อะบูซัยยาฟ (อาหรับ: جماعة أبو سياف; ตากาล็อกและอังกฤษ: Abu Sayyaf) เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนนิยมอิสลามกลุ่มหนึ่งทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ อยู่ในเขตบังซาโมโร (โกโล บาซีลัน และมินดาเนา) ที่ซึ่งมีกลุ่มต่าง ๆ ต่อสู้มานานเกือบ 30 ปี เพื่อจัดตั้งรัฐอิสลามแยกออกจากฟิลิปปินส์ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์ ชื่อของกลุ่มมาจากภาษาอาหรับ อะบู หมายถึง พ่อ และซัยยาฟ หมายถึง ทหาร

อะบูซัยยาฟ
มีส่วนร่วมในความขัดแย้งในประเทศฟิลิปปินส์
การโจมตีโมโรในมาเลเซียและสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ปฏิบัติการพ.ศ. 2534 – ปัจจุบัน
แนวคิดIslamism
Islamic fundamentalism
ผู้นำAbdurajik Abubakar Janjalani  [a]
Khadaffy Janjalani  [b]
Radullan Sahiron[1][2]
อิสนิลอน โตโตนิ ฮาปิลอน [c][3][4]
Mahmur Japuri [5]
กองบัญชาการจังหวัดซูลู, ประเทศฟิลิปปินส์
พื้นที่ปฏิบัติการฟิลิปปินส์, มาเลเซีย
กำลังพล300+[6]
พันธมิตร14K Triad[7]
อัลกออิดะฮ์ (เดิม)
รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์[8][9]
ปรปักษ์ฟิลิปปินส์ รัฐบาลฟิลิปปินส์[10]
ออสเตรเลีย รัฐบาลออสเตรเลีย[11]
มาเลเซีย รัฐบาลมาเลเซีย[12]
สหรัฐ รัฐบาลสหรัฐ[13]
เวียดนาม รัฐบาลเวียดนาม

ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 กลุ่มนี้ใช้การลอบวางระเบิด ลอบสังหาร ลักพาตัว และการข่มขู่ในการต่อสู้เพื่อจัดตั้งรัฐอิสลามในมินดาเนาตะวันตกและหมู่เกาะซูลู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรัฐอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่มินดาเนาในฟิลิปปินส์ทางตะวันออกไปจนถึงมาเลเซีย ไทย และพม่าทางตะวันตก รวมทั้งแผนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อต่อต้านคริสตจักรโรมันคาทอลิกในฟิลิปปินส์ สหรัฐจัดให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มก่อการร้าย

ที่ตั้งและภาพรวม แก้

 
แสดงคาบสมุทรซัมบวงกาด้วยสีแดง เกาะบาซีลันอยู่ทางปลายตะวันตกเฉียงใต้

จุดเริ่มต้นของอะบูซัยยาฟอยู่ที่เมืองอีซาเบลา ทางเหนือของเกาะบาซีลัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดบาซีลัน อะบูซัยยาฟเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่แข็งแกร่งกลุ่มหนึ่งในบรรดาขบวนการแบ่งแยกดินแดนในมินดาเนา สมาชิกอะบูซัยยาฟบางส่วนเคยเรียนหรือทำงานในซาอุดีอาระเบีย และเคยเข้าร่วมกับมูจาฮิดีนในการต่อต้านการรุกรานอัฟกานิสถานของโซเวียต อะบูซัยยาฟมีความร่วมมือกลับกลุ่มญะมาอะห์ อิสลามียะห์ในอินโดนีเซีย และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอัลกออิดะฮ์

 
เกาะบาซีลัน แสดงเมืองอีซาเบลาด้วยสีแดง
 
เกาะโยโลในหมู่เกาะซูลู

ประวัติ แก้

ในช่วง พ.ศ. 2513 แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโรเป็นกลุ่มกบฏมุสลิมกลุ่มหลักในบาซีลันและมินดาเนา ในช่วง พ.ศ. 2520 – 2523 อับดูรอจิก อาบูบาการ์ จันจาลอนี พี่ชายของ คาดาฟฟี จันจาลอนี ผู้ไปศึกษาภาษาอาหรับในลิเบีย ซีเรีย และซาอุดีอาระเบียได้เข้าร่วมการต่อต้านโซเวียตในอัฟกานิสถาน และได้พบกับบิน ลาดิน บิน ลาดินได้ให้เงินสนับสนุน 6 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร และมีการจัดตั้งเขตปกครองตนเองของมุสลิมมินดาเนาเพื่อแก้ปัญหาใน พ.ศ. 2532

อะบูซัยยาฟภายใต้การนำของ อับดูรอจิก จันจาลอนี แก้

อับดูรอจิกกลับสู่บาซีลันเมื่อ พ.ศ. 2533 และแบ่งแยกตัวออกจากแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโรมาจัดตั้งกลุ่มอะบูซัยยาฟ กลุ่มนี้เริ่มปฏิบัติการใน พ.ศ. 2534 และเริ่มดำเนินการด้วยการก่อการร้ายครั้งแรกด้วยการโจมตีเมืองไอปีบนเกาะมินดาเนาเมื่อ พ.ศ. 2538 อะบูซัยยาฟลอบวางระเบิดหลายแห่งในฟิลิปปินส์ อับดูรอจิก จันจาลอนี ถูกสังหารเมื่อ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในการต่อสู้กับตำรวจฟิลิปปินส์ที่เกาะบาซีลัน ขณะมีอายุ 39 ปี การตายของเขาเป็นจุดเปลี่ยนของอะบูซัยยาฟ เมื่อน้องชายของเขา คาดาฟฟี จันจาลอนี ขึ้นเป็นผู้นำแทน

อะบูซัยยาฟภายใต้การนำของ คาดาฟฟี จันจาลอนี แก้

คาดาฟฟี จันจาลอนีขึ้นเป็นผู้นำอะบูซัยยาฟเมื่ออายุ 23 ปี กลุ่มนี้ได้เปลี่ยนมาใช้การลักพาตัวเพื่อเรียกร้องเงินและอิงศาสนาน้อยลง กลุ่มนี้ขยายตัวไปมาเลเซียเมื่อ พ.ศ. 2543

ขุมกำลัง แก้

คาดว่ามีนักรบหลักประมาณ 100 คน รายได้หลักมาจากเงินค่าไถ่ตัวประกันต่างชาติและอาจได้เงินสนับสนุนจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในเอเชียใต้และตะวันออกกลาง

เชิงอรรถ แก้

  1. ถูกสังหาร 8 ธันวาคม ค.ศ. 1998
  2. ถูกสังหาร 4 กันยายน ค.ศ. 2006
  3. ถูกสังหาร 16 ตุลาคม ค.ศ. 2017

อ้างอิง แก้

  1. rewardsforjustice.net เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 25, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "FBI – RADDULAN SAHIRON". FBI. สืบค้นเมื่อ November 13, 2014.
  3. "Senior Abu Sayyaf leader swears oath to ISIS". Rappler. สืบค้นเมื่อ July 18, 2015.
  4. David Von Drehle (26 February 2015). "What Comes After the War on ISIS". TIME.com. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  5. "Abu Sayyaf sub-leader killed in Sulu encounter". InterAksyon.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2015.
  6. "US To Dissolve Anti-Terror Group, JSOTF-P, In Philippines After 10 Years Of Fighting Abu Sayyaf". Sneha Shankar. สืบค้นเมื่อ January 2, 2015.
  7. Miani 2011, p. 74.
  8. Paterno Emasquel II (September 17, 2014). "Philippines condemns, vows to 'thwart' ISIS". Rappler. สืบค้นเมื่อ September 19, 2014.
  9. "ISIS Now Has Military Allies in 11 Countries -- NYMag". Daily Intelligencer. สืบค้นเมื่อ November 25, 2014.
  10. "Abu Sayyaf declared as terrorist organization in Philippines". Iran Daily. 10 September 2015. สืบค้นเมื่อ 20 November 2015.
  11. "Australian National Security, Terrorist organisations,Abu Sayyaf Group". Australian Government. 12 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 30 November 2015.
  12. "Hunt down the killers, CM tells Manila". Daily Express. 19 November 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-20. สืบค้นเมื่อ 20 November 2015.
  13. Joel Locsin (20 June 2015). "US govt lists NPA, Abu Sayyaf, JI among foreign terrorist organizations in PHL". GMA News. สืบค้นเมื่อ 20 November 2015.

บรรณานุกรม แก้

  • ดลยา เทียนทอง (2007). ปฐมบทการก่อการร้าย: รากเหง้า ความเป็นไป และพลวัต. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. pp. 57–58. ISBN 9789749897089.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้