อาการกลัวอิสลาม
อาการกลัวอิสลาม (อังกฤษ: Islamophobia) เป็นความเกลียดกลัวอย่างรุนแรง หรือความเดียดฉันท์ต่อศาสนาอิสลามหรือมุสลิม[1][2][3] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองว่าเป็นกำลังภูมิรัฐศาสตร์หรือบ่อเกิดของการก่อการร้าย[4]
คำนี้เป็นคำสร้างใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1970 และโดดเด่นขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 และมีความโดดเด่นในนโยบายสาธารณะด้วยรายงานโดยคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์และอาการกลัวอิสลามบริติชของรันนีมีดทรัสต์ ชื่อ อาการกลัวอิสลาม: ความท้าทายสำหรับเราทุกคน (ปี 1997)[5]
สาเหตุและลักษณะของอาการกลัวอิสลามยังมีการโต้เถียงกัน นักวิจารณ์บางคนระบุว่าอาการกลัวอิสลามเพิ่มขึ้นจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 บ้างว่ามาจากการก่อการร้ายโดยกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่มุ่งเป้าต่อผู้บริสุทธิ์หลายครั้งในทวีปยุโรปและสหรัฐ บ้างสัมพันธ์กับการมีมุสลิมในสหรัฐและสหภาพยุโรปมากขึ้น บ้างยังสงสัยความถูกต้องของคำนี้ นักวิชาการ S. Sayyid และ Abdoolkarim Vakil ยืนยันว่าอาการกลัวอิสลามเป็นการตอบสนองต่อการถือกำเนิดของอัตลักษณ์สาธารณะของมุสลิมที่แตกต่าง และการมีมุสลิมไม่ใช่ตัวบ่งชี้ระดับของอาการกลัวอิสลามในสังคม โดยว่าสังคมที่แทบไม่มีมุสลิมเลยแต่มีอาการกลัวอิสลามแบบสถาบันหลายแบบอยู่[6]
อาการกลัวอิสลามมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความหวาดกลัวการก่อการร้าย มุมมองที่ขัดกันของเทววิทยาทางศาสนา การขยายตัวของกระแสการเมืองแบบอัตลักษณ์ (identity politics)[7] แต่สาเหตุสำคัญของความหวาดกลัวอิสลามในตะวันตกมีสาเหตุสำคัญมาจากมุมมองของผู้ที่อยู่อาศัยในสังคมตะวันตกว่า อิสลามเป็นลัทธิที่ต่อต้านความเชื่อ, ค่านิยม และหลักการพื้นฐานของอารยธรรมตะวันตก เช่น ความเท่าเทียมกันทางเพศ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพในการนับถือศาสนา[8] พวกมุสลิมถูกชาวตะวันตกมองว่ามีแนวคิดเหยียด และดูหมิ่นชาวยิว (antisemitism) นอกจากนี้ในสังคมที่มีประชากรอพยพจำนวนมากเป็นชาวมุสลิม เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส หรือเยอรมัน, ชาวมุสลิมถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ไม่ยอมเรียนรู้ที่จะกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมท้องถิ่น (assimilation) เหมือนประชากรอพยพกลุ่มอื่นๆ แต่จะยึดถือลัทธิความเชื่อ และอัตลักษณ์ของตนเองอย่างหวนแหน และมองประชากรกลุ่มอื่นเป็นคนต่างพวก หรือเป็นคนนอกศาสนา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ในสังคมมองว่าทัศนคติของอิสลามเป็นสิ่งคุกคามความเป็นเอกภาพของสังคม
เงื่อนไข
แก้มีเงื่อนไขที่เป็นไปได้หลายชื่อที่มีส่วนทำให้มีความรู้สึกและทัศนคติต่อศาสนาอิสลามหรือมุสลิมในแง่ลบ เช่น การต่อต้านมุสลิม, มีอคติต่อมุสลิม ฯลฯ ในเยอรมันจะใช้ Islamophobie (ความกลัวต่อมุสลิม) และ Islamfeindlichkeit (ความเป็นปรปักษ์ต่อมุสลิม) ในสเกดิเนเวีย Muslimhat หมายถึง "ความเกลียดชังต่อมุสลิม"[9]
นอกจากนี้ยังมีคำอื่นอีกในการต่อต้านอิสลาม เช่น Muslimophobia,[10] Islamophobism,[11] antimuslimness [12][13][14] Islamophobes, Islamophobists,[15] anti-Muslimists,[16] antimuslimists,[17] islamophobiacs,[18] anti-Muhammadan (ต่อต้านมุฮัมหมัด),[19] Muslimphobes [20] anti-mosque (ต่อต้านมัสยิด),[21] anti-Shiites[22] (ต่อต้านชีอะฮ์)[23], anti-Sufism[24] (ต่อต้านซูฟี)[25] และ anti-Sunni (ต่อต้านซุนนี)[26]
ศัพทมูลวิทยา
แก้คำว่า Islamophobia เป็นคำสร้างใหม่[27] เป็นคำประสมของ Islam (อิสลาม) และ -phobia (ความกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่ง)[28]
ข้อมูลจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ดคำนี้หมายถึง "การไม่ชอบหรือกลัวอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมือง และการเป็นปรปักษ์ต่อมุสลิม"[29]
มุมมอง
แก้อาชญากรรมที่เกี่ยวกับการเกลียดอิสลาม | อาชญากรรมทั้งหมด | |||
ปี | Arson offenses | Total offenses | Arson offenses | Total offenses |
1996 | 0 | 33 | 75 | 10,706 |
1997 | 1 | 31 | 60 | 9,861 |
1998 | 0 | 22 | 50 | 9,235 |
1999 | 1 | 34 | 48 | 9,301 |
2000 | 0 | 33 | 52 | 9,430 |
2001 | 18 | 546 | 90 | 11,451 |
2002 | 0 | 170 | 38 | 8,832 |
2003 | 2 | 155 | 34 | 8,715 |
2004 | 2 | 193 | 44 | 9,035 |
2005 | 0 | 146 | 39 | 8,380 |
2006 | 0 | 191 | 41 | 9,080 |
2007 | 0 | 133 | 40 | 9,006 |
2008 | 5 | 123 | 53 | 9,168 |
2009 | 1 | 128 | 41 | 7,789 |
2010 | 1 | 186 | 42 | 7,699 |
2011 | 2 | 175 | 42 | 7,254 |
2012 | 4 | 149 | 38 | 6,718 |
2013
2020 |
1
22 |
165
1 |
36
24 |
6,933
2,547 |
รวม | 38 | 2,613 | 863 | 158,593 |
เฉลี่ย | 2.1 | 145.2 | 47.9 | 8810.7 |
1996–2000 เฉลี่ย | .40 | 30.6 | 57.0 | 9,707 |
2001 | 18 | 546 | 90 | 11,451 |
2002–2013 เฉลี่ย | 1.50 | 159.5 | 40.7 | 8,217 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Islamophobia". Oxford Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-19. สืบค้นเมื่อ November 10, 2016.
- ↑ "islamophobia". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ November 10, 2016.
- ↑ "Islamophobia". Collins Dictionary.
- ↑ Miles & Brown 2003.
- ↑ Meer, Nasar; Modood, Tariq (July 2009). "Refutations of racism in the 'Muslim question'". Patterns of Prejudice. 43 (3–4): 335–54. doi:10.1080/00313220903109250.
- ↑ Sayyid, Salman; Vakil, Abdoolkarim (2010). Thinking Through Islamophobia: Global Perspectives. New York: Columbia University Press. p. 319. ISBN 9780231702065.
- ↑ Døving, Cora Alexa (2010). "Anti-Semitism and Islamophobia: A Comparison of Imposed Group Identities" (PDF). Tidsskrift for Islamforskning (2): 52–76. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-29. สืบค้นเมื่อ 23 November 2011.
- ↑ "Islamophobia: A Challenge for Us All" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2019-01-19. (69.7 KB), Runnymede Trust, 1997.
- ↑ Kaya, Ayhan (2014). "Islamophobia". ใน Cesari, Jocelyne (บ.ก.). The Oxford Handbook of European Islam. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-960797-6.
- ↑ Carpente, Markus (2013). Diversity, Intercultural Encounters, and Education. p. 65.
- ↑ Pande, Rekha (2012). Globalization, Technology Diffusion and Gender Disparity. p. 99.
- ↑ Racism and Human Rights. p. 8, Raphael Walden – 2004
- ↑ Muslims in Western Europe. p. 169, Jørgen S. Nielsen – 2004
- ↑ Children's Voices: Studies of Interethnic Conflict and Violence in European schools, Mateja Sedmak, p124
- ↑
{{cite book}}
: Citation ว่างเปล่า (help) - ↑ 2002, Fred halliday, Two hours that shook the world, p. 97
- ↑ Kollontai, Pauline (2007). Community Identity: Dynamics of Religion in Context. p. 254.
- ↑ Seid, Amine (2011). Islamic Terrorism and the Tangential Response of the West. p. 39.
- ↑ Goknar, Erdag (2013). Orhan Pamuk, Secularism and Blasphemy. p. 219.
- ↑ Arasteh, Kamyar (2004). The American Reichstag. p. 94.
- ↑ Dressler, Markus (2011). Secularism and Religion-Making. p. 250.
- ↑ Kaim, Markus (2013). Great Powers and Regional Orders. p. 157.
- ↑ 2013, Glen Perry, The International Relations of the Contemporary Middle East, p. 161
- ↑ Toyin Falola – 2001, Violence in Nigeria: The Crisis of Religious Politics and Secular Ideologies, p. 240, "Anti-Sufism itself is therefore a marker of identity, and the formation of the Izala proves this beyond any reasonable doubt".
- ↑ Colonialism and Revolution in the Middle East, p. 197, Juan Ricardo Cole – 1999, "Ironically, the Sufi-phobia of the British consuls in the aftermath of 1857 led them to look in the wrong places for urban disturbances in the 1860s."
- ↑ 2005, Ahmed Hashim, Insurgency and Counter-insurgency in Iraq, Cornell University Press (2006), ISBN 9780801444524
- ↑ Roland Imhoff & Julia Recker (University of Bonn). "Differentiating Islamophobia: Introducing a new scale to measure Islamoprejudice and Secular Islam Critique". สืบค้นเมื่อ 2013-09-19.
- ↑ "Oxford English Dictionary: -phobia, comb. form". Oxford University Press.(subscription required)(ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ "Oxford English Dictionary: Islamophobia". Oxford University Press.(subscription required)(ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ 30.00 30.01 30.02 30.03 30.04 30.05 30.06 30.07 30.08 30.09 Wike, Richard; Stokes, Bruce; Simmons, Katie (July 2016). Europeans Fear Wave of Refugees Will Mean More Terrorism, Fewer Jobs (PDF) (Report). Pew Research Center. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 November 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "What Americans really think about Muslims and Islam". Brookings Institution. 9 December 2015. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "State of Relations 2016". Canadian Race Relations Foundation. Leger Marketing. 4 March 2016. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Islamophobia Studies Journal เก็บถาวร 2011-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Islamophobia Research & Documentation Project, UC Berkeley
- Reports – European Islamophobia – European Islamophobia Reports EIR
- Islamophobia Today newspaper เก็บถาวร 2021-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – an Islamophobia news clearing house
- Sammy Aziz Rahmatti, Understanding and Countering Islamophobia