อิสยาห์ 6 (อังกฤษ: Isaiah 6) เป็นบทที่ 6 ของหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หนังสืออิสยาห์ประกอบด้วยเนื้อหาคำเผยพระวจนะซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ และเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในหมวดหนังสือผู้เผยพระวจนะ[1] บทที่ 6 ของหนังสืออิสยาห์บันทึกถึงการทรงเรียกอิสยาห์ให้เป็นผู้ส่งสารของพระเจ้ามาถึงประชาชนอิสราเอล[2]

อิสยาห์ 6
ม้วนหนังสืออิสยาห์ ม้วนคัมภีร์ไบเบิลที่พบที่คุมรานตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่เก็บรักษาอย่างดีที่สุด มีทุกวรรคของบทนี้
หนังสือหนังสืออิสยาห์
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู5
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์23

ต้นฉบับ

แก้

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 13 วรรค

พยานต้นฉบับ

แก้

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[3]

ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่:[4]

  • 1QIsaa: สมบูรณ์
  • 4QIsaa (4Q55): วรรคที่หลงเหลือ: 4–7
  • 4QIsaf (4Q60): วรรคที่หลงเหลือ: 3–8, 10–13

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B;  B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK:  S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A;  A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q;  Q; ศตวรรษที่ 6)[5]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม

แก้

การอ้างอิงในพันธสัญญาใหม่

แก้

นิมิตของอิสยาห์เกี่ยวกับพระยาห์เวห์ (6:1–7)

แก้

วรรค 1

แก้
ในปีที่กษัตริย์อุสซียาห์สิ้นพระชนม์ ข้าพเจ้าเห็นองค์เจ้านายประทับบนพระที่นั่งอันสูงส่งและรับการเทิดทูน และชายฉลองพระองค์ของพระองค์เต็มพระวิหาร[7]
  • การอ้างอิงข้าม: 2 พงศาวดาร 26:16–21

ปีที่อุสซียาห์สิ้นพระชนม์ได้รับการประมาณว่าอยู่ราวปี 740 ปีก่อนคริสตกาล[8][9] นักโบราณคดีวิลเลียม เอฟ. อัลไบรต์ (William F. Albright) ระบุช่วงเวลารัชสมัยของอุสซียาห์เป็น 783 – 742 ปีก่อนคริสตกาล[10]

วรรค 2

แก้
 
ภาพวาดของเสราฟิม
เหนือพระองค์มีพวกเสราฟิมยืนอยู่ แต่ละองค์มีปีก 6 ปีก ใช้ 2 ปีกปิดหน้า ใช้ 2 ปีกปิดเท้า และใช้ 2 ปีกบินไป[11]

วรรค 3

แก้
ต่างก็ร้องต่อกันและกันว่า
"บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ พระยาห์เวห์จอมทัพ
แผ่นดินโลกทั้งสิ้นเต็มด้วยพระสิริของพระองค์"[12]

ภารกิจของอิสยาห์จากพระยาห์เวห์ (6:8–13)

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Theodore Hiebert, et al. 1996. The New Interpreter's Bible: Volume VI. Nashville: Abingdon.แม่แบบ:ISBN?แม่แบบ:Page?
  2. Kidner 1994, p. 637.
  3. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  4. Ulrich 2010, p. 338-340.
  5. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  6. Alexander, Loveday (2007). "62. Acts". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. p. 1061. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  7. อิสยาห์ 6:1 THSV11
  8. Edwin R. Thiele, The Mysterious Numbers of the Hebrew Kings (3rd ed.; Grand Rapids, MI: Zondervan/Kregel, 1983) 217
  9. Cambridge Bible for Schools and Colleges on Isaiah 6, accessed 11 March 2018
  10. Albright, William F. (1945). "The Chronology of the Divided Monarchy of Israel." Bulletin of the American Schools of Oriental Research. No. 100 (Dec., 1945), pp. 16–22.
  11. อิสยาห์ 6:2 THSV11
  12. อิสยาห์ 6:3 THSV11

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ศาสนายูดาห์

แก้

ศาสนาคริสต์

แก้