ฮุนได เอลันตร้า

ฮุนได เอลันตร้า (อังกฤษ: Hyundai Elantra, เกาหลี: 현대 엘란트라) หรือชื่อฮุนได เอแวนเต้ (현대 아반떼) ในประเทศเกาหลีใต้ เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) ที่ผลิตโดยฮุนได เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2533 ถือได้ว่าเป็นรถยนต์อีกรุ่นหนึ่งที่มีความสำคัญต่อฮุนไดในตลาดโลก นอกจากรถยนต์นั่งขนาดกลาง ซึ่งก็คือฮุนได โซนาต้า (อังกฤษ: Hyundai Sonata) เพราะตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กถือได้ว่าเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีคู่แข่งมากมาย และเอลันตร้าเองก็เป็นรถที่ทำยอดขายได้มากมาย ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปี 2533 ทำยอดขายทั่วโลกได้ทั้งหมด 6 ล้านคัน เนื่องจากเป็นรถที่มาถูกเวลา คือเปิดตัวในช่วงที่เกาหลีใต้ได้พยายามสร้างการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคและผู้คนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

ฮุนได เอลันตร้า
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตฮุนได
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2533–ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็ก
โครงสร้างเครื่องวางหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าฮุนได แอคเซนท์ first generation
ฮุนได เอ็กเซล
ฮุนได โพนี่
ฮุนได สเตลล่า (South Korea)

รุ่นที่ 1 (J1; พ.ศ. 2533–2538)

แก้
 
ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 1

ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 1 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2533 รหัสของตัวรถคือ J1 และไมเนอร์เชนจ์ในปี พ.ศ. 2536 มีตัวถังแบบเดียวคือซีดาน 4 ประตู มีฐานการประกอบอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ เครื่องยนต์จะเป็นเครื่องยนต์ 1.5 ,1.6 และ 1.8 ลิตร โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องยนต์ร่วมกับ Mitsubishi Motors ระบบเกียร์จะเป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด รุ่นนี้ในบางประเทศจะใช้ชื่อว่า ฮุนได ลันตร้า (อังกฤษ: Hyundai Lantra)

ในประเทศไทย เอลันตร้ารุ่นแรกเปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2535 ใช้ชื่อเอลันตร้าเช่นเดียวกับตลาดโลก เครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์บล็อกเดียวกับตลาดโลก คือ 1.5 ,1.6 และ 1.8 ลิตร มีทั้งเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ เปิดตัวพร้อมกับการแนะนำรถยนต์ Hyundai ในประเทศไทย โดย United Auto Sales Thailand บริษัทลูกของพระนครยนตรการ เปิดตัวพร้อมกับรุ่น Excel และ Sonata ด้วยราคาที่เหมาะสม และภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ถูกลงในช่วงรัฐบาล ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน ทำให้เอลันตร้าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในเวลารวดเร็ว

รุ่นที่ 2 (J2/RD; พ.ศ. 2538–2543)

แก้
 
ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 2

ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 2 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2538 รหัสของตัวรถคือ J2 หรือ RD ในประเทศเกาหลีใต้ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อ ฮุนได อวันเต้ (อังกฤษ: Hyundai Avante) รุ่นนี้เป็นรุ่นที่มีเส้นสายที่โค้งมนมากขึ้น ตามสไตล์ของรถปลายยุค 1990 มีฐานการประกอบอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้และบอตสวานา มีตัวถัง 2 แบบคือซีดาน 4 ประตูและสเตชันวากอน 5 ประตู เครื่องยนต์ 1.5 ,1.6 ,1.8 และ 2.0 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และไมเนอร์เชนจ์ในปี พ.ศ. 2541

ในประเทศไทย เอลันตร้ารุ่นที่ 2 เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2538 มีทั้งรุ่นซีดาน 4 ประตูและสเตชันวากอน 5 ประตู หรือที่เรียกว่า Touring Wagon ซึ่งเปิดตัวตามหลังรุ่นซีดาน 4 ประตู เครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์ 1.6 และ 1.8 ลิตร และในยุโรปจะมีเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ยกมาจากฮุนได ทีบูรอน (อังกฤษ: Hyundai Tiburon) อีกด้วย และในช่วงปลายอายุตลาดได้มีการเสริมรุ่นพิเศษ คือ Elantra Avante ซึ่งเป็นรุ่นกระจังหน้าคล้ายเปลือกหอย และเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อที่ใช้ทำตลาดในเกาหลีใต้อีกด้วย รุ่นนี้ถือว่าเป็นอีกรุ่นที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย โดยมียอดขายหลายพันคัน และยังมีบางคันที่ยังสามารถพบเห็นได้ตามท้องถนนทั่วไปอีกด้วย แต่เมื่อ Hyundai Motors ไม่ต่อสัญญากับ United Auto Sales ทำให้การทำตลาดรถยนต์ทุกรุ่นของ Hyundai ในประเทศไทยต้องยุติลงไปด้วย และเลิกขายในปี พ.ศ. 2545 ก่อนจะกลับมาแนะนำรถยนต์ Hyundai อีกครั้งในปี พ.ศ. 2550 โดยรถยนต์รุ่นสุดท้ายในยุคของพระนครยนตรการ คือ ซานตาเฟ่ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2544 และไม่มีการนำเอลันตร้ารุ่นที่ 3 และ 4 มาทำตลาดในประเทศไทย

รุ่นที่ 3 (XD; พ.ศ. 2543–2549)

แก้
 
ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 3

ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 3 เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2543 รหัสของตัวรถคือ XD จึงใช้ชื่อในการขายในเกาหลีใต้ว่า Hyundai Avante XD มีตัวถังซีดาน 4 ประตูและแฮทช์แบค 5 ประตู ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด มีเครื่องยนต์เบนซิน 1.6 ,1.8 และ 2.0 ลิตร และเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร โดยเมื่อมีการไมเนอร์เชนจ์ในปี พ.ศ. 2546 ไม่มีการปรับรายละเอียดเครื่องยนต์ แต่ปรับแรงม้า เริ่มมีการประกอบในหลายๆ ประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ,จีน ,เวเนซูเอล่า ,รัสเซีย ,ยูเครนและไต้หวัน

รุ่นที่ 4 (HD; พ.ศ. 2549–2553)

แก้
 
ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 4

ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 4 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2549 รหัสของตัวรถคือ HD มีตัวถังแบบเดียวคือซีดาน 4 ประตู เครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์เบนซิน 1.6 และ 2.0 ลิตร และเครื่องยนต์ดีเซล 1.6 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด

รุ่นที่ 5 (MD/UD; พ.ศ. 2553–2558)

แก้
 
ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 5

ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 5 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2553 รหัสของตัวรถคือ MD และ UD เป็นรุ่นแรกที่ใช้แนวทางการออกแบบ Fludic Sculpture Design ซึ่งเป็นแนวทางการออกแบบของฮุนไดในปัจจุบัน มีเครื่องยนต์เบนซิน 1.6 ,1.8 และ 2.0 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 6 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด มีตัวถังซีดาน 4 ประตู คูเป้ 2 ประตูและสเตชันวากอน 5 ประตู มีฐานการประกอบที่ประเทศเกาหลีใต้ ,สหรัฐอเมริกาและไต้หวัน

ในประเทศไทย เอลันตร้ารุ่นที่ 5 เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2555 ถือเป็นรุ่นที่ 3 ที่มีขายในประเทศไทย มีเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร ทั้งแบบเกียร์ธรรมดาและเกียร์อัตโนมัติ ในความจริงแล้ว Hyundai Motor Thailand ยังไม่มีแผนนำ Elantra มาขาย เนื่องจากฮุนไดเคยมีแผนที่จะนำฮุนได แอคเซนท์ รถซีดานขนาดเล็กที่เคยนำเข้ามาขายในเมืองไทยกลับมาเปิดตัวอีกครั้ง แต่ก็เปลี่ยนแผน เป็นการนำ Elantra มาเปิดตัว โดยฮุนไดตั้งใจจะเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่โรงแรมย่านรัชดาภิเษก พร้อมกับการเฉลิมฉลอง 4 ปีของ Hyundai Motor Thailand แต่เนื่องจากในขณะนั้น ประเทศไทยกำลังประสบกับมหาอุทกภัยน้ำท่วมในภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ทำให้ต้องเลื่อนกำหนดการเปิดตัวเอลันตร้ามาเป็นเปิดตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ที่สนามแข่งรถมอเตอร์สปอร์ตแลนด์ หรือแดนเนรมิตเดิม บนถนนพหลโยธินแทน

รุ่นที่ 6 (AD; พ.ศ. 2558–2563)

แก้
รุ่นที่หก (AD)
 
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อฮุนได อแวนเต้ (เกาหลีใต้)
ฮุนได เอลันตรา หล่างต้ง (จีน)
ฮุนได ซูเปอร์ เอลันตรา
เริ่มผลิตเมื่อ2558–ปัจจุบัน
รุ่นปี2559–ปัจจุบัน
แหล่งผลิตอุลซัน, เกาหลีใต้
มอนต์กอเมอรี, รัฐแอละแบมส, สหรัฐอเมริกา
ปักกิ่ง, จีน
เจนไน, อินเดีย
คาลินินกราด, รัสเซีย[1]
เคอแมน, อิหร่าน[2]
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังรถเก๋งฟาสต์แบ็ก 4 ประตู
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์1.4 L Kappa I4 (Turbocharged petrol)
1.6 L Gamma I4 (petrol)
1.6 L Gamma G4FJ I4 (turbocharged petrol)
1.6 L U2 I4 (turbocharged diesel)
2.0 L Nu I4 (petrol)
ระบบเกียร์เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ
เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ
เกียร์คลัชคู่ 7 จังหวะ
มิติ
ระยะฐานล้อ2,700 mm (106.3 in)
ความยาว4,570 mm (179.9 in)
ความกว้าง1,800 mm (70.9 in)
ความสูง1,435 mm (56.5 in)
น้ำหนัก1,255–1,350 kg (2,767–2,976 lb)

ฮุนได เอลันตร้า รุ่นที่ 6 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2558 รหัสของตัวรถคือ AD All New Hyundai Elantra สูงสุดกลับคืนสู่สามัญ จากรถยนต์ที่ดูปราดเปรียวน่าแปลกใจทุกอัตราส่วนก็กลายมาเป็นรถซีดานที่พยายามจับตลาดวงกว้างเพิ่มเติมความหรูหราพรีเมี่ยมภายใต้เส้นสายที่ฉวัดเฉวียนน้อยลงมาก Hyundai Elantra โฉมใหม่ยังคงใช้โครงสร้างตัวถังของ Elantra รุ่นที่ผ่านมาแต่มีการปรับปรุงรายละเอียดการออกแบบใหม่หมดจด ภายนอกลดความเฉี่ยวลงไปมากเน้นเส้นสายที่สะอาดตามากขึ้นภายใต้แนวคิดการออกแบบ Fluidic Sculpture 2.0 ที่เพิ่มเส้นเฉียบคมมากขึ้น เส้นสายตัวรถเน้นเส้นที่ดูง่ายและชัดเจนขึ้นไม่เว้นแม้แต่การออกแบบกรอบประตูหลังและกรอบกระจกหลังที่ไม่ได้มีลูกเล่นอะไรมาก ส่วนด้านท้ายก็ออกแบบให้ดูเพรียวด้วยไฟท้ายแนวยาวพร้อมไฟ LED ซ้อนข้างใน

สเปคเกาหลีใต้จะได้ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 1.6 ลิตร 136 แรงม้า จับคู่เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะและเกียร์อัตโนมัติคลัทช์คู่ 7 จังหวะ สำหรับเครื่องยนต์เบนซินก็ยังคงพึ่งพาเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร 132 แรงม้าไร้ระบบอัดอากาศ (รุ่น LPG จะลดเหลือ 120 แรงม้า) และ 2.0 ลิตร 149 แรงม้า ระบบความปลอดภัยเบื้องต้นก็จะติดตั้งถุงลมนิรภัย 7 ใบ, ระบบเตือนการเปลี่ยนเลน, ระบบไฟสูงอัตโนมัติ, Smart Cruise Control และอื่น ๆ อีกมาก

รุ่นที่ 7 (CN7; พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน)

แก้
รุ่นที่เจ็ด (CN7)
 
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อฮุนได อแวนเต้ (เกาหลีใต้/สิงคโปร์)
ฮุนได ไอ30 ซีดาน (ออสเตรเลีย)
เริ่มผลิตเมื่อ2020–present
รุ่นปี2021–present
แหล่งผลิตอุลซัน, เกาหลีใต้ (Hyundai Ulsan Plant)
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง4 ประตู รถเก๋ง
แพลตฟอร์มฮุนได-เกีย K3
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
มอเตอร์ไฟฟ้า43 PS (32 kW; 42 hp) มอเตอร์แม่เหล็กไฟฟ้าถาวร
ระบบเกียร์เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ
เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ
6-speed DCT
7-speed DCT
8-speed D8LF1 DCT
เกียร์อัตโนมัติแบบแปรผัน CVT
ระบบขับเคลื่อนรถไฮบริดไฮบริดแบบขนานเต็มรูปแบบ (เอลันตร้าไฮบริด)
มิติ
ระยะฐานล้อ2,720 mm (107.1 in)
ความยาว4,650–4,680 mm (183.1–184.3 in)
ความกว้าง1,825 mm (71.9 in)
1,810 mm (71.3 in) (China)
ความสูง1,420 mm (55.9 in)
1,430 mm (56.3 in)
1,415 mm (55.7 in) (China)
น้ำหนัก1,160–1,290 kg (2,557–2,844 lb) (1.4T/1.5L/1.6L/2.0L)
1,310–1,340 kg (2,888–2,954 lb) (1.6T)
1,330–1,340 kg (2,932–2,954 lb) (Hybrid)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าฮุนได ไอออนิคไฮบริด (สำหรับ เอลันตร้าไฮบริด)
Rear view
Interior

Hyundai Elantra รุ่นปัจจุบันพึ่งเปิดตัวไปในปี 2017 และได้รับการปรับปรุง Minorchange ไปในปี 2019 แต่บริษัทกลับเตรียมเปิดตัวรุ่นใหม่ All-NEW แล้ว ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า โดย Teaser ที่ปล่อยมาได้เผยให้เห็น งานออกแบบที่ต่างจากรุ่นเก่ามาก เพราะภายนอกดูมี character ที่ดุดันขึ้น ส่วนภายในดูปราณีตกว่าที่เคย

ภายนอกของ All NEW Hyundai Elantra เปลี่ยน design language จากรุ่นปัจจุบันไปมาก ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้าทรงเฉี่ยวพร้อม DRL ในตัว ด้านข้างโดดเด่นไม่แพ้กัน เพราะโคมไฟหน้า-หลัง รวมถึงเส้นสายตัวถัง ล้วนมาพร้อมเส้นสายเฉียบคม และดูมีมิติรับกับล้อลายใบพัด 5 ก้าน ด้านหลังยกฝาท้ายขึ้น ให้เป็นสปอยเลอร์ในตัว และดูเหมือนจะมีดิฟฟิวเซอร์ด้วย

Powertrain

แก้
Specs[3][4][5]
Petrol engines
Model Engine Transmissions Power Torque
Smartstream G1.4 T-GDi 1,353 cc (82.6 cu in) I4 7-speed DCT 140 PS (103 kW; 138 hp) @ 6,000 rpm 21.5 kg·m (211 N·m; 156 lb·ft) @ 1,400–3,700 rpm
Smartstream G1.5 MPI 1,497 cc (91.4 cu in) I4 CVT 115 PS (85 kW; 113 hp) @ 6,300 rpm 14.7 kg·m (144 N·m; 106 lb·ft) @ 4,500 rpm
Gamma 1.6 MPI 1,591 cc (97.1 cu in) I4 6-speed manual
6-speed automatic
127.5 PS (94 kW; 126 hp) @ 6,300 rpm 15.77 kg·m (155 N·m; 114 lb·ft) @ 4,850 rpm
Smartstream G1.6 MPI 1,598 cc (97.5 cu in) I4 6-speed manual
CVT
123 PS (90 kW; 121 hp) @ 6,300 rpm 15.7 kg·m (154 N·m; 114 lb·ft) @ 4,550 rpm
Smartstream G1.6 T-GDi 1,598 cc (97.5 cu in) turbocharged I4 6-speed manual
7-speed DCT
204 PS (150 kW; 201 hp) @ 6,000 rpm 27 kg·m (265 N·m; 195 lb·ft) @ 1,500–4,500 rpm
Smartstream G2.0 MPI 1,999 cc (122.0 cu in) I4 6-speed manual
6-speed automatic
CVT
149 PS (110 kW; 147 hp) @ 6,200 rpm
159 PS (117 kW; 157 hp) @ 6,200 rpm
18.3 kg·m (179 N·m; 132 lb·ft) @ 4,500 rpm
19.5 kg·m (191 N·m; 141 lb·ft) @ 4,500 rpm
Theta II 2.0 T-GDI 1,998 cc (121.9 cu in) turbocharged I4 6-speed manual
8-speed DCT
280 PS (206 kW; 276 hp) @ 6,000 rpm 40 kg·m (392 N·m; 289 lb·ft) @ 1,450–4,700 rpm
LPG engine
Model Engine Transmissions Power Torque
Gamma 1.6 LPi 1,591 cc (97.1 cu in) I4 6-speed automatic 120 PS (88 kW; 118 hp) @ 6,000 rpm 15.5 kg·m (152 N·m; 112 lbf·ft) @ 4,500 rpm
เครื่องยนต์ไฮบริด
Model Engine Transmissions Power Torque
Smartstream G1.6 Hybrid 1,580 cc (96 cu in) I4 6-speed DCT 141 PS (104 kW; 139 hp) @ 5,700 rpm

อ้างอิง

แก้
  1. "Avtotor began to produce three Hyundai cars". Wr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-23. สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
  2. "Hyundai, Kerman Motor Sign Deal to Produce Elantra in Iran". Financial Tribune. 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2017-03-24.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-19. สืบค้นเมื่อ 2021-07-19.
  4. https://www.hyundaiusa.com/us/en/vehicles/elantra/compare-specs
  5. https://www.beijing-hyundai.com.cn/carsupport/parameter/?m=Elantra-7th