อำเภอสวาต (อูรดู: ضلع سوات, ปาทาน: سوات ولسوالۍ, แม่แบบ:IPA-ps) รู้จักกันในชื่อ หุบเขาสวาต เป็นอำเภอในเขตมะลากันด์ แคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา ประเทศปากีสถาน อำเภอนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในด้านความงามของธรรมชาติอันน่าทึ่ง โดยมีประชากร 2,309,570 คนตามสำมะโนแห่งชาติ ค.ศ. 2017 และเป็นอำเภอที่มัขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ในแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา

อำเภอสวาต

ضلع سوات
سوات ولسوالۍ
สมญา: 
สวิตเซอร์แลนด์แห่งปากีสถาน[1]
อำเภอสวาต (แดง) ในแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา
อำเภอสวาต (แดง) ในแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา
พิกัด: 35°12′N 72°29′E / 35.200°N 72.483°E / 35.200; 72.483
ประเทศ ปากีสถาน
แคว้น แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา
เขตมะลากันด์
เมืองหลักไซดูชะรีฟ
เมืองใหญ่สุดมีนโกรา
จำนวน Tehsil7
การปกครอง
 • ประเภทการบริหารเขต
 • รองข้าหลวงไม่มี
 • เจ้าหน้าที่ตำรวจอำเภอไม่มี
 • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอไม่มี
พื้นที่
 • รวม5,337 ตร.กม. (2,061 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • รวม2,308,624 คน
 • ความหนาแน่น430 คน/ตร.กม. (1,100 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง695,821 คน
 • นอกเมือง1,612,803 คน
เขตเวลาUTC+5 (เวลามาตรฐานปากีสถาน)
รหัสพื้นที่0946
ภาษา (2017)[3]
เว็บไซต์swat.kp.gov.pk

อำเภอสวาตตั้งอยู่ตรงกลางหุบเขาสวาตที่เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทางธรรมชาติรอบแม่น้พสวาต หุบเขานี้เคยเป็นจุดศูนย์กลางของศาสนาพุทธตอนต้นของอารยธรรมคันธาระโบราณ (โดยหลักคือศาสนาพุทธคันธาระ) ซึ่งศาสนาพุทธจำนวนหนึ่งดำรงอยู่ในหุบเขาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากพื้นที่ส่วนใหญ่หันมานับถืออิสลาม[4][5][6] สวาตยังเป็นจุดศนย์กลางของฮินดูชาฮีและรัฐสุลต่านสวาต ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 สวาตกลายเป็นรัฐอิสระภายใต้ไซดูบาบา รัฐสวาตกลายเป็นรัฐมหาราชาภายใต้อำนาจเหนือประเทศราชของอังกฤษในฐานะส่วนหนึ่งของบริติชราชใน ค.ศ. 1918

หลังการแบ่งอินเดียและปากีสถานเป็นเอกราชใน ค.ศ. 1947 สวาตยอมรับเข้าไปในประเทศปากีสถานในเครือจักรภพและคงสถานะรัฐมหาราชาปกครองตนเองจนกระทั่งถูกผนวกอย่างเป็นทางการและรวมเข้ากับปากีสถานตะวันตกและกลายเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นแนวหน้าเหนือ-ตะวันตก (ปัจจุบันคือแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา) ใน ค.ศ. 1969 แคว้นนี้ถูกยึดครองโดยกลุ่ม Tehrik-i-Taliban ในช่วงปลาย ค.ศ. 2007 จนกระทั่งปากีสถานเข้าควบคุมใหม่ในช่วงกลาง ค.ศ. 2009[7][8]

อำเภอสวาตตั้งอยู่ในระดับความสูงเฉลี่ย 980 เมตร (3,220 ฟุต)[5] ทำให้อำเภอนี้สภาพภูมิอากาศเย็นและชื้นกว่าพื้นที่อื่นของปากีสถาน ด้วยป่าไม้เขียวชอุ่ม ทุ่งหญ้าอัลไพน์เขียวขจี และภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ ทำให้สวาตเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมมากที่สุดของประเทศ[9][10]

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ชื่อ "สวาต" มาจากแม่น้ำสวาต ในฤคเวทเรียกแม่น้ำสวาตเป็น Suvāstu ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า "ที่อยู่อาศัยงาม" บางคนเสนอแนะว่าชื่อภาษาสันสกฤตอาจหมายถึง "น้ำสีฟ้าใส"[11] อีกทฤษฎีหนึ่งมาจากคำว่าสวาตมีต้นตอจากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า เศวต (แปลว่า ขาว) ที่ใช้สื่อถึงความใสสะอาดของแม่น้ำ[12] สำหรับชาวกรีกโบราณ แม่น้ำนี้รู้จักกันในชื่อ Soastus[13][14][15][12] ฝาเสี่ยน ผู้แสวงบุญชาวจีน กล่าวถึงสวาตเป็น Su-ho-to[16] บางตำนานระบุว่าชื่อนี้มาจากชื่อเผ่าสวาตีที่เคยปกครองภูมิภาคนี้

ประชากร

แก้
 
ภาพถ่ายมีนโกรา เมืองใหญ่สุดในอำเภอสวาต – พฤษภาคม ค.ศ. 2014
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
1951 283,720—    
1961 344,859+1.97%
1972 520,614+3.82%
1981 715,938+3.60%
1998 1,257,602+3.37%
2017 2,308,624+3.25%
ข้อมูล:[17]

ในช่วงที่มีการจัดทำสำมะโน ค.ศ. 2017 อำเภอนี้มีผู้อยู่อาศัย 270,974 ครัวเรือนและมีประชากร 2,308,624 คน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นชาย 1,171,947 คนและหญิง 1,136,545 คน อัตราเพศแลอัตราผู้อ่านออกเขียนได้ในสวาตอยู่ที่ร้อยละ 50.27 ในจำนวนนี้ผู้ชายอยู่ในร้อยละ 65.25 และผู้หญิงอยู่ในร้อยละ 35.10 ประชากร 695,821 คน (30.14%) อาศัยอยู่ในเมือง และประชากรร้อยละ 31.45 มีอายุต่ำกว่า 10 ขวบ ประชากร 1,811 คน (0.08%) ในอำเภอมาจากชนกลุ่มน้อยทางศาสนา[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Malala Yousafzai 2013.
  2. 2.0 2.1 "District Wise Results / Tables (Census - 2017)". www.pbscensus.gov.pk. Pakistan Bureau of Statistics.
  3. Stephen P. Cohen (2004). The Idea of Pakistan. Brookings Institution Press. p. 202. ISBN 0815797613.
  4. East and West, Volume 33 (ภาษาอังกฤษ). Istituto italiano per il Medio ed Estremo Oriente. 1983. p. 27. According to the 13th century Tibetan Buddhist Orgyan pa forms of magic and Tantra Buddhism and Hindu cults still survived in the Swāt area even though Islam had begun to uproot them (G. Tucci, 1971, p. 375) ... The Torwali of upper Swāt would have been converted to Islam during the course of the 17th century (Biddulph, p. 70).
  5. 5.0 5.1 Mohiuddin, Yasmeen Niaz (2007). Pakistan: A Global Studies Handbook (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. ISBN 9781851098019.
  6. Naik, C. D. (2010). Buddhism and Dalits: Social Philosophy and Traditions (ภาษาอังกฤษ). Gyan Publishing House. p. 39. ISBN 978-81-7835-792-8. Buddhism survived in Gilgit and Baltistan until 13-14th Century, perhaps slightly longer in the nearby Swat Valley.
  7. Abbas, Hassan (2014-06-24). The Taliban Revival: Violence and Extremism on the Pakistan-Afghanistan Frontier (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. ISBN 9780300178845.
  8. Craig, Tim (2015-05-09). "The Taliban once ruled Pakistan's Swat Valley. Now peace has returned". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2018-02-11.
  9. Khaliq, Fazal (2018-01-17). "Tourists throng Swat to explore its natural beauty". DAWN.COM (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-02-10.
  10. "The revival of tourism in Pakistan". Daily Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-02-09. สืบค้นเมื่อ 2018-02-12.
  11. Susan Whitfield (2018). Silk, Slaves, and Stupas: Material Culture of the Silk Road. University of California Press. p. 136. ISBN 978-0-520-95766-4.
  12. 12.0 12.1 Sultan-i-Rome (2008). Swat State (1915–1969) from Genesis to Merger: An Analysis of Political, Administrative, Socio-political, and Economic Development. Oxford University Press. p. 13. ISBN 978-0-19-547113-7.
  13. Edward Herbert Bunbury (1879). A history of ancient geography among the Greeks and Romans (ภาษาอังกฤษ). J. Murray.
  14. Arrian (2013-02-14). Alexander the Great: The Anabasis and the Indica (ภาษาอังกฤษ). OUP Oxford. ISBN 978-0-19-958724-7.
  15. Saxena, Savitri (1995). Geographical Survey of the Purāṇas: The Purāṇas, a Geographical Survey (ภาษาอังกฤษ). Nag Publishers. ISBN 978-81-7081-333-0.
  16. Rienjang, Wannaporn; Stewart, Peter (2019-03-15). The Geography of Gandhāran Art: Proceedings of the Second International Workshop of the Gandhāra Connections Project, University of Oxford, 22nd-23rd March, 2018 (ภาษาอังกฤษ). Archaeopress. ISBN 978-1-78969-187-0.
  17. "Population by administrative units 1951-1998" (PDF). Pakistan Bureau of Statistics.

บรรณานุกรม

แก้
  • Alram, Michael (2014). "From the Sasanians to the Huns New Numismatic Evidence from the Hindu Kush". The Numismatic Chronicle. 174: 261–291. JSTOR 44710198.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้