อีวุย (ญี่ปุ่น: イーブイโรมาจิĪbuiทับศัพท์: Evui) เป็นโปเกมอนสายพันธุ์หนึ่งในแฟรนไชส์โปเกมอน สร้างโดย ซาโตชิ ทาจิริ และออกแบบโดยโมโตฟุมิ ฟูจิวาระ ปรากฏครั้งแรกในเกม โปเกมอน เรด และ บลู อีวุยปรากฏในสินค้าต่าง ๆ เกมภาคแยก รวมถึงสื่อแอนิเมชันและฉบับหนังสือของแฟรนไชส์ นอกจากนี้ยังเป็นมาสคอตของเกมและโปเกมอนเริ่มต้นใน โปเกมอน เลตส์โก! อีวุย

อีวุย
ตัวละครใน โปเกมอน
ภาพอาร์ตเวิร์กของอีวุยโดยเค็ง ซูงิโมริ
เกมครั้งแรกโปเกมอน เรดและบลู (1996)
สร้างโดยซาโตชิ ทาจิริ[1]
ออกแบบโดยโมโตฟุมิ ฟูจิวาระ[1]
เค็ง ซูงิโมริ[1]
ให้เสียงโดย
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์โปเกมอน
ประเภทปกติ

อีวุยรู้จักกันในชื่อ โปเกมอนวิวัฒนาการ ในเกมและอะนิเมะ[5] ด้วยรหัสพันธุกรรมที่ไม่เสถียร ทำให้สามารถวิวัฒนาการเป็นโปเกมอนที่แตกต่างกันถึงแปดตัว ซึ่งเรียกว่า "อีวุยลูชัน" (Eeveelutions) โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยสามร่างแรก ได้แก่ ชาวาส, ซันดาส และ บูสเตอร์ ปรากฏพร้อมกับอีวุยใน ใน โปเกมอน เรด และ บลู ต่อมาได้มีการเพิ่มวิวัฒนาการอีกห้ารูปแบบในเกม โปเกมอน ได้แก่ เอฟี, แบล็กกี, ลีเฟีย, กลาเซีย และ นิมเฟีย อีวุยเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่แฟน ๆ เนื่องจากการออกแบบตัวละครและความสามารถในการวิวัฒนาการเป็นโปเกมอนประเภทต่าง ๆ

จุดกำเนิดและลักษณะเด่น

แก้

อีวุยเป็นสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในจินตนาการที่เรียกว่าโปเกมอน ถูกสร้างขึ้นสำหรับแฟรนไชส์สื่อ โปเกมอน พัฒนาโดย เกมฟรีก และจัดจำหน่ายโดย นินเท็นโด แฟรนไชส์นี้เริ่มต้นในปี 1996 ด้วยเกม โปเกมอน เรด และ กรีน สำหรับเกมบอย ก่อนจะเปิดตัวในอเมริกาเหนือในปี 1998 ในชื่อ โปเกมอน เรด และ บลู[6] ในเกมเหล่านี้และภาคต่อ ผู้เล่นรับบทเป็นเทรนเนอร์ที่มีเป้าหมายในการจับโปเกมอนและใช้ความสามารถพิเศษของพวกมันในการต่อสู้กับโปเกมอนตัวอื่น โปเกมอนบางตัวสามารถวิวัฒนาการเป็นร่างที่แข็งแกร่งขึ้นได้ผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การสัมผัสกับไอเทมเฉพาะ[7] โปเกมอนแต่ละตัวมีได้หนึ่งหรือสองประเภท ซึ่งส่งผลต่อข้อได้เปรียบและเสียเปรียบในการต่อสู้กับโปเกมอนตัวอื่น[8] เป้าหมายหลักของเกมคือการเติมเต็มสมุดภาพโปเกมอน ซึ่งเป็นสารานุกรมโปเกมอนที่ครอบคลุม โดยการจับ วิวัฒนาการ และแลกเปลี่ยนโปเกมอนกับเทรนเนอร์คนอื่นเพื่อรวบรวมโปเกมอนทุกสายพันธุ์[7]

ระหว่างการพัฒนาเกม ซาโตชิ ทาจิริ ผู้สร้างซีรีส์ต้องการให้มีโปเกมอนที่สามารถวิวัฒนาการเป็นหลายประเภทได้ โมโตฟุมิ ฟูจิวาระ นักออกแบบกราฟิกชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ออกแบบอีวุย ซันดาส และบูสเตอร์ ขณะที่ อัตสึโกะ นิชิดะเป็นผู้ออกแบบชาวาส[1] จากนั้น เค็ง ซูงิโมริ นักออกแบบหลักได้ปรับแต่งและออกแบบขั้นสุดท้าย โดยวาดภาพประกอบตามสไปรต์ สไปรต์ ของเกมที่สร้างโดยฟูจิวาระ และนิชิดะ[1][9] ในเกมต้นฉบับของญี่ปุ่น อีวุยมีชื่อเรียกว่า Eievui ซึ่งมีคำนำหน้าคล้ายกับชื่อภาษาอังกฤษปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เกมเวอร์ชันภาษาอังกฤษจะวางจำหน่าย อีวุยเดิมทีจะถูกตั้งชื่อว่า Eon แต่ภายหลักถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Eevee ไม่นานก่อนการเปิดตัว โปเกมอนภาคเรด และ บลู เวอร์ชันภาษาอังกฤษ[10] อีวุยในเกมเป็นโปเกมอนประเภทปกติ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 18 ประเภทที่กำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนของโปเกมอน[11]

ตามวิดีโอเกม โปเกมอน อีวุยเป็นสิ่งมีชีวิตเลี้ยงลูกด้วยนม มีขนสีน้ำตาล หางพุ่มปลายสีครีม และปลอกคอขนฟูสีครีมเช่นกัน อีวุยมีดวงตาสีน้ำตาล หูใหญ่ และอุ้งเท้าสีชมพู เชื่อกันว่าอีวุยมีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่ไม่เสถียร ทำให้สามารถวิวัฒนาการเป็นโปเกมอนหลายรูปแบบได้[12] ฟูจิวาระกล่าวถึงอีวุยว่า "ฉันอยากสร้างโปเกมอนที่เป็นเหมือนกระดานชนวนเปล่า" การออกแบบของอีวุยได้รับแรงบันดาลใจจากความทรงจำในวัยเด็กของเขา รวมถึงเหตุการณ์ที่เขาหลงป่าและ "พบกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถระบุได้" ซึ่งเขาเปรียบเทียบกับ "สัตว์ขนฟูคล้ายแมวหรือสุนัข ที่มักพบเห็นได้ในชนบท" อีวุยได้รับการพากย์เสียงโดย เอริกา ชโรเดอร์ ในภาษาอังกฤษ และ ชินะมิ นิชิมุระ ในภาษาญี่ปุ่นสำหรับซีรีส์อนิเมะ ขณะที่ อะโอะอิ ยูกิ ให้เสียงของอีวุยในวิดีโอเกมต่าง ๆ ยูกิให้เสียงอีวุยในวิดีโอเกมในลักษณะเดียวกับโปเกมอนในอะนิเมะ ซึ่งมักพูดชื่อของตัวเอง เนื่องจากอีวุยมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละภาษา ยูกิจึงได้รับคำแนะนำให้ผสมผสานลักษณะของชื่อเหล่านั้นเข้าด้วยกันในพากย์เสียง[13] เดิมทีอีวุยใช้ "เสียงร้อง" ดิจิทัลในเกมภาคก่อน ๆ[14] ต่อมา ยูกิให้เสียงพากย์อีวุยในเกมโปเกมอน: เลตส์โก อีวุย! และ โปเกมอน: เลตส์โก พิคาชู! และ โปเกมอน ซอร์ด และ ชิลด์ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่โปเกมอนเลเจนด์ อาร์เซอุส เป็นต้นไป เกมได้นำ "เสียงร้อง" ดั้งเดิมจากภาคก่อนกลับมาใช้อีกครั้ง[14]

วิวัฒนาการ

แก้
 
อีวุยและวิวัฒนาการต่าง ๆ

อีวุยเป็นที่รู้จักในฐานะโปเกมอนที่มี วิวัฒนาการได้หลากหลายที่สุด หรือที่เรียกว่า "อีวุยลูชัน" (Eeveelutions)[15] โดยมีรูปแบบวิวัฒนาการที่เป็นไปได้ถึง 8 แบบ[16] ในเกมโปเกมอนรุ่นแรกที่เปิดตัวอีวุย มันเป็นโปเกมอนสายพันธุ์เดียวที่มีวิวัฒนาการแบบแยกสาขา[17] อีวุยลูชันส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบโดยอัตสึโกะ นิชิดะ ยกเว้น ซันดาส และบูสเตอร์ ซึ่งได้รับการออกแบบโดย โมโตฟุมิ ฟูจิวาระ[18] คำว่า "Eeveelution" ถูกคิดขึ้นโดยแฟน ๆ เป็นครั้งแรก และถูกใช้ในเชิงเล่นคำอย่างเป็นทางการครั้งแรกในคู่มือของเกม โปเกมอน สเตเดียม 2 จากนั้นจึงกลายเป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของกลุ่มวิวัฒนาการของอีวุย[19]

อีวุยลูชันมีทั้งหมดแปดตัว และเปิดตัวในเกมภาคต่าง ๆ ชาวาส ประเภทน้ำ ซันดาส ประเภทไฟฟ้า และ บูสเตอร์ ประเภทไฟ จากภาคแรก โปเกมอนภาคเรด และ บลู เอฟี ประเภทพลังจิต และแบล็กกี ประเภทมืด จากภาค โกลด์และซิลเวอร์ กลาเซีย ประเภทน้ำแข็ง และ ลีเฟีย ประเภทหญ้า จากภาค ไดมอนด์ และ เพิร์ล และ นิมเฟีย ประเภทนางฟ้า จากภาค X และ Y[20] อีวุยลูชัน ประเภทบินตัวที่เก้าเคยถูกวางแผนไว้สำหรับภาค ซัน และ มูน ในปี 2016 แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับการออกแบบของแฟน ๆ[21]

การปรากฏตัว

แก้

ในวิดีโอเกม

แก้

ในภาคเรด บลู และ เยลโลว์ ผู้เล่นจะได้รับอีวุยหนึ่งตัวในเมืองเซลาดอนซิตี้[22] ใน โปเกมอน เยลโลว์ เดิมทีผู้เล่นมีกำหนดจะได้รับอีวุยจาก ศาสตราจารย์โอ๊ก เป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่คู่แข่งของผู้เล่นกลับแย่งอีวุยไปก่อนที่จะได้รับมัน ด้วยเหตุนี้ ผู้เล่นจึงต้องเลือกพิคาชูป่าที่ศาสตราจารย์โอ๊คจับได้ก่อนหน้านี้เป็นโปเกมอนเริ่มต้น ขณะที่คู่แข่งของผู้เล่นจะวิวัฒนาการอีวุยเป็นหนึ่งในสามรูปแบบที่มีให้เลือก โดยขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของการเผชิญหน้ากับเขาในช่วงต้นเกม อีวุยยังคงปรากฏตัวในแทบทุกภาคหลักของซีรีส์โปเกมอน[23]

ใน โปเกมอนซัน และ มูน อีวุยได้รับความสามารถในการใช้ "แซดคริสตัล" (Z-Crystal) พิเศษที่ชื่อว่าอีเวียมแซด (Eevium Z) ซึ่งทำให้สามารถใช้ "Z-Move" พิเศษ ที่เรียกว่า เอกซ์ตรีมอีโวบูสต์ (Extreme Evoboost) ได้ ซึ่งเป็นการโจมตีที่ทรงพลังเพียงครั้งเดียว[24] ในโปเกมอน ซอร์ด และ ชิลด์ อีวุยได้รับความสามารถในการใช้ "แบบฟอร์มกิกะแมกซ์" ซึ่งเปิดใช้งานได้ผ่านกลไก "ไดนามักซ์" ของเกม ทำให้โปเกมอนมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างมากและเปลี่ยนรูปลักษณ์ การแปลงร่างนี้ทำให้อีวุยสามารถใช้ท่าโจมตีพิเศษ จีแมกซ์คัดเดิล (G-Max Cuddle) ซึ่งสร้างความเสียหายและทำให้คู่ต่อสู้ที่เป็นเพศตรงข้ามหลงใหล[25]

ในปี 2018 มีการรีเมก โปเกมอน เยลโลว์ ในรูปแบบของ Pokémon: เลตส์โก, อีวุย! และ โปเกมอน: เลตส์โก, พิคาชู! แตกต่างจากเกม โปเกมอน เยลโลว์ ดั้งเดิม ที่มีเพียงพิคาชูเท่านั้นที่สามารถเดินกับผู้เล่นนอกโปเกบอลได้ แต่ใน เกม เลตส์โก, อีวุย! อีวุยซึ่งเป็นโปเกมอนคู่หูและโปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่น ปฏิเสธที่จะอยู่ในโปเกบอล และเดินทางไปพร้อมกับผู้เล่นในโลกโอเวอร์เวิลด์[26] อีวุยคู่หูสามารถสวมใส่เครื่องประดับ เสื้อผ้า[27] และเปลี่ยน "ทรงผม"[28] ซึ่งมองเห็นได้ในโลกโอเวอร์เวิลด์ เช่นเดียวกับพิคาชู ใน เลตส์โก, อีวุย! อีวุยคู่หูปฏิเสธที่จะวิวัฒนาการ แต่สามารถเรียนรู้ท่าโจมตีพิเศษที่ไม่มีในเกมอื่น ๆ ได้ โดยมีทั้งหมด 8 ท่า แต่ละท่าขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการรูปแบบหนึ่งของอีวุย[29] นักพัฒนาเกม จูนิชิ มะสุดะ กล่าวว่าอีวุยถูกเลือกสำหรับการรีเมคเนื่องจากได้รับความนิยมในแฟนอาร์ต แม้ว่าโคดัก (Psyduck) จะเคยถูกพิจารณาแต่สุดท้ายก็ถูกตัดออกเพราะสีของมันคล้ายกับพิคาชูมากเกินไป[30]

นอกเหนือจากซีรีส์หลัก อีวุยยังปรากฏตัวในภาคแยกหลายเกม ใน โปเกมอน สเตเดียม 2 อีวุยมีมินิเกมของตัวเองชื่อ "อีเกอร์อีวุย" (Eager Eevee) ซึ่งผู้เล่นต้องวิ่งเป็นวงกลม ขณะที่เอแพม (Aipom) คอยยกและลดฝาครอบผลเบอร์รี่ เป้าหมายของเกมคือการเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่คว้าผลเบอร์รี่ได้ก่อนใคร[31] อีวุยยังปรากฏในเกมอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เกมชุด โปเกมอน มิสเตอรีดันเจียน[32] โปเกมอน คองเควสต์[33] โปเกมอน มาสเตอส์ อีเอกซ์[34] โปเกมอน โก[35] โปเกมอน ยูไนต์[36] และนิว โปเกมอน สแนป[37] นอกจากนี้ อีวุยยังเป็น โปเกมอนตัวแรกที่ผู้เล่นได้รับ ใน คองเควสต์ และ โปเกมอน เอกซ์ดี: เกลออฟดาร์กเนส[33]

ในสื่ออื่น

แก้

ในอนิเมะ อีวุยปรากฏตัวครั้งแรกในตอน The Battling Eevee Brothers เด็กชายชื่อ ไทชิ (ไมกี้) ซ่อน อีวุย จากพี่ชายทั้งสามของเขา เพราะพวกเขาต้องการให้มันวิวัฒนาการ อย่างไรก็ตาม เมื่ออีวุยของไทชิสามารถเอาชนะแก๊งร็อคเก็ตได้ด้วยตัวเอง พี่ชายของเขาก็ยอมรับและเข้าใจว่าไทชิต้องการให้อีวุยอยู่ในร่างเดิม[38] ชิเงะรุ (แกรี โอ๊ก) คู่แข่งคนสำคัญของซาโตชิ (แอช) ใช้อีวุย ซึ่งในภายหลังวิวัฒนากสนเป็นแบล็กกี[39] เหล่าสาวกิโมโนที่ปรากฏตัวครั้งแรกในเกม โปเกมอนโกลด์ และ ซิลเวอร์ ต่อมาได้ปรากฏตัวพร้อมกับอีวุยลูชันของพวกเธอ[40] เด็กสาวกิโมโนที่อายุน้อยที่สุดมีอีวุยที่ยังไม่วิวัฒนาการ แต่ต่อมาในซีรีส์ อีวุยของเธอได้วิวัฒนาการเป็นเอฟี[41] ฮารุกะ (เมย์) มีอีวุยที่ฟักออกมาจากไข่ และเธอใช้มันในการแข่งขันโปเกมอนคอนเทสต์ทั่วภูมิภาคคันโต ต่อมาเมื่อเธอเดินทางไปยังภูมิภาคชินโอ อีวุยของเธอได้วิวัฒนาการเป็นเกลเซีย[39] ใน โปเกมอน เดอะซีรีส์ XY เซเรน่าได้รับอีวุยของเธอเอง ซึ่งต่อมาวิวัฒนาการเป็นนิมเฟีย[39] ใน โปเกมอน เดอะซีรีส์: ซันแอนด์มูน ซุยเรน (ลานา) จับอีวุยขนยาวและมีชื่อเล่นว่านะงิสะ (แซนดี)[42] ต่อมาในอนิเมะ อีวุยอีกตัวที่เป็นของตัวละครโคะฮะรุ ซะกุระงิ (โคลอี้ เซอรีส) ถูกพบว่าไม่สามารถวิวัฒนาการได้ แม้ว่าสาเหตุจะยังไม่แน่ชัด แต่ตัวละครอื่น ๆ สันนิษฐานว่าเป็นเพราะ ความลังเลใจว่าจะวิวัฒนาการเป็นร่างใด[39][42]

อีวุยปรากฏตัวช่วงสั้น ๆ ในโปเกมอน ยอดนักสืบพิคาชู โดยอยู่ภายใต้การครอบครองของฮาวเวิร์ด คลิฟฟอร์ด และถูกบังคับให้วิวัฒนาการเป็นบูสเตอร์[43] ใน โปเกมอน สเปเชียล เรดได้ครอบครองอีวุยที่ถูกแก๊งร็อคเก็ตนำไปทดลอง ทำให้มันสามารถวิวัฒนาการไปมาระหว่าง ชาวาส ซันดาส และ บูสเตอร์ ได้ตามต้องการ ซึ่งช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการต่อสู้ อย่างไรก็ตาม ในที่สุด อีวุยของเรดได้วิวัฒนาการเป็นเอฟี และสูญเสียความสามารถพิเศษในการเปลี่ยนร่างไปมานี้[44] อีวุยและวิวัฒนาการของมันปรากฏใน เกมการ์ดโปเกมอน[45][46] นอกจากนี้ยังปรากฏใน แอนิมอลครอสซิง: พ็อกเก็ตแคมป์[47] และซีรีส์ ซูเปอร์สแมชบราเธอส์[19]

ในการทดลองทางสังคม แบบ ระดมทรัพยากรจากกลุ่มคน ที่เรียกว่า ทวิตช์เพลส์โปเกมอน กลายเป็นต้นเหตุของความหงุดหงิดในหมู่ผู้เล่น เมื่อพยายามวิวัฒนาการให้เป็นชาวาสเพื่อเรียนรู้ท่า "โต้คลื่น" (Surf) แต่กลับใช้หินไฟโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้อีวุยวิวัฒนาการเป็นบูสเตอร์ ความผิดพลาดนี้ทำให้บูสเตอร์ถูกขนานนามว่า "ศาสดาเท็จ" และกลายเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่โด่งดังที่สุดของเหตุการณ์นี้[48]

การโปรโมทและการตอบรับ

แก้
 
มาสคอตของอีวุยในงานนินเท็นโด อีวุยได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นโปเกมอนยอดนิยมและคงอยู่ยาวนานนับตั้งแต่เปิดตัว

ด้วยความนิยมของอีวุยและวิวัฒนาการของมัน จึงมักถูกนำมาใช้ในสินค้าต่าง ๆ ของโปเกมอน เช่น ของเล่น[49] อีวุยยังเป็นส่วนหนึ่งของชุดฟิกเกอร์โปเกมอนที่วางจำหน่ายสำหรับ โปเกมอน รัมเบิล ยู โดยไอจีเอ็นขนานนามว่าเป็น "ตัวโปรดของแฟน ๆ"[50] นินเท็นโด 3ดีเอส รุ่นพิเศษธีมอีวุยถูกเปิดตัวในญี่ปุ่นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 15 ปีของร้าน โปเกมอนเซ็นเตอร์[51] ในทำนองเดียวกัน นินเท็นโด สวิตช์ รุ่นพิเศษที่มีอีวุยก็ได้รับการเปิดตัวเช่นกัน[52] นอกจากนี้ อีวุยยังเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ของนินเท็นโดที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้รับโปเกมอนพิเศษที่ถูกแจกจ่ายในงาน (ตัวอย่างหนึ่งการแจกอีวุยร่างไชนี่)[53] อีวุยเป็นหนึ่งในโปเกมอนรุ่นแรกที่มีดีวีดีพิเศษซึ่งมีตอนเด่นของตัวเองในช่วงครบรอบ 10 ปีของแฟรนไชส์โปเกมอน[54] นอกจากนี้ อีวุยและวิวัฒนาการของมันยังปรากฏอยู่บนด้านข้างของเครื่องบินเจ็ตด้วย[55]

แม้ว่าอีวุยจะไม่ได้รับการโปรโมตมากเท่ากับโปเกมอนตัวอื่นในช่วงแรก แต่ความนิยมของมันได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา และปัจจุบัน อีวุยกลายเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่โด่งดังและเป็นสัญลักษณ์ของซีรีส์[56] อีวุยและวิวัฒนาการของมันได้รับการตอบรับในเชิงบวกโดยทั่วไป[57][58][59] และยังถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในโปเกมอนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสำนักงานของบริษัทโปเกมอน[60] แฟนๆ ชาวญี่ปุ่นได้กำหนดให้วันที่ 21 พฤศจิกายนให้เป็น "วันอีวุย" เนื่องจากการออกเสียงของวันที่คล้ายกับชื่อภาษาญี่ปุ่นของอีวุย Eievui[33] ตั้งแต่นั้นมา บริษัทโปเกมอนได้กำหนดให้วันอีวุยเป็นวันสำคัญอย่างเป็นทางการ[61][62] และต่อมา สมาคมวันครบรอบของญี่ปุ่นก็ได้รับรองให้เป็นวันสำคัญอย่างเป็นทางการเช่นกัน[62][63] อีวุยได้รับการยกย่องว่าเป็นโปเกมอน "ขวัญใจแฟน ๆ" และกลายเป็นหนึ่งในตัวละครหลักของแฟรนไชส์ เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง[64]

กีทา แจ็กสัน จากเว็บไซต์โคทาคุ แสดงความคิดเห็นว่าอีวุยเป็นสัญลักษณ์ของการเติบโต โดยกล่าวว่า "พวกมันเป็นเหมือนกระดานชนวนที่ว่างเปล่า อีวุยคือช่วงเวลาก่อนที่คุณจะก้าวออกจากประตูและเริ่มต้นการผจญภัย พวกมันเป็นตัวแทนของความไร้เดียงสาแห่งการยังไม่รู้ว่าคุณเป็นใคร และความตื่นเต้นในการค้นพบตัวเอง" พวกเขายังเน้นว่า ศักยภาพของอีวุยทำให้การวิวัฒนาการเป็นเรื่องน่าเศร้า เพราะหมายถึงการสูญเสียเอกลักษณ์ที่ทำให้อีวุยพิเศษ[65] วิวัฒนาการของอีวุย และความสามารถในการปรับตัวตามเนื้อเรื่องของเกม ถูกเน้นว่า สะท้อนแนวคิดเรื่องวิวัฒนาการในโลกแห่งความเป็นจริง และได้รับการยกย่องว่าเป็น การตีความปรากฏการณ์นี้ได้อย่างสมจริงอย่างน่าทึ่ง[66] โจชัว เยล นักเขียนจากไอจีเอ็น เน้นย้ำถึงความนิยมและเสน่ห์ที่เข้าถึงผู้คนได้ง่ายของอีวุย ซึ่งเป็นผลมาจากการออกแบบที่น่าดึงดูดใจ ความเก่งกาจของอีวุยในเกม รวมถึง ดีไซน์ที่น่ารัก ถูกยกให้เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้มันยังคงได้รับความนิยมในหมู่แฟน ๆ มาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ ความหลากหลายของการออกแบบทำให้อีวุยได้รับแฟนอาร์ตและผลงานสร้างสรรค์จากแฟน ๆ จำนวนมาก ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นผลมาจาก แรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ที่ดีไซน์ของอีวุยมอบให้กับผู้คน[33]

การปรากฏตัวของอีวุยใน โปเกมอน: เลตส์โก พิคาชู! และโปเกมอน: เลตส์โก อีวุย! ได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวก โฮป คอร์ริแกน นักเขียนจาก เกมเรโวลูชัน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอีวุยในเกม โดยเธอเน้นถึงฉากที่อีวุยขัดจังหวะการเลือกโปเกมอนครั้งแรกของผู้เล่น ซึ่งทำให้เธอรู้สึกหวนคิดถึงช่วงวัยเด็กทันทีเมื่อครั้งที่เธอใช้อีวุยในการเล่นเกม แม้จะวิจารณ์เรื่องพลังของอีวุยในเกม เธอก็ชื่นชม อารมณ์และความผูกพันที่มันมอบให้ โดยกล่าวว่า "ถึงแม้เธอจะมีพลังเหนือกว่าตัวอื่น แต่อีวุยก็เป็นของฉัน และเธอก็รักฉันมาตั้งแต่แรกเริ่ม ฉันรู้ว่าเธอเป็นแค่พิกเซลเล็ก ๆ ในโลกเสมือนจริง แต่เธอก็คืออีวุยของฉัน และหลังจากผ่านไปหลายปี ฉันก็ไม่พร้อมที่จะสละสิ่งนั้นไป"[67] เจนนี ลาดา นักเขียนจาก Siliconera เน้นย้ำถึงการปรากฏตัวของอีวุยในเกม พร้อมชื่นชมบทบาทที่ขยายมากขึ้น เธอยังกล่าวถึงการโต้ตอบและช่วงเวลาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผู้เล่นสามารถมีร่วมกับอีวุย โดยระบุว่าสิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้เล่นเกิดความผูกพันกับโปเกมอนได้ง่าย[68]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Morrissy, Kim (10 September 2018). "Pokémon Designers Reflect on History of Eevee's Design". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-26. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
  2. "I'm comin' to @ninja_xchange in Carlsbad, CA near San Diego Jan 6th! One day only. Can't wait to see you all! 3rd pic, first sign on a Yugioh DMG coin and 4th, a beautiful drawing of Akiza from a recent event in LA. I LOVE your fan art and unique items. Keep 'em comin' and get jazzed for the New Year!". Facebook. November 14, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2024. สืบค้นเมื่อ March 26, 2024.
  3. Nelkin, Sarah (June 27, 2013). "Pokémon's Mewtwo ~Kakusei e no Prologue Trailer Streamed". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2016. สืบค้นเมื่อ March 26, 2024.
  4. "Pokemon: Let's Go Pikachu/Eevee - Masuda talks Eevee voice actor, keeping things kid-friendly, doing away with established ideas, and more". GoNintendo. November 14, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2022. สืบค้นเมื่อ November 16, 2018.
  5. Barbo, Maria S. (1999). The Official Pokémon Handbook. Scholastic. ISBN 0439103975.
  6. Hilliard, Kyle (December 25, 2016). "Pokémon Red & Blue – A Look Back At The 20-Year Journey To Catch 'Em All". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2023. สืบค้นเมื่อ January 22, 2024.
  7. 7.0 7.1 Allison, Anne (May 2006). Millennial Monsters: Japanese Toys and the Global Imagination. University of California Press. pp. 192–197. ISBN 9780520938991.
  8. Pokémon Deluxe Essential Handbook. Scholastic Inc. July 28, 2015. p. 5. ISBN 9780545795661.
  9. Bishop, Stuart (2003-05-30). "Game Freak on Pokémon!". CVG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-16. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07.
  10. Williams, Leah (October 22, 2020). "Eevee Originally Had A Different Name That Makes Way More Sense". Kotaku Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2022. สืบค้นเมื่อ July 15, 2021.
  11. Caballero, David; Brown, Aleisha (2022-11-22). "18 Cutest Pokémon of All Time, Ranked". Collider (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-04. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  12. Bowen, Tom (2021-02-26). "Pokemon: 10 Things You Never Knew About Eevee". Game Rant (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-11. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.
  13. Wong, Alistair (2018-11-15). "Pokemon: Let's Go Director Junichi Masuda On Why New Characters, 2P Mode, And More". Siliconera (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-26. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  14. 14.0 14.1 Agossah, Iyane (2022-02-02). "Pikachu Fans Moved as Pokemon Legends Arceus Brings Back Digital Cry". DualShockers (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  15. "EVs+ cafe - Pokemon.jp". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-27.
  16. Bowen, Tom (2020-11-25). "Every Pokemon With Branched Evolutions". Game Rant (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  17. "Eevee - Pokemon Red, Blue and Yellow Wiki Guide". IGN (ภาษาอังกฤษ). 27 March 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  18. Nishida, Atsuko [@atsuko_nishida] (October 5, 2016). "イーブイ、サンダース、ブースターは藤原さんデザインです。他、現在出ているブイズはにしだがデザインいたしました。ブラッキー推しありがとうございますm(_ _ )m !" (ทวีต) (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  19. 19.0 19.1 Pelliccio, Meg (2020-08-13). "Pokémon Sword & Shield: Where To Find Eevee (& 9 Other Things You Didn't Know About It)". TheGamer (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-03-08.
  20. Thomas, Lucas M. (2013-02-14). "Pokémon X and Y's New Eeveelution Revealed". IGN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-03. สืบค้นเมื่อ 2024-03-08.
  21. "The Pokémon Leaks Reveal That We Almost Had A Ninth Eevee Evolution". Kotaku (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-30. สืบค้นเมื่อ 2024-11-26.
  22. Madrigal, Hector (2012-03-27). "Celadon City - Pokemon Red, Blue and Yellow Guide". IGN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-18. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  23. Friend, Devin Ellis (2022-10-06). "Pokémon Yellow Features That Scarlet & Violet Should Totally Steal". ScreenRant (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-29. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  24. Christopher, Michael (August 30, 2020). "Pokémon: 10 Things You Didn't Know About The Eevee-lutions". TheGamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2021. สืบค้นเมื่อ January 20, 2021.
  25. "New Gigantamax Pokémon revealed in Pokémon Sword and Pokémon Shield". nintendo.com. October 16, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2021. สืบค้นเมื่อ January 20, 2021.
  26. Frank, Allegra (2018-05-29). "Pokémon Let's Go! launches on Nintendo Switch in November". Polygon (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-30. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  27. "Pokemon: Let's Go, Pikachu! and Let's Go, Eevee! partner Pokemon accessories gameplay". Gematsu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-06-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  28. "Pokemon Let's Go | How To Change Pikachu And Eevee Hairstyles | Pikachu / Eevee". GameWith (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 21 May 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  29. Frank, Allegra (2018-11-15). "Should you choose Pokémon: Let's Go, Pikachu or Eevee?". Polygon (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  30. Farokhmanesh, Megan (2018-05-30). "Eevee's starring role in Pokémon: Let's Go was inspired by fan art". The Verge (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-30. สืบค้นเมื่อ 2022-04-26.
  31. "The Games of Pokemon GS: Part 2". IGN. December 21, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2010-09-29.
  32. Whaling, Jacob (2021-07-18). "Pokemon Mystery Dungeon DX: How To Get Evolution Crystals". TheGamer (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-19. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 Yehl, Joshua (2018-11-14). "How Eevee Evolved Into a Pokemon Sensation". IGN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-04. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.
  34. rawmeatcowboy (2023-11-15). "Pokémon Masters EX 'Let's Go in Search of Wonder' event announced". GoNintendo (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-06. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  35. Mastro, Max (July 14, 2021). "Pokémon GO's Most Popular Buddies Include Eevee, Mewtwo, & Magikarp". ScreenRant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2022. สืบค้นเมื่อ July 15, 2021.
  36. Wray, Chris (July 5, 2020). "Pokémon Unite is the Right Game at the Right Time". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2022. สืบค้นเมื่อ July 15, 2021.
  37. Maher, Cian (30 April 2021). "New Pokemon Snap: All Eeveelutions Locations". TheGamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2022. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
  38. "The Battling Eevee Brothers". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 40. October 27, 1998. Various.
  39. 39.0 39.1 39.2 39.3 Switzer, Eric (2022-03-15). "New Eeveelution Has Already Been Practically Confirmed By The Anime". TheGamer (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-27. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  40. "Trouble's Brewing". Pokémon. ฤดูกาล The Johto Journeys. ตอน 183. February 1, 2001. Various.
  41. "Espeon, Not Included". Pokémon. ฤดูกาล The Johto Journeys. ตอน 226. February 1, 2001. Various.
  42. 42.0 42.1 Switzer, Eric (2022-05-31). "Pokemon Is Sending Some Real Mixed Messages About The Next Eeveelution". TheGamer (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-04. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  43. "New Detective Pikachu trailer introduces a fluffy Flareon and a terrifying Mewtwo". channelnewsasia.com (ภาษาอังกฤษ). 27 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2022.
  44. King, Samantha (2024-03-03). "Team Rocket Used Eevee's Evolution Ability in the Most Twisted Way". ScreenRant (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-04. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.
  45. "The Seven Stages of Eevee (Deck building is a breeze with the Eevee evolutions found in Diamond & Pearl—Majestic Dawn)". www.pokemon.com. October 10, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2010. สืบค้นเมื่อ October 15, 2010.
  46. "Every Eevee Evolution is available in Sword & Shield-Evolving Skies Expansion". 10 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
  47. "Here Are All The Eevee Pokemon Animal Crossing: Pocket Camp Event Items". Siliconera (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-10-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2024-03-08.
  48. Prell, Sam (February 22, 2014). "Twitch Plays Pokemon: Its history, highlights and Bird Jesus". Joystiq. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2014. สืบค้นเมื่อ April 3, 2014.
  49. "Japan Gets Line of Eevee Merchandise". The Pallet Tribune. November 11, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2010. สืบค้นเมื่อ October 15, 2010.
  50. Karmali, Luke (15 April 2013). "More Pokémon Rumble U Figures Revealed". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2022. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.
  51. Martin, Liam (15 May 2013). "Eevee-themed Pokémon 3DS announced for Japan". Digital Spy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2019. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.
  52. Reed, Chris. "Nintendo Announces Switch Pikachu & Eevee Edition". GameSpot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-07. สืบค้นเมื่อ 2024-03-08.
  53. Gudmundson, Carolyn (April 14, 2010). "2010 Pokemon Championships announced, plus Shiny Eevee giveaway (!!!)". GamesRadar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15.
  54. "Pokemon 10th Anniversary Edition – Vol. 6: Eevee DVD". cduniverse. October 24, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15.
  55. "ANA and The Pokémon Company Unveil the "Eevee Jet NH" | Press Release | ANA Group Corp.'s Information". www.anahd.co.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-27. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.
  56. York, Marc (2023-11-20). "Japan's Eevee Day". CBR (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-22. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.
  57. "Pokémon Crystal Version: Pokemon of the Day: Eevee". IGN. IGN Entertainment. 1999-11-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-12-25. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15.
  58. Vassar, Darryl (April 20, 2007). "The complete Pokémon Diamond and Pearl pokédex, part 8". GamesRadar. Future Publishing. p. 7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 26, 2022. สืบค้นเมื่อ April 6, 2019.
  59. DeVries, Jack (May 20, 2010). "Pokemon: Kristine Catches 'em All". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2010. สืบค้นเมื่อ November 3, 2010.
  60. Kaluszka, Aaron (2010-05-31). "Pokémon Interview with J.C. Smith". Nintendo World Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-26. สืบค้นเมื่อ 2010-11-03.
  61. "Pokémon Celebrates 'Eevee Day' with a slew of events". WVNS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-11-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-04. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.
  62. 62.0 62.1 "Japan kicks off Eevee Day celebration with multiple game events". Yahoo News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-11-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-04. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.
  63. "正式認定!11月21日は「イーブイの日」!!". PR Times (ภาษาญี่ปุ่น). November 21, 2018. สืบค้นเมื่อ February 26, 2025.
  64. Bashir, Dale (2021-03-04). "The 25 Most Important Pokemon That Impacted the Franchise's History". IGN Southeast Asia (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-21. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.
  65. Jackson, Gita (11 September 2018). "Eevee Is What Pokémon Is All About". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2022. สืบค้นเมื่อ 15 July 2021.
  66. Greenbaum, Aaron (2021-09-01). "Why Eevee Is the Most Realistic Pokémon Ever". Den of Geek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-02-14. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.
  67. Corrigan, Hope (2018-12-16). "[Best of 2018] Pokemon Let's Go Eevee Made Me Ugly Cry in a Good Way". GameRevolution (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.
  68. "Pokemon: Let's Go, Eevee! Makes Pokemon Feel Like Important And Useful Friends". Siliconera (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-11-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-31. สืบค้นเมื่อ 2024-03-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้