อุบล วรวรรณ

(เปลี่ยนทางจาก อุบลพรรณี แครบบ์)

อุบล วรวรรณ (อักษรโรมัน: Ubol F. Varavarn) หรือ อุบลพรรณี แคร้บบ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าอุบลพรรณี วรวรรณ (17 สิงหาคม พ.ศ. 2448 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

อุบล วรวรรณ
เกิดหม่อมเจ้าอุบลพรรณี
17 สิงหาคม พ.ศ. 2448
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต6 ธันวาคม พ.ศ. 2528 (80 ปี)
คู่สมรสเฮนรี แคร้บบ์
บิดามารดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา

อุบลถือเป็นเจ้านายฝ่ายในองค์แรกที่เสกสมรสกับชาวต่างชาติ[1][2] ทว่ามิได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการละเมิดกฎมนเทียรบาล จึงถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์[3]

พระประวัติ แก้

อุบลมีพระยศเดิมว่าหม่อมเจ้าอุบลพรรณี วรวรรณ มีพระนามลำลองว่าท่านหญิงตัด ประสูติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2448 เป็นธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์กับหม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา หม่อมเจ้าอุบลพรรณีทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษใน พ.ศ. 2472[1] โดยข้อความในลายพระหัตถ์อ้างว่าจะทรงใช้นามว่า M.C. Ubal Varavarn (หม่อมเจ้าอุบล วรวรรณ) โดยจะอยู่ในการดูแลของหม่อมเจ้าดำรัสดำรง เทวกุล และหม่อมเจ้าอรทิพยประพันธ์ เทวกุล (ขณะนั้นหม่อมจ้าดำรัสดำรงเป็นทูตในอังกฤษ)[4] เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามสมควร โดยมีเสด็จพ่อและเจ้าพี่สนับสนุนทุนรอนระหว่างเข้าศึกษา[2]

ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ทรงพบรักกับเฮนรี "แฮรี"แคร้บบ์ พนักงานบริษัทยูเนียนเวสเทิร์นเทเลกราฟจำกัด (Union Western Telegraph Ltd.) ทั้งสองสมรสกันเมื่อ พ.ศ. 2477[2] โดยมิได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการละเมิดกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสมรสพระราชวงศ์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2475 ทางรัฐบาลสยามจึงขอให้หม่อมเจ้าอุบลพรรณีเสด็จกลับประเทศ แต่หม่อมเจ้าอุบลพรรณีไม่เสด็จกลับ พร้อมกับแนบลายหัตถ์ขอลาออกจากฐานันดรศักดิ์ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นกราบทูล และทรงตอบว่า "ไม่มีอะไรที่จะทำให้เปลี่ยนพระทัย และหวังอยู่แต่ว่าจะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตต่อไป"[2] ผลคือมีพระบรมราชโองการให้ถอดหม่อมเจ้าอุบลพรรณีออกจากฐานันดรศักดิ์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2477 มีผลในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2477[3]

หลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตไปแล้ว อุบลได้ถวายงานสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีซึ่งประทับอยู่ในประเทศอังกฤษอย่างเงียบ ๆ ด้วยการตั้งเครื่องไทยถวาย[5]

อุบลพำนักอยู่ที่ต่างประเทศจนกระทั่งสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ชันษา 80 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ""รักของท่านหญิง" สำรวจความรัก-การแต่งงานของเจ้านายสตรีที่เปลี่ยนไปหลัง 2475". ศิลปวัฒนธรรม. 19 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 วีระยุทธ ปีสาลี (8 มิถุนายน 2559). "บันทึกรักท่านหญิง : ความรักและการแต่งงานของเจ้านายสตรีหลัง พ.ศ. 2475". ศิลปวัฒนธรรม (37:8), หน้า 92-93
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงวัง เรื่อง ถอดออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (0ง): 1399. 12 สิงหาคม พ.ศ. 2477. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. "ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติ หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ เตรียมตัวไปเรียนเมืองนอก (ตอนที่ 6)". แพรวดอตคอม. 9 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. พฤทธิสาณ ชุมพล, รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ (กรกฎาคม 2559). รายงานการวิจัย การสังเคราะห์ประวัติศาสตร์บอกเล่าในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 (PDF). พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า. p. 186.
  6. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28: 2379. 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)