อี๋ชินหวัง ซึ่งมีพระนามเดิมว่าอิ้นเสียง (จีน: 胤祥: 16 พฤศจิกายน 1686 – 18 มิถุนายน 1730) เป็นเจ้าชายในราชวงศ์ชิง และเป็นอ๋องพระมาลาเหล็กในตำแหน่งอี๋ชินหวังเป็นพระองค์แรก

อิ้นเสียง
Yinxiang
อี๋ชินหวัง
ดำรงพระยศ1722 - 1730
ก่อนหน้า-
ถัดไปหงเสี่ยว
ประสูติ16 พฤศจิกายน 1686
สิ้นพระชนม์18 มิถุนายน 1730 (ชันษา 43 ปี 214 วัน)
พระนามเต็ม
อ้ายซินเจว๋หลัว อิ้นเสียง (愛新覺羅 胤祥)
ราชวงศ์ชิง
พระราชบิดาจักรพรรดิคังซี
พระราชมารดาจิ้งหมิ่นหวงกุ้ยเฟย์ สกุลจางเจีย

ประวัติ

แก้

อิ้นเสียงเกิดในราชสกุลอ้ายซินเจว๋หลัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 22 ของจักรพรรดิคังซี แต่เป็นพระองค์ที่ 13 ที่เติบโตจนเป็นผู้ใหญ่ พระมารดาของพระองค์คือจิ้งหมิ่นหวงกุ้ยเฟย์ สกุลจางเจีย ซึ่งเป็นธิดาของนายทหารชั้นสูงในกองธงขลิบเหลือง เมื่อพระชันษาได้ 14 ปี พระมารดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหรินจึงอบรมเลี้ยงดูพระองค์ต่อมา เนื่องจากพระองค์ทรงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเลือกรัชทายาทของจักรพรรดิคังซี โดยพระองค์สนับสนุนองค์ชาย อิ้นเจิง ให้เป็นรัชทายาทมาตั้งแต่แรก ซึ่งในตอนนั้นตำแหน่งรัชทายาทเป็นของอิ้นเหริง พระองค์ทรงเห็นว่า อิ้นเจิง นั้นมีคุณสมบัติมากว่า อิ้นเหริง จักรพรรดิคังซีทรงไม่พอพระทัย พระองค์จึงถูกพระบิดาสั่งคุมขังนานนับ 10 ปี

เมื่อเจ้าชายอิ้นเจินขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิยงเจิ้ง อิ้นเสียงได้ถูกปล่อยตัวออกมาและได้เข้ารับราชการ จักรพรรดิยงเจิ้งได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ของพระองค์เป็น เหอซั่วอี๋ชินหวัง อิ้นเสียงเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันของจักรพรรดิยงเจิ้งและทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อช่วยจักรพรรดิในการบริหารราชการ แม้จะทุกข์ทรมานจากสุขภาพที่ไม่ดี ในปี ค.ศ. 1725 อิ้นเสียงถูกส่งไปดูแลปัญหาน้ำ รวมทั้งการควบคุมน้ำท่วมและการขนส่ง พระองค์ได้ประชวรจึงต้องเสด็จกลับเมืองหลวงปักกิ่งในเวลาต่อมา

อิ้นเสียงสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคที่คล้ายกับหอบหืดและวัณโรคปอดในปี ค.ศ. 1730 จักรพรรดิยงเจิ้งทรงเสียพระทัยอย่างมาก อิ้นเสียงเป็นพระอนุชาที่ได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปลี่ยนพระนามจาก อิ้น เป็น หยุน และฐานันดรศักดิ์ของพระองค์ยังได้ถูกบรรจุในอ๋องพระมาลาเหล็ก พระโอรสของพระองค์จึงได้สืบฐานันดรศักดิ์ต่อมา

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้
  • พระราชบิดา : จักรพรรดิคังซี
  • พระราชมารดา : จิ้งหมิ่นหวงกุ้ยเฟย์ สกุลจางเจีย
  • พระชายาเอก
    • พระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
  • พระชายารอง
    • พระชายารอง สกุลฟู่ฉา
    • พระชายารอง สกุลอูซู
    • พระชายารอง สกุลกัวเอ่อร์เจีย
  • พระอนุชายา
    • พระอนุชายา สกุลสือเจีย
    • พระอนุชายา สกุลน้าล่า
  • พระโอรส
    • เจ้าชายหงฉาง (弘昌, 1706 - 1771) อี่เก๋อเป้ยเล่อ (已革貝勒) โอรสในพระชายารอง สกุลกัวเอ่อร์เจีย
    • เจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (1708 - 1709) โอรสในพระอนุชายา สกุลสือเจีย
    • เจ้าชายหงถุน (弘暾, 1710 - 1728) เป้ยเล่อ (貝勒) โอรสในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าชายหงเจี่ยว (弘晈, 17 มิถุนายน 1713 - 9 กันยายน 1764) หนิงเหลียงจวิ้นหวัง (寧良郡王,1730-1764) โอรสในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าชายหงก่วง (弘㫛, 1716) โอรสในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าชายหงฉิ่น (弘昑, 1716 - 1729) เป้ยเล่อ (貝勒) โอรสในพระชายารอง สกุลอูซู
    • เจ้าชายหงเสี่ยว (弘曉, 23 พฤษภาคม 1722 - 11 พฤษภาคม 1778) เหอซั่วอี๋ซีชินอ๋อง (和硕怡僖親王,1730-1778) โอรสในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าชายโซ่วเอิน (綬恩, 1725) โอรสในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าชายอามู่ซานหลาง (阿穆珊琅, 1726 - 1727) โอรสในพระอนุชายา สกุลน้าล่า
  • พระธิดา
    • เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1703 - 1776) ธิดาในพระชายารอง สกุลกัวเอ่อร์เจีย
    • เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1707 - 1726) ธิดาในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย
    • เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1710 - 1711) ธิดาในพระชายารอง สกุลฟู่ฉา
    • เจ้าหญิงเหอซั่วเหอฮุ่ยกงจวู่ (和碩和惠公主,1714 - 1731) ธิดาในพระชายาเอก สกุลเจ้าเจีย

อ้างอิง

แก้
ก่อนหน้า อิ้นเสียง ถัดไป
  อี๋ชินหวัง
(ค.ศ. 1722 - 1730)
  หงเสี่ยว