อักษรตัวใหญ่ (อังกฤษ: capital letter, majuscule) คือกลุ่มของอักษรประเภทหนึ่งในระบบการเขียน เช่นในอักษรละติน: A, B, C, D, ... อักษรตัวใหญ่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "upper case" เนื่องจากการจัดเก็บตัวพิมพ์ของอักษรชนิดนี้ไว้ชั้นบนของลิ้นชักโดยโยฮันน์ กูเทนแบร์ก (Johannes Gutenberg) ผู้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์แบบถอดได้สำหรับงานพิมพ์ ซึ่งอักษรตัวเล็กที่ใช้บ่อยกว่าจะเก็บอยู่ในลิ้นชักชั้นล่าง

การเก็บตัวพิมพ์แยกระหว่างตัวใหญ่กับตัวเล็ก
อักษรกรีก บีตา ตัวใหญ่อยู่ทางซ้าย

ระบบการเขียนหลายระบบไม่มีความแตกต่างระหว่างอักษรตัวใหญ่กับตัวเล็ก เช่น อักษรอาหรับ อักษรจีน อักษรเทวนาครี รวมทั้งอักษรไทย แม้แต่ภาษาในแถบยุโรปเมื่อก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็ยังไม่มีความแตกต่าง กล่าวคือแม้จะมีรูปอักษรตัวใหญ่และตัวเล็กอยู่แล้ว แต่ข้อความที่เขียนขึ้นจะใช้เพียงประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช้รวมกัน

การใช้งาน

แก้

ในภาษาที่มีการใช้ความแตกต่างของอักษร อักษรตัวใหญ่ใช้ในกรณีต่อไปนี้

  1. การเน้นหัวเรื่อง (capitalization)
  2. การเน้นคำ (emphasis) ในบางภาษา
  3. อักษรย่อและคำย่อ
  4. การเขียนหรือการพิมพ์เพื่อความอ่านง่าย เช่นป้ายจราจรหรือฉลาก