อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก

อัครบิดรคีริลล์ (รัสเซีย: Патриарх кирилл ชื่อจริง:วลาดีมีร์ มีไคโลวิช กันดาเยฟ รัสเซีย: Владимир Михайлович Гундяев) หรือที่ชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่าพระอัครบิดรคีริลล์ เป็นประมุขสูงสุดของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ทั้งในประเทศรัสเซียและนอกประเทศ ได้ดำรงตำแหน่งอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวงตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยทรงได้รับการยอมรับจากอัครบิดรของคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ทุกองค์[1]

คีริลล์
Кирилл
อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง
ดำรงตำแหน่ง
1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 – ปัจจุบัน
ก่อนหน้าอัครบิดรอะเลคเซย์ที่ 2 แห่งมอสโก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
วลาดีมีร์ มีไคโลวิช กันดาเยฟ

(1946-11-20) 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 (77 ปี)
เลนินกราด, รัสเซียโซเวียต, สหภาพโซเวียต
เชื้อชาติรัสเซีย
ศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์http://patriarchia.ru/

ก่อนที่ท่านจะทรงได้รับสมณศักดิ์เป็นอัครบิดร ท่านทรงเคยดำรงตำแหน่งเป็นมุขนายก อัครมุขนายก และมุขนายกมหานครแห่งสโมเลนสค์และคาลินินกราดตามลำดับ และในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1984 ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นมุขนายกมหานครอยู่นั้น ก็ได้เป็นประธานความสัมพันธ์ระหว่างคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ต่างประเทศอีกด้วย และเป็นสมาชิกถาวรของสมัชชาศักดิ์สิทธิ์เมื่อปี ค.ศ. 1989

ประวัติช่วงต้น แก้

ครอบครัว แก้

อัครบิดรคีริลล์เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 ที่เลนินกราด (ปัจจุบันคือเมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก) ประเทศรัสเซีย เป็นบุตรของมิเกล กันดาเยพ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1974 และไรยซา กันดาเยพ ครูซึ่งสอนอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1984 มีนามเดิมว่า วลาดีมีร์ มีไคโลวิช กันดาเยฟ ทรงมีพี่ชาย 1 คน คือหัวหน้าบาทหลวงชื่อ นิโคไล กันดาเยพ เป็นศาสตราจารย์ที่สถาบันเทววิทยาเลนินกราดและเป็นอธิการมหาวิหารพระเยซูทรงสำแดงพระองค์อย่างรุ่งเรืองอันศักดิ์สิทธิ์ ส่วนปู่ของท่านก็เป็นบาทหลวงชื่อวาซิลี กันยาเยฟ ท่านเป็นนักโทษในคุกซอโลฟกี ซึ่งเป็นค่ายผู้ใช้แรงงานขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่กลางเกาะ ๆ หนึ่งในทะเลขาว ท่านถูกคุมขังและถูกเนรเทศในช่วงทศวรรษ 1920, 1930 และ 1940 จากการกระทำอันไม่เหมาะสมของท่านในคริสตจักรและต่อสู้กับการปฏิรูปคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ซึ่งถูกจัดตั้งโดยพวกคอมมิวนิสต์[2][3]

การศึกษา แก้

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว มิไคยโลวิชได้ทำงานสำรวจทางธรณีวิทยาเลนินกราดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 ควบคู่กับการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา[2] และจบการศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 1964 ซึ่งหลังจากที่ท่านจบชั้นมัธยมศึกษาแล้วท่านได้เข้าศึกษาต่อที่เซมินารีเลนินกราดและศึกษาต่อที่สถาบันเทววิทยาเลนินกราด โดยท่านจบปริญญาเทววิทยาและได้เกียรตินิยมมาด้วยเมื่อปี ค.ศ. 1970[3]

ท่านยังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากหลาย ๆ สถานศึกษาด้วย เช่นปริญญาเอกเทววิทยากิตติมศักดิ์จากสถาบันเทววิทยาบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อปี ค.ศ. 1987[4]

รับศีลบวช แก้

วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1969 มุขนายกมหานครนิโคดิม (โรตอฟ) แห่งเลนินกราดและนอฟกอรอดได้โปรดศีลบวชให้ โดยได้นามว่า "คีริลล์" และวันที่ 7 เมษายน ก็ได้โปรดศีลบวชเป็นพันธบริกรนักพรต และต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน เป็นนักพรตบาทหลวง[2]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 - ค.ศ. 1971 บาทหลวงคีริลล์ได้ทำหน้าที่สอนเทววิทยาหลักความเชื่อและทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักเรียนที่โรงเรียนเทววิทยาเลนินกราด และในเวลาเดียวกัน ท่านก็ทำงานเป็นเลขานุการส่วนตัวของมุขนายกมหานครนิโคดิมและเป็นผู้ดูแลครูผู้สอนในนักเรียนเซมินารีชั้นปีที่หนึ่ง[2]

บาทหลวง แก้

 
อัครบิดรคิริลล์ เมื่อครั้งเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2001 และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

อัครบิดรคีริลล์เคยมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการมาแล้วในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งการเยือนประเทศไทยในครั้งนั้นส่งผลให้อาสนวิหารนักบุญนิโคลัส ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแทนของโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ (คริสตจักรแห่งกรุงมอสโกประจำประเทศไทย) และบาทหลวงโอเลก เชเรปานิน เป็นผู้แทนคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย ได้เดินทางไปแนะแนวทางจิตวิญญาณแก่หมู่ประชาชนชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยที่ประเทศลาวและประเทศกัมพูชาเป็นเวลายาวนานกว่า 15 ปี ของการยืนหยัดการทำงานและการสวดอธิษฐานเพื่อที่จะเปลี่ยนให้ประชาชนชาวไทยหันมายอมรับในนิกายออร์ทอดอกซ์[5]

เจ้าวัด แก้

บาทหลวงคีริลล์ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าอธิการอารามเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1971 และได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเขตอัครบิดรมอสโก ของทางคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในสภาคริสตจักรโลกที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จนถึงปี ค.ศ. 1974 และตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1974 ท่านได้ทำหน้าที่เป็นอธิการบดีของวิทยสถานและเซมินารีเลนินกราดจนถึงวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1984 และตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1975 เขาได้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการกลาง และคณะกรรมการจัดงานประเพณี[2]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 ที่ท่านได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเขตอัครบิดรแห่งมอสโก ท่านก็มีส่วนร่วมในกิจกรรมของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์รัสเซียทั่วโลกตั้งแต่นั้นมา[2]

หัวหน้าบาทหลวง แก้

 
คีริลล์ครั้งประชุมเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์และการปลดอาวุธในอัมสเตอร์ดัมในปี ค.ศ. 1981
  • 14 มีนาคม ค.ศ. 1976 เจ้าอธิการคีริลล์ได้รับการอภิเษกเป็นมุขนายกแห่งไวบอร์ก และผู้แทนมุขมณฑลแห่งเลนินกราด
  • 2 กันยายน ค.ศ. 1977 ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นอัครมุขนายก
  • ตั้งแต่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1984 เป็นอัครมุขนายกแห่งสโมเลนสก์และวยาซมา
  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นผู้บริหารของตำบลในเขตคาลินินกราด
  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 เป็นอัครมุขนายกแห่งสโมเลนสก์และคาลินินกราด
  • ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานแห่งฝ่ายความสัมพันธ์ภายนอกคริสตจักร และได้เป็นสมาชิกถาวรของซินอดอันศักดิ์สิทธิ์
  • ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นมุขนายกมหานคร

ส่วนผู้มีอำนาจสูงสุดในคริสตจักรเรียงตำแหน่งของคีริลล์ดังนี้

  • ค.ศ. 1975 - 1982 – ประธานสภามุขมณฑลเลนินกราด
  • ค.ศ. 1975 - 1998 – สมาชิกคณะกรรมการกลาง และผู้บริหารของสภาคริสตจักรโลก
  • ค.ศ. 1976 - 1978 – รองอัครบิดรในยุโรปตะวันออก
  • ค.ศ. 1976 - 1984 – สมาชิกของซินอดอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อความสามัคคีของชาวคริสต์
  • ค.ศ. 1978 - 1984 – ผู้บริหารของรัฐโบราณในประเทศฟินแลนด์
  • ค.ศ. 1978 - 1988 – กรรมการจัดงานครบรอบสหัสวรรษของการรับศีลล้างบาปของเจ้าชายวลาดิมีร์ในประเทศรัสเซีย
  • ค.ศ. 1989 - 1996 – ผู้บริหารของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศฮังการี
  • ค.ศ. 1990 – สมาชิกของคณะกรรมาธิการเตรียมความพร้อมสำหรับสภาท้องถิ่นของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์รัสเซีย
  • ค.ศ. 1990 – สมาชิกของคณะกรรมการขอความช่วยเหลือในการเอาชนะผลกระทบจากภัยพิบัติเชียร์โนบีล
  • ค.ศ. 1990 - 1991 – ผู้บริหารชั่วคราวของมุขมณฑลเฮกและเนเธอร์แลนด์
  • ค.ศ. 1990 - 1993 – ผู้บริหารชั่วคราวของมุขมณฑลคอร์ซุน
  • ค.ศ. 1990 - 1993 – ประธานคณะกรรมการสมัชชาศักดิ์สิทธิ์เพื่อฟื้นฟูศาสนาและจริยธรรม[2]

การศึกษาและการกุศล แก้

  • ค.ศ. 1990 - 2000 – ประธานคณะกรรมการสมัชชาศักดิ์สิทธิ์สำหรับการแก้ไขธรรมนูญของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ซึ่งกฎหมายนี้ถูกนำมาใช้โดยสภามุขนายกเมื่อปี ค.ศ. 2000
  • ค.ศ. 1994 - 2002 – สมาชิกของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการฟื้นฟูของคริสตจักรแห่งพระคริสต์พระผู้ช่วยให้รอด
  • ค.ศ. 1994 - 1996 – สมาชิกของสภากระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียในการกำหนดนโยบายต่างประเทศและผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบเข้าไปในรัสเซีย
  • ค.ศ. 1995 - 2000 – ประธานการประชุมทางศาสนาเพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในการรักษาความสัมพันธ์และปัญหาของสังคมสมัยใหม่ทั้งหมด
  • ค.ศ. 1995 - 1999 – สมาชิกของคณะกรรมการจัดงานเหตุการณ์อนุสรณ์ครบ 50 ปี การสิ้นสุดมหาสงครามของผู้รักชาติ
  • ค.ศ. 1996 - 2000 – สมาชิกของคณะกรรมการกำกับดูแลมูลนิธิครบรอบ 50 ปี แห่งชัยชนะในมหาสงครามของผู้รักชาติ
  • ค.ศ. 2006 - 2008 – ผู้นำของกลุ่มชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ
  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 – ประธานสภาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและจริยธรรมฝ่ายความสัมพันธ์ภายนอกโบสถ์ (ปัจจุบันสภาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและจริยธรรมอยู่ภายใต้อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง)
  • ในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2006 อัครบิดรคีริลล์ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เซนต์อะเลคซันดร์ เนฟสกี จากแกรนด์ดัชเชสมาเรีย วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย[2]

พิธีกร แก้

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 อัครบิดรคีริลล์ได้เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ประจำสัปดาห์ "วจนะของชุมพาบาล" (รัสเซีย: Слово пастыря) ออกอากาศทางช่องหนึ่งอัสตานกินะและช่องหนึ่งรัสเซีย[2]

อัครบิดรแห่งมอสโก แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Religious Belief and National Belonging in Central and Eastern Europe". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 10 May 2017. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "Биография Святейшего Патриарха Московского и всея Руси Кирилла". Official Website of the Moscow Patriarchate. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
  3. 3.0 3.1 "Patriarch Kirill of Moscow and All Russia". Official Website of the Department of External Church Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-09. สืบค้นเมื่อ 21 August 2012.
  4. "His Holiness the Patriarch". The Russian Orthodox Church. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 14 August 2017.
  5. "ความเป็นมาของการเริ่มก่อตั้งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย". มูลนิธิชาวคริสต์ศาสนิกชนออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 14 August 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้