข่าวแก่พวกท่านแล้ว ตามที่ฉันได้ถูกส่งมายังพวกท่านเพื่อมัน และพระเจ้าของฉันจะทรงแต่งตั้งกลุ่มชนอื่นจากพวกท่านเป็นตัวแทน และพวกท่านจะไม่อันตรายต่อพระองค์แต่อย่างใด แท้จริงพระเจ้าของฉันเป็นผู้ทรงพิทักษ์ทุกสิ่ง"

— กุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 11 (ฮูด), อายะฮ์ที่ 50-57

ฮูดสั่งสอนชาวอ๊าดเป็นเวลานาน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมฟัง แถมล้อเลียนท่านด้วย ทำให้พระเจ้าส่งพายุฟ้าคะนองมาทำลายพวกอ๊าดให้หมดสิ้น ตามที่กล่าวในอัลกุรอานไว้ว่า:[6]

ครั้นเมื่อพวกเขาเห็นเมฆทึบเคลื่อนมายังที่ราบลุ่มในหมู่บ้านของพวกเขา พวกเขากล่าวว่า "นี่คือเมฆที่จะให้น้ำฝนแก่เรา" เปล่าเลย มันคือสิ่งที่พวกเจ้าเร่งขอให้เกิด มันคือลมพายุ ในนั้นมีการลงโทษอันเจ็บปวด!
มันจะทำลายทุกสิ่งตามพระบัญชาของพระเจ้าของมัน แล้วพวกเขาก็กลายเป็นไม่มีอะไรให้แลเห็น นอกจากบ้านพักอาศัยของพวกเขาเท่านั้น เช่นนี้แหละเราจะตอบแทนหมู่ชนผู้กระทำผิด

— กุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 46 (อัลอะฮ์กอฟ), อายะฮ์ที่ 24-25

ที่ฝังศพ แก้

มีการกล่าวถึงที่ฝังศพหลายแห่ง สถานที่ที่โดดเด่นที่สุดคือ ก็อบร์นะบีฮูด ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านร้างในเขตผู้ว่าการฮัฎเราะเมาต์, ประเทศเยเมน และเป็นสถานที่ที่มุสลิมมาแสวงบุญบ่อย โรเบิร์ต เบอร์ทรัม เซอร์เจียนต์ กล่าวยืนยันในงานวิจัยของเขาว่าสุสานของฮูดอยู่ที่นี่[12] ซึ่งคล้ายกับอะลี อิบน์ อะบีบักร์ อัลฮะเราะวี[13]: 97/220-1  ที่อธิบายว่า ที่ประตูมัสยิดฝั่งตะวันตก มีหินที่ฮูดปีนขึ้นไปอะซาน และอุโมงค์ บัลฮุต ใต้หุบเขาลึก[1] รอบ ๆ สุสานและบริเวณนั้น พบซากปรักหักพังสมัยโบราณและจารึกมากมาย[14] อย่างไรก็ตาม ที่ตั้งที่เป็นไปได้อีกแห่งอยูใกล้บ่อซัมซัมในประเทศซาอุดีอาระเบีย[13]: 86/98  หรือกำแพงทิศใต้ของมัสยิดอุมัยยะฮ์ในประเทศซีเรีย[13]: 15/38  นักวิชาการบางคนกล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวมัสยิดมีจารึกที่เขียนไว้ว่า: "ฮาซามะกอมฮูด" (อาหรับ: هذا مقام هود, "นี่คือสุสานของฮูด")[15] อย่างไรก็ตาม อีกส่วนหนึ่งกล่าวแนะว่า นี่คือความเชื่อในธรรมเนียมท้องถิ่น[1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Wensinck, A.J.; Pellat, Ch. (1960–2007). "Hūd" (PDF). ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C.E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W.P. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (2nd ed.). Brill. p. 537. doi:10.1163/1573-3912_islam_SIM_2920. ISBN 9789004161214. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-23. สืบค้นเมื่อ 2020-11-10.{{cite book}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) CS1 maint: date format (ลิงก์)
  2. อัลกุรอาน 7:65–72 (แปลโดย by พิกทอลล์)
  3. 3.0 3.1 3.2 อัลกุรอาน 11:50–60 (แปลโดย by พิกทอลล์)
  4. อัลกุรอาน 26:123–139 (แปลโดย by พิกทอลล์)
  5. อัลกุรอาน 38:11–13 (แปลโดย by พิกทอลล์)
  6. 6.0 6.1 อัลกุรอาน 46:21–26 (แปลโดย by พิกทอลล์)
  7. อัลกุรอาน 50:12–14 (แปลโดย by พิกทอลล์)
  8. อัลกุรอาน 54:21–26 (แปลโดย by พิกทอลล์)
  9. อัลกุรอาน 26:128–129
  10. Ibn Kathir. "Story of Hud". Qisas Al-Anbiya [Stories of the Prophets].
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Noegel
  12. Serjeant, Robert Bertram (1954). "Hud and Other Pre-islamic Prophets in Hadhramawt". Le Muséon. Peeters Publishers. 67: 129.
  13. 13.0 13.1 13.2 Ali ibn abi bakr al-Harawi. Kitab al-Isharat ila Ma rifat al-Ziyarat [Book of indications to make known the places of visitations].
  14. van der Meulen, Daniel; von Wissmann, Hermann (1964). Hadramaut: Some of its mysteries unveiled. Publication of the De Goeje Fund no. 9. (1st ed.). Leiden: E.J. Brill. ISBN 978-90-04-00708-6.
  15. Ibn Battuta. Rihla [The Travels]. i, 205; ii, 203.

บรรณานุกรม แก้

อ้างอิงในอัลกุรอาน แก้

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • "Prophet Hud". Witness-Pioneer: A Virtual Islamic Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2002. สืบค้นเมื่อ 21 November 2019.