อุโบสถ (ศาสนาพุทธแบบจีน)

อุโบสถในวัดพุทธแบบจีน[1] หรือเรียกว่า ต้าสยงเป่าเตี้ยน (จีน: 大雄寶殿; นิยมแปลว่า วิหารมหาวีระ, อังกฤษ: Mahavira Hall) เป็นวิหารหลักของวัด อันเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพของพระโคตมพุทธเจ้า ตลอดจนพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์พระองค์อื่น ๆ[2][3]

อุโบสถ
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม大雄殿
อักษรจีนตัวย่อ大雄殿
ความหมายตามตัวอักษรPrecious Hall of the Great Hero
ชื่อภาษาเวียดนาม
จื๋อโกว๊กหงือĐại hùng Bửu điện (Đại hùng Bảo điện)
Chính điện (Chánh điện)
จื๋อฮ้าน大雄寶殿
正殿
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
대웅전
ฮันจา
大雄殿
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ大雄殿

อุโบสถของวัดจีนมักตั้งอยู่ทางเหนือต่อวิหารท้าวจตุโลกบาล และถือเป็นองค์ประกอบหลักกลางของสถาปัตยกรรมวัดจีน ภายในมักประดิษฐานพระศากยมุนีพุทธเจ้า[4][5][6] และบ่อยครั้งมักประดิษฐานพระสาวกเอกสององค์ขนาบซ้ายขวา คือ พระมหากัสสปะ ผู้ชรากว่า และพระอานนท์ ผู้เยาว์กว่า[4][5][6] ด้านหลังต่อรูปของพระศากยมุนีนิยมประดิษฐานพระโพธิสัตว์สามองค์หันหน้าออกทางทิศเหนือ ได้แก่ พระมัญชุศรี, พระสมันตภัทร และ เจ้าแม่กวนอิม[4][5][6]

ชื่อ

แก้

ในการแปลเป็นภาษาอังกฤษมักเรียกอุโบสถว่าโถงหลักหรือโถงใหญ่ ("Main" หรือ "Great Halls") ส่วนคำว่า วิหารมหาวีระ หรือ โถงมหาวีระ ("Mahavira Hall", "Mahāvīra Hall" หรือ "Hall of the Mahāvīra") เป็นการแปลความกลับจากภาษาจีนเป็นภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อแปลโดยเต็ม เช่น วิหารผู้กล้าผู้ยิ่งใหญ่ (Precious Hall of the Great Hero) หรือ วิหารกำลังยิ่งใหญ่ (Hall of Great Strength)[7]

ในภาษาไทยนิยมเรียกว่า อุโบสถ ตามลักษณะประดิษฐานพระพุทธรูปองค์หลักเหมือนกัน[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "สถาปัตยกรรมวัดจีน". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ.
  2. Fotopoulou, Sophia (September 15, 2002). "The Layout of a Typical Chinese Buddhist Temple". Newsfinder.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-12. สืบค้นเมื่อ February 28, 2011.
  3. 佛法教学的 [The Art of Buddha Teaching] (ภาษาจีนตัวย่อ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-21. สืบค้นเมื่อ February 28, 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 Zi Yan (2012-08-01). Famous Temples in China. Beijing: Time Publishing and Media Co., Ltd. pp. 31–33. ISBN 978-7-5461-3146-7.
  5. 5.0 5.1 5.2 Wei Ran (2012-06-01). Buddhist Buildings. Beijing: China Architecture & Building Press. ISBN 9787112142880.
  6. 6.0 6.1 6.2 Han Xin (2006-04-01). Well-Known Temples of China. Shanghai: The Eastern Publishing Co. Ltd. ISBN 7506024772.
  7. Thomson, John (1874), Illustrations of China and Its People: A Series of Two Hundred Photographs with Letterpress Descriptive of the Places and People Represented, Vol. I, London: Sampson Low, Marston, Low, & Searle, Honam Temple, Canton.