อุบัติการณ์ที่กองเหลง
อุบัติการณ์ที่กองเหลง (จีน: 廣陵事變) เป็นการเผชิญหน้าทางทหารที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 224 ถึงต้นปี ค.ศ. 225 ระหว่างรัฐวุยก๊กและง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน แม้ว่าการเผชิญหน้านี้จะถือว่าเป็นยุทธนาวี แต่ก็ไม่มีการสู้รบกันอย่างเป็นกิจจะลักษณะ[2]
อุบัติการณ์ที่กองเหลง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสามก๊ก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
วุยก๊ก | ง่อก๊ก | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
โจผี |
ซุนกวน ชีเซ่ง | ||||||
กำลัง | |||||||
100,000+[1] |
ภูมิหลัง
แก้ในปี ค.ศ. 222 โจผีจักรพรรดิวุยก๊ก เรียกร้องให้ซุนกวน (ซึ่งกลายเป็นอ๋องของรัฐประเทศราชที่สวามิภักดิ์ต่อวุยก๊กตั้งแต่ปี ค.ศ. 220) ให้ส่งซุนเต๋งบุตรชายไปเป็นตัวประกันที่วุยก๊กเพื่อคงความภักดีของซุนกวนแก่ตน แต่ซุนกวนปฏิเสธ ยุติความสัมพันธ์กับวุยก๊กและตั้งตนเป็นผู้ปกครองง่อก๊กในฐานะรัฐอิสระ โจผีตอบโต้ด้วยการบุกง่อก๊กหลายครั้งในระหว่างปี ค.ศ. 222 ถึง ค.ศ. 244 แต่ในการบุกทุกครั้งจบลงด้วยความล้มเหลว ในช่วงปลายปี ค.ศ. 224 โจผีระดมกำลังทหารมากกว่าหนึ่งแสนนายจากทั่ววุยก๊กและสั่งให้ไปรวมพลกันที่เมืองกองเหลง (廣陵郡 กว่างหลิงจฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครหฺวายอาน มณฑลเจียงซู) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการบุกเกี๋ยนเงียบ (建業 เจี้ยนเย่; ปัจจุบันคือนครหนานจิง มณฑลเจียงซู) นครหลวงของง่อก๊กครั้งใหญ่[3]
การรุดหน้า
แก้โจผีรู้ว่าการบุกจะล้มเหลวหากเปิดการโจมตีจากต้นน้ำของแม่น้ำแยงซีซึ่งเป็นส่วนที่แม่น้ำแคบ จึงเลือกที่จะเปิดฉากบุกจากเมืองกองเหลงซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำกว้างกว่า ก่อนหน้านี้ในปีเดียวกัน ชีเซ่งขุนพลของง่อก๊กมีคำสั่งให้สร้างแนวกำแพงป้องกันปลอมและสร้างหอคอยปลอมตลอดฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซีตั้งแต่เกี๋ยนเงียบไล่ตามน้ำไปยังเจียงเฉิงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการบุกทางเรือของทัพวุยก๊ก[4]
ในฤดูหนาว ค.ศ. 224-225 จักรพรรดิโจผีสั่งให้กองทหารเข้าโจมตีกำแพงที่ล้อมเมืองและนำทัพเรือ 100,000 นายด้วยพระองค์เองล่องไปตามแม่น้ำแยงซี ซุนกวนตอบโต้การบุกของวุยก๊กที่ใกล้เข้ามาด้วยการส่งกองเรือขนาดใหญ่ไปสกัดข้าศึก แม้จะมีเรื่องของขนาดกองเรือของง่อก๊กด้วย แต่จริง ๆ แล้วโจผีวิตกเรื่องสภาพอากาศและผลกระทบต่อทัพเรือวุยก๊กมากกว่า เวลานั้นเป็นฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวจัด ทัพเรือของวุยก๊กจึงยากจะรุกคืบ[5] หลังจากโจผีทอดพระเนตรเห็นแนวป้องกันของง่อก๊กและสภาพกองเรือของฝ่ายตนแล้วก็ถอนพระทัยตรัสว่า "อนิจจา! คงเป็นลิขิตสวรรค์โดยแท้ที่จะแบ่งภาคใต้แยกจากภาคเหนือ" จากนั้นจึงมีรับสั่งให้ถอยทัพออกจากเมืองกองเหลง[6] เมื่อซุนเสียวขุนพลง่อก๊กทราบเรื่องที่วุยก๊กถอยทัพ จึงสั่งให้เกา โชฺ่ว (高壽) นายทหารใต้บังคับบัญชาให้นำทหาร 500 นายเข้าโจมตีข้าศึกโดยฉับพลันในตอนกลางคืน ทัพวุยก๊กที่กำลังถอยเกิดระส่ำระสายจากการโจมตี เกา โชฺ่วและทหารยึดได้พระกลดของราชรถโจผีกลับมา
ผลสืบเนื่อง
แก้จักรพรรดิโจผีสวรรคตในปี ค.ศ. 225 พระโอรสโจยอยขึ้นสืบราชบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิวุยก๊กพระองค์ใหม่ ในปี ค.ศ. 228 จักรพรรดิโจยอยมีรับสั่งให้โจฮิวนำทัพบุกง่อก๊กอีกครั้ง นำไปสู่ยุทธการที่เซ็กเต๋ง โจฮิวพ่ายแพ้ยุทธการหลังหลงกลของจิวหองขุนพลของง่อก๊กซึ่งแสร้งทำเป็นแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊กและลวงให้ทัพวุยก๊กมาแล้วซุ่มโจมตี ในช่วง 24 ปีหลังจากนั้นทัพของวุยก๊กได้เปลี่ยนจากการเป็นฝ่ายบุกมาเป็ยฝ่ายตั้งรับ และขับไล่การบุกของง่อก๊กหลายครั้งได้สำเร็จ หลังวุยก๊กพ่ายแพ้ในยุทธการที่ตังหินในปี ค.ศ. 252 วุยก๊กก็ไม่เคยได้ดินแดนใด ๆ ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซีอีก กระทั่งวุยก๊กล่มสลายในปี ค.ศ. 265 เมื่อราชวงศ์จิ้นเข้าแทนที่วุยก๊ก ในปี ค.ศ. 280 ทัพราชวงศ์จิ้นเปิดฉากการบุกง่อก๊กครั้งใหญ่และปราบง่อก๊กได้สำเร็จ รวบรวมจีนเป็นปึกแผ่นภายในราชวงศ์จิ้น
ในวัฒนธรรมประชานิยม
แก้อุบัติการณ์ที่กองเหลงปรากฏอยู่ใน ภาคที่ 8 ของแฟรนไชส์ไดนาสตีวอริเออร์ แต่อุบัติการณ์นี้ถูกระบุว่าเป็นยุทธการ ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงที่ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์
อ้างอิง
แก้- ↑ De Crespigny, Rafe. "Online Publications" (PDF). Asian Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 June 2011. สืบค้นเมื่อ 10 April 2012.
His headquarters were established in the former capital of the commandery, and it was claimed that the army under his command was more than a hundred thousand.
- ↑ De Crespigny, Rafe. "Online Publications" (PDF). Asian Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 June 2011. สืบค้นเมื่อ 10 April 2012.
Looking at the unassailable barrier, Cao Pi sighed, "Alas. It is truly the will of Heaven which divides the south from the north." And he gave the order to withdraw.
- ↑ De Crespigny, Rafe. "Online Publications" (PDF). Asian Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 June 2011. สืบค้นเมื่อ 10 April 2012.
His headquarters were established in the former capital of the commandery, and it was claimed that the army under his command was more than a hundred thousand.
- ↑ De Crespigny, Rafe. "Online Publications" (PDF). Asian Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 June 2011. สืบค้นเมื่อ 10 April 2012.
The Wei forces, however, had evidently gained some surprise, for the defences in that area were weak. A local general, Xu Sheng, organised the preparation of dummy defence walls and turrets along the southern bank of the Yangzi from Jianye downstream to Jiangcheng, and the Wu were also able to concentrate a reasonable fleet to oppose Cao Pi.
- ↑ De Crespigny, Rafe. "Online Publications" (PDF). Asian Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 June 2011. สืบค้นเมื่อ 10 April 2012.
This time Sun Quan's forces were ready for the attack, but far more serious from Cao Pi's point of view was the weather. The winter was harsh and early, the Yangzi was partially frozen, and the ships of Cao Pi were blocked by ridges of ice along the shore, with additional danger from small bergs breaking off and floating with the current
- ↑ De Crespigny, Rafe. "Online Publications" (PDF). Asian Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 June 2011. สืบค้นเมื่อ 10 April 2012.
"Alas. It is truly the will of Heaven which divides the south from the north." And he gave the order to withdraw.