อิบลีส (อาหรับ: إِبْلِيس; บางครั้งทับศัพท์เป็น เอ็บลีส (Eblis)[1] หรือ อิบรีส (Ibris))[2] เป็นสิ่งมีชีวิตในอัลกุรอาน มักพบในความสัมพันธ์กับการสร้างอาดัม และถูกสั่งให้กราบต่อหน้าเขา หลังจากมันปฏิเสธ ก็ถูกขับไล่ออกจากสวรรค์ นักวิชาการอิสลามยุคคลาสสิกหลายท่านกล่าวว่า มันเคยเป็นมลาอิกะฮ์มาก่อน[3][4]: 73 [5] แต่นักวิชาการในยุคเดียวกันส่วนใหญ่ถือว่ามันเป็นญิน[4]: 69  เนื่องจากพระเจ้าทอดพระเนตรว่ามันไม่มีมารยาท จึงถูกเทียบเป็นซาตานในธรรมเนียมศาสนาคริสต์ ในธรรมเนียมอิสลาม อิบลีสมักถูกเรียกเป็น ชัยฏอน ("มารร้าย") ซึ่งตามมาด้วยคำคุณศัพท์ว่า อัรเราะญีม (อาหรับ: ٱلرَّجِيْم; ผู้ถูกสาปแช่ง)[6] อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ ชัยฏอน ถูกใช้เป็นแรงขับเคลื่อนที่ชั่วร้าย ตัวอิบลีสมีบทบาทในธรรมเนียมอิสลามมากกว่า[7]

ชื่อและศัพทมูลวิทยา

แก้

คำว่า อิบลีส (อาหรับ: إِبْلِيس) น่าจะเป็นรากของ ب-ل-س (ความหมายแบบกว้างคือ "คงอยู่ในความเศร้าโศก")[8] หรือ بَلَسَ (บะละซะ "เขาที่หมดหวัง")[9] ที่มากไปกว่านั้น ชิ่อนี้ดูใกล้เคียงกับ ตับลิส ที่แปลว่าสับสน[10] อีกความเป็นไปได้หนึ่งมาจากภาษากรีกโบราณว่า διάβολος (diábolos) ผ่านทางภาษาซีรีแอก[11] ซึ่งเป็นต้นตอของคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า 'devil' (มาร)[12] อย่างไรก็ตาม ไม่มีการยืนยันว่ารากศัพท์ของคำนี้มาจากไหน ชื่อของมันไม่พบในวรรณกรรมภาษาอาหรับที่เขียนก่อนการมาของอัลกุรอาน[13] แต่สามารถพบได้ในกิตาบ อัลมะกาลล์ คัมภีร์นอกสารบบของศาสนาคริสต์ที่เขียนด้วยภาษาอาหรับ[14]

ในธรรมเนียมอิสลาม, อิบลีส มีชื่อและตำแหน่งอื่นเป็นจำนวนมาก เช่น อะบูมุรเราะฮ์ (أَبُو مُرَّة, "บิดาแห่งความขมขื่น") โดยคำว่า "มุรร์" - แปลว่า "ขมขื่น", อุดูวุลลอฮ์ (عُدُوّ الله, "ศัตรูหรือปรปักษ์" ต่ออัลลอฮ์)[15] และ อบูลฮาริษ (أَبُو الْحَارِث, "บิดาแห่งผู้ไถ")[16] มันเป็นที่รู้จักในชื่อเล่นว่า "อะบูกัรดูส" (أَبُو كَرْدُوس) ซึ่งอาจแปลว่า "บิดาผู้สะสม, อัด หรือเบียดเสียดด้วยกัน"

เทววิทยา

แก้

ถึงแม้ว่าอิบลีสถูกเทียบกับมารในเทววิทยาศาสนาคริสต์ อิสลามปฏิเสธว่าซาตานเป็นศัตรูของพระเจ้า อิบลีสไม่ได้กลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาเพราะการไม่เชื่อฟัง แต่เพราะอ้างความอยุติธรรมต่อพระเจ้า โดยยืนกรานว่า การสั่งให้กราบต่อหน้าอาดัมเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม[17] ไม่มีสัญญาณของการก่อกบฏของเทวทูตในอัลกุรอาน และไม่มีการกล่าวว่าอิบลีสพยายามจะชิงบัลลังก์ของพระเจ้า[18][19] และบาปของอิบลีสอาจสามารถยกโทษได้[20] ตามรายงานจากอัลกุรอาน การไม่เชื่อฟังของอิบลีสเกิดจากความรังเกียจมนุษย์ของมัน และเรื่องนี้สามารถพบได้ในคัมภีร์นอกสารบบช่วงต้น[21] เนื่องจากเป็นสิ่งถูกสร้าง อิบลีสไม่สามารถเป็นต้นเหตุหรือผู้สร้างความชั่วร้าย โดยถือว่ามันเป็นสิ่งเย้ายวนที่มุ่งสู่จุดอ่อนของมนุษย์ และถือเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง และนำมนุษย์ให้ออกห่างจากหนทางของพระเจ้า[22]

กุรอาน

แก้

อิบลีสถูกกล่าวโดยชื่อของมันในอัลกุรอาน 11 ครั้ง โดยในเก้าครั้งอิงถึงการปฏิเสธคำสั่งของพระเจ้าในการก้มกราบต่อหน้าอาดัม คำว่า ชัยฏอน เป็นที่แพร่หลายกว่า ถึงแม้ว่าคำว่าอิบลีสอาจอิงถึงชัยฏอนในบางครั้ง; เงื่อนไขของสองคำนี้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ เรื่องราวของอิบลีสมีอยู่ทั่วอัลกุรอาน โดยรวมแล้ว เนื้อเรื่องสรุปได้ดังนี้:[23]

เมื่ออัลลอฮ์ทรงสร้างอาดัม พระองค์สั่งให้มลาอิกะฮ์ทั้งหมดสุญูด (ก้มกราบ) ต่อหน้าสิ่งถูกสร้าง มลาอิกะฮ์ทั้งหมดสุญูด แต่อิบลีสไม่ยอมทำ โดยโต้แย้งว่าตนถูกสร้างมาจากไฟ จึงอยู่เหนือกว่ามนุษย์ที่ถูกสร้างมาจากดินโคลน และด้วยเหตุนี้มันถึงไม่ควรก้มกราบต่อหน้าอาดัม[24] อัลลอฮ์ทรงขับไล่อิบลีสออกจากสวรรค์และเตรียมลงโทษในนรก เพราะความหยิ่งยโสของมัน อิบลีสได้ขอความสามารถที่จะทำให้อาดัมกับลูกหลานของเขาหลงทาง พระองค์ตอบรับคำขอ แต่ได้เตือนมันว่า ”แท้จริงปวงบ่าวของข้านั้น เจ้าไม่มีอำนาจใดๆ เหนือพวกเขา และพอเพียงแล้วที่พระเจ้าของเจ้าเป็นผู้คุ้มครอง”[25]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Briggs, Constance Victoria (2003). The Encyclopedia of God: An A-Z Guide to Thoughts, Ideas, and Beliefs about God. Newburyport, Massachusetts, the U.S.A.: Hampton Roads Publishing Company. ISBN 978-1-612-83225-8.
  2. Nagawasa, Eiji (March 1992), An Introductory Note on Contemporary Arabic Thought
  3. Welch, Alford T. (2008). Studies in Qur'an and Tafsir. Riga, Latvia: Scholars Press. p. 756.
  4. 4.0 4.1 Gauvain, Richard (2013). Salafi Ritual Purity: In the Presence of God. Abingdon, England, the U.K.: Routledge. pp. 69–74. ISBN 978-0-7103-1356-0.
  5. Öztürk, Mustafa (2 December 2009). Journal of Islamic Research. 2. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  6. Silverstein, Adam (January 2013). "On the original meaning of the Qur'ānic term al-Shaytān al-Rajīm". Journal of the American Oriental Society.
  7. Campanini, Massimo (2013). The Qur'an: The Basics. Abingdon, England: Routledge. ISBN 978-1-1386-6630-6.
  8. Kazim, Ebrahim (2010). Scientific Commentary of Suratul Faateḥah. New Delhi, India: Pharos Media & Publishing Pvt Ltd. p. 274. ISBN 978-8-172-21037-3.
  9. "Iblis". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-15. สืบค้นเมื่อ 2020-07-02.
  10. Nicholson, Reynold A. (1998). Studies In Islamic Mysticism. Abingdon, England: Routledge. p. 120. ISBN 978-1-136-17178-9.
  11. Basharin, Pavel V. (April 1, 2018). "The Problem of Free Will and Predestination in the Light of Satan's Justification in Early Sufism". English Language Notes. Durham, North Carolina: Duke University Press. 56 (1): 119–138. doi:10.1215/00138282-4337480.
  12. "Iblīs - BrillReference".
  13. Russell, Jeffrey Burton (1986). Lucifer: The Devil in the Middle Ages. Ithaca, New York: Cornell University Press. p. 55. ISBN 978-0-801-49429-1.
  14. Monferrer-Sala, J. P. (2014). One More Time on the Arabized Nominal Form Iblīs. Studia Orientalia Electronica, 112, 55-70. Retrieved from https://journal.fi/store/article/view/9526
  15. https://www.britannica.com/topic/Iblis
  16. Zadeh, Travis (2014). "Commanding Demons and Jinn: The Sorcerer in Early Islamic Thought". ใน Korangy, Alireza; Sheffield, Dan (บ.ก.). No Tapping around Philology: A Festschrift in Honor of Wheeler McIntosh Thackston Jr.’s 70th Birthday. Wiesbaden, Germany: Harrassowitz Verlag. p. 149. ISBN 978-3447102155.
  17. Sharpe, Elizabeth Marie Into the realm of smokeless fire: (Qur'an 55:14): A critical translation of al-Damiri's article on the jinn from "Hayat al-Hayawan al-Kubra 1953 The University of Arizona download date: 15/03/2020
  18. El-Zein, Amira (2009). Islam, Arabs, and Intelligent World of the Jinn. Syracuse University Press. p. 46. ISBN 978-0815650706.
  19. Vicchio, Stephen J. (2008). Biblical Figures in the Islamic Faith. Eugene, Oregon: Wipf and Stock. pp. 175–185. ISBN 978-1556353048.
  20. Ahmadi, Nader; Ahmadi, Fereshtah (1998). Iranian Islam: The Concept of the Individual. Berlin, Germany: Axel Springer. p. 80. ISBN 978-0-230-37349-5.
  21. Houtman, Alberdina; Kadari, Tamar; Poorthuis, Marcel; Tohar, Vered (2016). Religious Stories in Transformation: Conflict, Revision and Reception. Leiden, Germany: Brill Publishers. p. 66. ISBN 978-9-004-33481-6.
  22. Mathewes, Charles (2010). Understanding Religious Ethics. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons. p. 248. ISBN 978-1-405-13351-7.
  23. Awn, Peter J. (1983). Satan's Tragedy and Redemption: Iblīs in Sufi Psychology. Leiden, the Netherlands: Brill. p. 18. ISBN 978-9-0040-6906-0.
  24. อัลกุรอาน 7:12
  25. อัลกุรอาน 17:65. ""As for My servants, no authority shalt thou have over them:" Enough is thy Lord for a Disposer of affairs."