อิทธิพร บุญประคอง
อิทธิพร บุญประคอง ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.จ.พ. (เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2499) เป็นนักกฎหมายและนักการทูตชาวไทย[1] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการการเลือกตั้ง[2] และเป็นข้าราชการบำนาญสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ[3]
อิทธิพร บุญประคอง | |
---|---|
ประธานกรรมการการเลือกตั้ง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561 (6 ปี 105 วัน) | |
ก่อนหน้า | ศุภชัย สมเจริญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2499 |
คู่สมรส | สุธีรา บุญประคอง |
ประวัติ
แก้อิทธิพร เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของประชุมและบรรจบพร บุญประคอง อดีตนายกเหล่ากาชาด ภาค 7 [4] มีพี่น้องรวม 3 คนจบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต (นบ.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2522 และจบการศึกษานิติศาสตร์มหาบัณฑิต (LL.M.) จากมหาวิทยาลัย Tulane สหรัฐ และเข้าหลักสูตรการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management) มหาวิทยาลัยทัฟส์ สหรัฐ และหลักสูตรนักบริหารชั้นสูง สำนักงานข้าราชการพลเรือน รุ่น 56
การทำงาน
แก้อิทธิพร รับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และรองตัวแทนของประเทศไทยในคดีตีความคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่าด้วยปราสาทพระวิหาร ในปี 2553 และในฐานะอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ จึงเข้ารับตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดไหล่ทวีประหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่ปี 2553 – 2555
และในเวลาต่อมาก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ซึ่งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ประธานกลุ่ม 77 และจีนประจำโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติและโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ ณ กรุงไนโรบี ในปี 2557
โดยตำแหน่งสุดท้ายคือ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การเพื่อการห้ามอาวุธเคมี ในปี 2558 จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2559 รวมถึงการเป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาลไทยในการรณรงค์หาเสียงสนับสนุนการสมัครรับเลือกตั้งของไทยในตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในปี 2559[5]
นอกจากนี้ยังเป็นผู้ประสานงานและหัวหน้าสำนักงานโครงการการหารือกรอบเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยผู้อพยพ ผู้พลัดถิ่น และผู้ย้ายถิ่นฐาน ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการย้ายถิ่นฐาน
ชีวิตส่วนตัว
แก้อิทธิพร สมรสกับแพทย์หญิงสุธีรา บุญประคอง มีบุตร 1 คน คือ ธิราพร บุญประคอง ปัจจุบันทำงานในสหรัฐ[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2548 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ บทวิเคราะห์ : "อิทธิพร บุญประคอง" อดีตทูต นั่ง ประธาน กกต. จับตาภารกิจใหญ่คุมเลือกตั้งปี ‘62
- ↑ ‘‘อิทธิพร บุญประคอง’’ นั่งเก้าอี้ประธานกกต.คนใหม่
- ↑ ว่าที่ กกต. 5 คน เลือก ‘‘อิทธิพร บุญประคอง’‘ เป็นประธาน กกต.
- ↑ มารดา "ประธาน กกต." ถึงแก่กรรม
- ↑ อิทธิพร บุญประคอง อดีตเอกอัครราชทูต สู่การเป็น ประธาน กกต. – เลือกตั้ง 62
- ↑ รายงานของ คณะกรรมธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลของผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ , เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๙๙, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙