อาชิกางะ โยชิมาซะ

(เปลี่ยนทางจาก อะชิกะงะ โยะชิมะซะ)

อาชิกางะ โยชิมาซะ (ญี่ปุ่น: 足利 義政โรมาจิAshikaga Yoshimasa; 20 มกราคม ค.ศ. 1436 – 27 มกราคม ค.ศ. 1490)[1] เป็นโชกุนคนที่ 8 แห่งตระกูลอาชิกางะ ดำรงตำแหน่งช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1449 ถึง ค.ศ. 1473 ในสมัยของโชกุนโยชิมาซะได้ชื่อว่าเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความเสื่อมถอยของรัฐบาลโชกุนอาชิกางะจากเหตุการณ์สงครามโอนิง

อาชิกางะ โยชิมาซะ
足利 義政
ภาพอาชิกางะ โยชิมาซะ เชื่อว่าเป็นของโทซะ มิตสึโนบุ วาดในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 15)
โชกุน
ดำรงตำแหน่ง
1449–1474
กษัตริย์
ก่อนหน้าอาชิกางะ โยชิกัตสึ
ถัดไปอาชิกางะ โยชิฮิซะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มกราคม ค.ศ. 1436(1436-01-20)
เสียชีวิต27 มกราคม ค.ศ. 1490(1490-01-27) (54 ปี)
คู่สมรสฮิโนะ โทมิโกะ
บุพการี
ลายมือชื่อ

ประวัติ แก้

อาชิกางะ โยชิมาซะ เป็นบุตรชายของโชกุนองค์ที่ 6 อาชิกางะ โยชิโนริ (ญี่ปุ่น: 足利 義教โรมาจิAshikaga Yoshinori) กับมิไดโดะโกะโระ ฮิโนะ ชิเงโกะ (ญี่ปุ่น: 日野 重子โรมาจิHino Shigeko) มีชื่อในวัยเด็กว่า มิฮารุ (三春).[2] โยชิชิเงะมีพี่ชายคือ อาชิกางะ โยชิกัตสึ (ญี่ปุ่น: 足利 義勝โรมาจิAshikaga Yoshikatsu) ใน ค.ศ. 1441 เมื่อโยชิชิเงะมีอายุห้าปี โชกุนโยะชิโนะริผู้เป็นบิดาถูกเจ้าครองแคว้นที่ชื่อว่า อากามัตสึ มิตสึซูเกะ (ญี่ปุ่น: 赤松 満祐โรมาจิAkamatsu Mitsusuke) ทำการลอบสังหารถึงแก่อสัญกรรมยามานะ โซเซ็ง (ญี่ปุ่น: 山名 宗全โรมาจิYamana Sōzen) นำทัพเข้าปราบและสังหารอากามัตสึ มิตสึซูเกะ

ณ วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1443 (วันที่ 21 เดือน 7 ปีคากิตสึที่ 3) โยชิกัตสึ ผู้ดำรงตำแหน่งโชกุนอายุ 10 ปี ปกครองได้เพียงสองปี ก็ประสบอุบัติเหตุตกจากม้าถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1443 โดยไม่มีทายาท อาชิกางะ โยชิชิเงะ ขณะอายุเพียงเจ็ดปีจึงถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งโชกุนต่อจากพี่ชาย[3] แต่ทว่าโยชิชิเงะยังเยาว์วัยเกินกว่าที่จะรับตำแหน่ง ทำให้ตำแหน่งโชกุนว่างลงเป็นเวลาหกปี ในระหว่างนั้นมี ฮาตาเกยามะ โมจิกูนิ (ญี่ปุ่น: 畠山 持国โรมาจิHatakeyama Mochikuni) ซึ่งดำรงตำแหน่งคันเร (ญี่ปุ่น: 管領โรมาจิKanrei) เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เมื่อโยชิชิเงะอายุสิบสามปีใน ค.ศ. 1449 จึงเข้ารับตำแหน่งโชกุนและเปลี่ยนชื่อเป็น อาชิกางะ โยชิมาซะ[4]

เนื่องจากโชกุนโยะชิมะซะไม่มีบุตรชาย จึงมอบหมายให้น้องชายของตนคืออะชิกะงะ โยะชิมิ (ญี่ปุ่น: 足利 義視โรมาจิAshikaga Yoshimi) เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งโชกุนในค.ศ. 1464 โดยที่อะชิกะงะ โยะชิมิ ได้รับการสนับสนุนจากคังเรโฮะโซะกะวะ คะซึโมะโตะ (ญี่ปุ่น: 細川 勝元โรมาจิHosokawa Katsumoto) แต่ทว่า มิไดโดะโกะโระฮิโนะ โทะมิโกะ (ญี่ปุ่น: 日野 富子โรมาจิHino Tomiko) ได้ให้กำเนิดบุตรชายแก่โชกุนโยะชิมะซะอย่างไม่คาดฝันในค.ศ. 1465 ชื่อว่า อะชิกะงะ โยะชิฮิซะ (ญี่ปุ่น: 足利 義尚โรมาจิAshikaga Yoshihisa) ทำให้เกิดประเด็นปัญหาการสืบทอดตำแหน่งโชกุน โดยที่ยะมะนะ โซเซ็ง (ญี่ปุ่น: 山名 宗全โรมาจิYamana Sōzen) พ่อตาและคู่แข่งทางการเมืองของคังเรคะซึโมะโตะได้ใช้โอกาสนี้ให้การสนับสนุนแก่โยะชิฮิซะที่ยังเยาว์วัย จากประเด็นปัญหาการสืบทอดตำแหน่งโชกุนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างซะมุไร ทั้งคังเรคะซึโมะโตะและยะมะนะโซเซ็งต่างซ่องสุมกำลังของตน โดยที่โฮะโวะกะวะตั้งมั่นอยู๋ทางตะวันออกของนครเกียวโต ในขณะที่ยะมะนะตั้งอยู่ทางตะวันตก เรียกว่า สงครามปีโอนิง (ญี่ปุ่น: 応仁の乱โรมาจิŌnin no Ran) ซึ่งปะทุขึ้นในค.ศ. 1467 เมื่อทัพของทั้งสองฝ่ายเข้าห้ำหั่นกันกลางเมืองเกียวโต สร้างความเสียหายให้แก่วัดวาอารามและศาลเจ้าทั้งหลายในเมืองเกียวโต ในค.ศ. 1473 ทั้งโฮะโซะกะวะ คะซึโมะโตะ และยะมะนะ โซเซ็ง ต่างล้มป่วยเสียชีวิต แม้กระนั้นสงครามยังไม่สิ้นสุดลง เนื่องจากโออุชิ มะซะฮิโระ (ญี่ปุ่น: 大内 政弘โรมาจิŌuchi Masahiro) ยังคงให้การสนับสนุนแก่โยะชิมิ

 
คฤหาสน์ศาลาเงิน[ลิงก์เสีย] ซึ่งไม่ได้รับการปิดด้วยเงิน ต่อมากลายเป็นวัดกิงกะกุ

ใน ค.ศ. 1473 โชกุนโยชิมาซะได้ยกตำแหน่งโชกุนให้แก่บุตรชายของตนคือ อะชิกะงะ โยะชิฮิซะ โชกุนโยะชิมะซะสละตำแหน่งโชกุน กลายเป็นโอโงะโชะ

หลังจากสู้รบยาวนานสิบปี ทำให้ทั้งสองฝ่ายเหนื่อยล้า และโออุชิ มะซะฮิโระเดินทางออกจากเมืองเกียวโตไปในที่สุดเมื่อค.ศ. 1477 สงครามโอนิงที่ดำเนินยืดเยื้อมากว่าสิบปีจึงสิ้นสุดลง

โอโงะโชะโยะชิมะซะสร้างคฤหาสน์ศาลาเงิน (ญี่ปุ่น: 銀閣โรมาจิGinkaku) ขึ้นในค.ศ. 1482 บนเขาฮิงะชิยะมะทางตะวันออกของนครเกียวโต เพื่อเป็นที่พำนึกในบั้นปลายชีวิตให้แก่ตนเองเฉกเช่นเดียวกับโชกุน อะชิกะงะ โยะชิมิสึ ซึ่งได้สร้างคฤหาสน์ศาลาทอง สมัยของโชกุนโยะชิมะซะเป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมอีกสมัยหนึ่ง เรียกว่า สมัยวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (ญี่ปุ่น: 東山文化โรมาจิHigashiyama-bunka) ชนชั้นซะมุไรยังคงรับวัฒนธรรมจากจีนราชวงศ์หมิงอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาศิลปะด้านการจัดสวน การจัดดอกไม้ ละครโนะ และจิตรกรรมหมึก 

หลังจากสงครามปีโอนิง รัฐบาลโชกุนฯตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคังเรและตระกูลโฮะโซะกะวะ หลังจากที่โฮะโซะกะวะ คะซึโมะโตะ เสียชีวิต โฮะโซะกะวะ มะซะโมะโตะ (ญี่ปุ่น: 細川 政元โรมาจิHosokawa Masamoto) บุตรชายของคะซึโมะโตะ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นคังเรและสืบทอดอำนาจต่อจากบิดา โชกุนโยะชิฮิซะถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1487 โดยปราศจากทายาท โอโงะโชะโยะชิมะซะจึงฟื้นฟูความสัมพันธ์กับโยะชิมิผู้เป็นน้องชาย และให้บุตรชายของโยะชิมิคือ อะชิกะงะ โยะชิตะเนะ (ญี่ปุ่น: 足利 義稙โรมาจิAshikaga Yoshitane) เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งโชกุน โอโงะโชะโยะชิมะซะถึงแก่อสัญกรรมเมื่อค.ศ. 1490 โยะชิตะเนะจึงขึ้นดำรงตำแหน่งโชกุนต่อมา 

ครอบครัว แก้

สมัยบากูฟุของโยชิมาซะ แก้

ปีที่โยชิมาซะดำรงตำแหน่งเป็น โชกุน มีชื่อสมัย หรือ เน็งโง มากกว่าหนึ่งชื่อ[5] เลขในวงเล็บคือปีคริสต์ศักราช

อ้างอิง แก้

  1. "Ashikaga Yoshimasa" in The New Encyclopædia Britannica. Chicago: Encyclopædia Britannica Inc., 15th edn., 1992, Vol. 1, p. 625.
  2. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, p. 342., p. 342, ที่ Google Books
  3. Titsingh, p. 342, p. 342, ที่ Google Books; Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779–1822, p. 234 n.10; n.b., Yoshikatsu (b. 1434 – d. 1443) = 8yrs. In this period, "children were considered one year old at birth and became two the following New Year's Day; and all people advanced a year that day, not on their actual birthday."
  4. Titsingh, p. 346., p. 346, ที่ Google Books
  5. Titsingh, pp. 331–361., p. 331, ที่ Google Books

บรรณานุกรม แก้

  • Ackroyd, Joyce. (1982) Lessons from History: The Tokushi Yoron. Brisbane: University of Queensland Press. ISBN 9780702214851; OCLC 7574544
  • Keene, Donald. (2003). Yoshimasa and the Silver Pavilion: The Creation of the Soul of Japan. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-13056-1; OCLC 52268947
  • Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 585069