อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก

เซอร์ อาร์เธอร์ ชาลส์ คลาร์ก (อังกฤษ: Sir Arthur Charles Clarke; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1917 – 19 มีนาคม ค.ศ. 2008[1]) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งผลงานของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ได้แก่นิยายชุด จอมจักรวาล (Space Odyssey) และชุด ดุจดั่งอวตาร (Rendezvous with Rama)

อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก
อาร์เธอร์ ซี คลาร์กในโคลัมโบ ศรีลังกา
อาร์เธอร์ ซี คลาร์กในโคลัมโบ ศรีลังกา
เกิด16 ธันวาคม ค.ศ. 1917
ซัมเมอร์เซต สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต19 มีนาคม ค.ศ. 2008 (อายุ 90 ปี)
โคลอมโบ ศรีลังกา
นามปากกาCharles Willis,
E.G. O'Brien
อาชีพนักเขียน, นักประดิษฐ์
สัญชาติอังกฤษ และศรีลังกา
แนวนิยายวิทยาศาสตร์
ผลงานที่สำคัญจอมจักรวาล
ดุจดั่งอวตาร
เว็บไซต์
http://www.clarkefoundation.org/

ผลงานเขียนนวนิยายของคลาร์ก มีความริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน สิ่งประดิษฐ์จำนวนมากได้แรงบันดาลใจจากนิยายของคลาร์ก เช่น ดาวเทียม การสำรวจอวกาศ ลิฟต์อวกาศ

คลาร์ก อาศัยอยู่ที่กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา เขาเดินทางเข้ามาอยู่ประเทศนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 และพักอาศัยอยู่อย่างถาวรจนได้รับสัญชาติศรีลังกา ชาวศรีลังกาถือว่าเขาเป็น "ความภูมิใจของลังกา" มอบรางวัล The Lankabhimanaya award (Pride of Lanka) ให้เป็นเกียรติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

ช่วงบั้นปลายชีวิต คลาร์กป่วยด้วยโรคโปลิโอต้องนั่งบนรถเข็นตลอดเวลา เขาเสียชีวิตเมื่อเช้ามืดของวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 ด้วยวัย 90 ปี ศพของเขาทำพิธีฝังอย่างเรียบง่าย ไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาใดๆ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551 ที่เมืองโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา

วงโคจรคลาร์ก

แก้
 
วงโคจรคลาร์ก

ชื่อของคลาร์ก ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของ วงโคจรคลาร์ก (clarke belt) หรือวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary orbit - GEO) เป็นวงโคจรที่ดาวเทียมส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศ นำเสนอแนวคิดเป็นครั้งแรกตั้งแต่ ค.ศ. 1928 โดย Herman Potočnik วิศวกรชาวสโลวีเนีย และเป็นที่รู้จักจากบทความที่คลาร์กเป็นผู้เขียน ชื่อ "Extra-Terrestrial Relays — Can Rocket Stations Give Worldwide Radio Coverage?"[2] ตีพิมพ์ในหนังสือ Wireless World ฉบับเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945

คลาร์กนำเสนอแนวคิดในการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ด้วยการใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวง โคจรเหนือเส้นศูนย์สูตร ในตำแหน่งที่ทำมุมซึ่งกันและกัน 120 องศา ที่ความสูง 42,164 กิโลเมตร วัดจากจุดศูนย์กลางของโลก หรือประมาณ 35,787 กิโลเมตร (22,237 ไมล์) จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โคจรไปพร้อมกับโลกด้วยความเร็วเท่ากับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง (Synchronous orbit) และตำแหน่งของดาวเทียมจะคงที่ตลอดเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับโลก

ผลงาน

แก้

นวนิยาย

แก้
  • Prelude to Space (1951)
  • The Sands of Mars (1951)
  • Islands in the Sky (1952)
  • Against the Fall of Night (1948, 1953) original version of The City and the Stars, ชื่อไทย "ประหนึ่งจะเย้ยรัตติกาล"
  • Childhood's End (1953), ชื่อไทย "สุดสิ้นกลิ่นน้ำนม"
  • Earthlight (1955), ชื่อไทย "แสงโลก"
  • The City and the Stars (1956)
  • The Deep Range (1957)
  • A Fall of Moondust (1961), ชื่อไทย "นรกใต้ทะเลฝุ่น"
  • Dolphin Island (1963)
  • Glide Path (1963)
  • 2001: A Space Odyssey (1968), ชื่อไทย "2001 จอมจักรวาล"
  • Rendezvous with Rama (1972), ชื่อไทย "ดุจดั่งอวตาร"
  • Imperial Earth (1975)
  • The Fountains of Paradise (1979), ชื่อไทย "สู่สวรรค์"
  • 2010: Odyssey Two (1982), ชื่อไทย "2010 จอมจักรวาล"
  • The Songs of Distant Earth (1986)
  • 2061: Odyssey Three (1988), ชื่อไทย "2061 จอมจักรวาล"
  • A Meeting with Medusa (1988)
  • Cradle (1988) (with Gentry Lee)
  • Rama II (1989) (with Gentry Lee)
  • Beyond the Fall of Night (1990) (with Gregory Benford)
  • The Ghost from the Grand Banks (1990)
  • The Garden of Rama (1991) (with Gentry Lee)
  • Rama Revealed (1993) (with Gentry Lee)
  • The Hammer of God (1993)
  • Richter 10 (1996) (with Mike McQuay)
  • 3001: The Final Odyssey (1997), ชื่อไทย "3001 จอมจักรวาล ภาคอวสาน"
  • The Trigger (1999) (with Michael P. Kube-McDowell)
  • The Light of Other Days (2000) (with Stephen Baxter)
  • Time's Eye (2003) (with Stephen Baxter)
  • Sunstorm (2005) (with Stephen Baxter)
  • Firstborn (2007) (with Stephen Baxter)
  • The Last Theorem (to be published in 2008) (with Frederik Pohl)

รวมเรื่องสั้น Omnibus editions

แก้
  • Across the Sea of Stars (1959) (including Childhood's End, Earthlight and 18 short stories)
  • From the Ocean, From the Stars (1962) (including The City and the Stars, The Deep Range and The Other Side of the Sky)
  • An Arthur C. Clarke Omnibus (1965) (including Childhood's End, Prelude to Space and Expedition to Earth)
  • Prelude to Mars (1965) (including Prelude to Space and The Sands of Mars)
  • The Lion of Comarre & Against the Fall of Night (1968)
  • An Arthur C. Clarke Second Omnibus (1968) (including A Fall of Moondust, Earthlight and The Sands of Mars)
  • Four Great SF Novels (1978) (including The City and the Stars, The Deep Range, A Fall of Moondust, Rendezvous with Rama)
  • The Space Trilogy (2001) (including Islands in the Sky, Earthlight and The Sands of Mars)

รวมเรื่องสั้น

แก้
  • Expedition to Earth (1953)
  • Reach for Tomorrow (1956)
  • Tales from the White Hart (1957)
  • The Other Side of the Sky (1958)
  • Tales of Ten Worlds (1962)
  • The Nine Billion Names of God (1967)
  • Of Time and Stars (1972)
  • The Wind from the Sun (1972)
  • The Best of Arthur C. Clarke (1973)
  • The Sentinel (1983)
  • Tales From Planet Earth (1990)
  • More Than One Universe (1991)
  • The Collected Stories of Arthur C. Clarke (2000)

รายการโทรทัศน์

แก้
  • Arthur C. Clarke's Mysterious World (1980) [1] จำนวน 13 ตอน ตอนละ 25 นาที
  • Arthur C. Clarke's World of Strange Powers (1985) [2] จำนวน 13 ตอน
  • Arthur C. Clarke's Mysterious Universe (1995) จำนวน 6 ตอน

ความปรารถนา 3 ประการของอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก

แก้

ในวันเกิดครบรอบปีที่ 90 ของเขา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลศรีลังกาได้จัดงานเพื่อเป็นเกียรติให้ มีผู้ร่วมงานเป็นบุคคลสำคัญในวงการอวกาศและวิทยาศาสตร์ เช่น อเลกไซ เลโอนอฟ นักบินอวกาศชาวรัสเซีย มนุษย์อวกาศคนแรกของโลกที่ออกไปท่องอวกาศ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2508 คลาร์กได้กล่าวว่า ในชีวิตของเขาปรารถนาจะเห็น 3 สิ่งต่อไปนี้[3][4][5]

  1. อยากให้พบหลักฐานการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากนอกโลก
  2. อยากให้โลกนำแหล่งพลังงานสะอาด มาใช้แทนที่น้ำมันเชื้อเพลิง
  3. อยากให้สงครามกลางเมืองในศรีลังกาสิ้นสุดลง

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้