อรุณ กิติยากร ณ อยุธยา

(เปลี่ยนทางจาก อรุณ กิติยากร)

ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม: สนิทวงศ์ ณ อยุธยา; 24 ธันวาคม พ.ศ. 2470 − 29 กันยายน พ.ศ. 2551) เป็นภริยาของหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร และพระเชษฐภคินี (พี่สะใภ้) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เป็นธิดาของหม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์ (หลวงจรูญสนิทวงษ์) กับหม่อมหลวงรวง จรูญสนิทวงศ์ สำเร็จการศึกษาจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ และกลับมาเป็นครูที่โรงเรียนสาธิตประสานมิตร ภายหลังได้ลาออกมาประกอบอาชีพส่วนตัว [1]

ท่านผู้หญิง

อรุณ กิติยากร ณ อยุธยา
เกิดอรุณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
24 ธันวาคม พ.ศ. 2470
บ้านถนนบรรทัดทอง จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต29 กันยายน พ.ศ. 2551 (80 ปี)
ประเทศไทย
คู่สมรสหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
บุตรหม่อมหลวงพลายชุมพล กิติยากร
หม่อมหลวงสิริณา จิตตาลาน
บิดามารดาหม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์
หม่อมหลวงรวง จรูญสนิทวงศ์

ท่านผู้หญิงอรุณเป็นคุณหญิงจากการรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า เมื่อ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2530

ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา สมรสกับหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร มีบุตรธิดา 2 คน [2] คือ

  1. ร้อยโท หม่อมหลวงพลายชุมพล กิติยากร (12 สิงหาคม 2501 − 26 ธันวาคม 2559)[3] สมรสกับอภิญญา (สกุลเดิม สุวรรณวิหค)
  2. หม่อมหลวงสิริณา กิติยากร สมรสกับปิยะ จิตตาลาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา[ลิงก์เสีย] ข่าวในพระราชสำนัก, วันที่ 29 มกราคม 2552
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2007-12-01.
  3. "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ร้อยโท หม่อมหลวงพลายชุมพล กิติยากร". เจ้าพระยานิวส์. 19 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2534" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (78ง ฉบับพิเศษ): 5. 3 พฤษภาคม 2534. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)