ฮิปฮอป

(เปลี่ยนทางจาก ฮิบฮอบ)

ฮิปฮอป (อังกฤษ: hip hop หรือ hip-hop) เดิมเรียก ดิสโกแร็ป (disco rap)[2][3] เป็นแนวหนึ่งของเพลงสมัยนิยม เกิดขึ้นในนครนิวยอร์กช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ประกอบด้วยดนตรีที่เป็นจังหวะ ซึ่งมักดำเนินตามเสียงตีกลอง และมักมีการแร็ป[4] คำว่า "ฮิปฮอป" บางครั้งใช้เป็นไวพจน์ของ "แร็ป" แม้ว่าฮิปฮอปไม่จำเป็นต้องแร็ปเสมอไปก็ตาม[4][5] องค์ประกอบอื่น ๆ ของฮิปฮอปยังได้แก่เสียงบีตจากแซมพลิง หรือเบสไลน์จากสิ่งบันทึกเสียงหรือการสังเคราะห์เสียง และบีตบ็อกซ์[6][7] นอกจากนี้ ฮิปฮอปอาจมีองค์ประกอบจากวัฒนธรรมอื่นอีกได้ เช่น ดีเจอิง สแคร็ตชิง หรือเทิร์นเทบลิสซึม[8][9]

ฮิปฮอป ทั้งในแง่ที่เป็นแนวเพลง และเป็นวัฒนธรรมนั้น ก่อกำเนิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 ช่วงที่การรวมตัวแบบบล็อกพาร์ทีได้รับความนิยมทวีขึ้นอย่างยิ่งในนครนิวยอร์ก โดยเฉพาะในหมู่ยุวชนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันที่อาศัยในเดอะบร็องซ์ ในการรวมตัวดังกล่าว ดีเจจะเล่นเพลงป็อปโดยใช้เครื่องเล่นแบบเทิร์นเทเบิลสองตัวพร้อมกับดีเจมิกเซอร์ และการแร็ปก็พัฒนาขึ้นจากการที่ศิลปินพูดหรือร้องไปตามทำนองบีตที่เล่นนี้เอง[10] แต่ฮิปฮอปไมได้รับการบันทึกเสียงอย่างเป็นทางการเพื่อนำไปเล่นตามวิทยุหรือโทรทัศน์จนกระทั่ง ค.ศ. 1979 เหตุผลหลัก คือ ภาวะอัตคัดทางการเงินในช่วงที่ฮิปฮอปถือกำเนิด ประกอบกับฮิปฮอปไม่เป็นที่ยอมรับภายนอกชุมชนแออัด[11] อย่างไรก็ดี ฮิปฮอปยังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดมาในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 จนถึงต้น 2000 ทั้งยังได้รับการใช้เป็นส่วนหนึ่งในเพลงป็อปแนวอื่น เช่น นีโอโซล นูเมทัล และอาร์แอนด์บีร่วมสมัย กระทั่งกลางจนถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 2010 และต้น 2020 แนวเพลงย่อยของฮิปฮอปอย่างแทร็ปแร็ปและมัมเบิลแร็ปก็กลายเป็นแนวเพลงฮิปฮอปซึ่งได้รับความนิยมสูงสุด และใน ค.ศ. 2017 ดนตรีร็อกก็ถูกฮิปฮอปแทนที่ในฐานะแนวเพลงอันที่นิยมมากที่สุดในสหรัฐ[12][13][14]

ส่วนฮิปฮอปในแง่คำศัพท์นั้น คำว่า "ฮิป" และ "ฮอป" มีประวัติการใช้งานควบคู่กันมายาวนานอยู่แล้ว เช่น ในคริสต์ทศวรรษ 1950 มีการเรียกงานรื่นเริงของวัยรุ่นว่า "ฮิปพิทีฮอป"[15] แต่การนำคำว่า "ฮิปฮอป" มาใช้เรียกแนวดนตรี มักยกให้เป็นผลงานของคีฟ คาวบอย นักแร็ปชาวอเมริกัน[16] โดยครั้งนั้น แนวเพลงนี้ยังเรียกกันด้วยชื่ออื่นว่า "ดิสโกแร็ป"[17] เชื่อกันว่า คีฟ คาวบอย สร้างคำนี้ขึ้นหยอกเย้าเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นทหารแล้วร้องคำว่า "ฮิป" และ "ฮอป" เป็นเพลงด้วยวิธีสแคตซิงกิงเพื่อล้อเลียนจังหวะมาร์ชของทหาร[16]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Hip-Hop's Jazz Roots". Merriam-Urban Jazz. Urban Jazz, Incorporated. สืบค้นเมื่อ August 24, 2015.[ลิงก์เสีย]
  2. Trapp, Erin (July 1, 2005). "The Push and Pull of Hip-Hop: A Social Movement Analysis". American Behavioral Scientist. 48 (11): 1482. doi:10.1177/0002764205277427. S2CID 146340783. Much scholarly effort has been devoted to hip-hop (also known as rap) music in the past two decades...
  3. Leach, Andrew (2008). ""One Day It'll All Make Sense": Hip-Hop and Rap Resources for Music Librarians". Notes. 65 (1): 9–37. doi:10.1353/not.0.0039. ISSN 0027-4380. JSTOR 30163606. S2CID 144572911. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2021. สืบค้นเมื่อ December 5, 2020.
  4. 4.0 4.1 Encyclopædia Britannica article on rap, retrieved from britannica.com เก็บถาวร สิงหาคม 3, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: Rap, musical style in which rhythmic and/or rhyming speech is chanted ("rapped") to musical accompaniment. This backing music, which can include digital sampling (music and sounds extracted from other recordings by a DJ), is also called hip-hop, the name used to refer to a broader cultural movement that includes rap, deejaying (turntable manipulation), graffiti painting, and break dancing.
  5. Encyclopædia Britannica article on hip-hop, retrieved from britannica.com เก็บถาวร พฤษภาคม 11, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: Hip-hop, cultural movement that attained widespread popularity in the 1980s and '90s; also, the backing music for rap, the musical style incorporating rhythmic and/or rhyming speech that became the movement's most lasting and influential art form.
  6. Harvard Dictionary of Music article for hip hop, retrieved from Google Books เก็บถาวร มกราคม 10, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: While often used to refer to rap music, hip hop more properly denotes the practice of the entire subculture
  7. AllMusic article for Hip-hop/Urban, retrieved from AllMusic.com: Hip-Hop is the catch-all term for rap and the culture it spawned. เก็บถาวร มีนาคม 11, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. "Hip-hop". Merriam-Webster Dictionary. Merriam-Webster, Incorporated. สืบค้นเมื่อ February 5, 2017.
  9. "Hip-hop". Oxford English Dictionary. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ October 6, 2011.
  10. McNamee, David (January 11, 2010). "Hey, what's that sound: Turntablism". The Guardian. สืบค้นเมื่อ March 22, 2017.
  11. Dyson, Michael Eric, 2007, Know What I Mean?: Reflections on Hip-Hop, Basic Civitas Books, p. 6.
  12. Berry, Peter A. "Nielsen Says Hip-Hop/R&B Is Now Most Consumed Genre in U.S. - XXL". XXL Mag (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.
  13. Lynch, John. "For the first time in history, hip-hop has surpassed rock to become the most popular music genre, according to Nielsen". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.
  14. "Hip hop and R&B surpass rock as biggest U.S. music genre". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2018-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.
  15. Chang, Jeff (April 10, 2016). "How Hip-Hop Got Its Name". Medium (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 1, 2020.
  16. 16.0 16.1 "Keith Cowboy – The Real Mc Coy". March 17, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2006. สืบค้นเมื่อ January 12, 2010.
  17. "Afrika Bambaataa talks about the roots of Hip Hop". YouTube. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ February 25, 2021.