อรพรรณ พานทอง
อรพรรณ พานทอง ชื่อเล่น นิด (13 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ) เป็นนักแสดงและผู้บริหารชาวไทย เป็นประธานบริษัทโพลีพลัส มีชื่อเสียงจากการรับบทในภาพยนตร์รักวัยรุ่น ของศุภักษร ช่วงปี พ.ศ. 2525 - 2538
อรพรรณ วัชรพล | |
---|---|
เกิด | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2510 อรพรรณ พานทอง |
คู่สมรส | สราวุธ วัชรพล(2537-ปัจจุบัน) |
บุตร | 3 คน |
อาชีพ | นักแสดง นักร้อง พิธีกร ยูทูบเบอร์ นักธุรกิจ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2525 - 2538 |
ผลงานเด่น | แก้วกลางดง (พ.ศ. 2530) ผีกุ๊กกิ๊ก (พ.ศ. 2530) มายา (พ.ศ. 2531) ตะวันชิงพลบ (พ.ศ. 2534) |
โทรทัศน์ทองคำ | พ.ศ. 2531 - รางวัลผู้ดำเนินรายการหญิงดีเด่น จากรายการ เล็กพริกขี้หนู |
ประวัติ
แก้อรพรรณ พานทอง เป็นบุตรีของนิพนธ์ กับ กรรณิการ์ พานทอง ส่วนนามสกุล พานทอง ของเธอก็เป็นก็ไปตรงกับนามสกุลจริงของ ชาย เมืองสิงห์ นักร้อง-นักแต่งเพลงลูกทุ่ง อีกด้วย จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ [1] ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีศรีอยุธยา และระดับปริญญาตรีจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าสู่วงการจากการชักนำของศุภักษร โดยเล่นภาพยนตร์สั้นสำหรับประกวดทางโทรทัศน์ เรื่อง เธอกับฉัน [2] และเป็นนางแบบถ่ายแฟชั่นในนิตยสารวัยรุ่น จากนั้นได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง (2525) คู่กับ จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก และ นันทิดา แก้วบัวสาย ต่อด้วยภาพยนตร์ เรื่อง กุนซืออ้วน (2525) คู่กับ ทนงศักดิ์ ศุภการ โดยกุนซืออ้วน รับบทโดยจุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก และได้แสดงภาพยนตร์วัยรุ่นต่อมาอีกหลายเรื่อง โดยเรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วันวานยังหวานอยู่ (2526) คู่กับอรรถพล ประเสริฐยิ่ง และ วันนี้ยังมีเธอ (2526) คู่กับวงศกร รัศมิทัต สองนักร้องนำจากวงแมคอินทอช จากนั้นได้หันไปแสดงละครโทรทัศน์
ภายหลังจากอรพรรณ พานทอง สมรสกับ สราวุธ วัชรพล เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เธอได้ออกจากวงการแสดง และผันไปเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ก่อตั้งโพลีพลัส ผู้จัดรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ ปัจจุบัน อรพรรณดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท โพลีพลัส เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด และมีบริษัทในเครือครอบคลุม ตั้งแต่ธุรกิจพีอาร์ จัดงานอีเวนต์ ออกาไนเซอร์ ในนามโพลีพลัส ออกาไนเซอร์ มีงานผลิตรายการถ่ายทำในสตูดิโอ ในนามโพลีพลัส สตูดิโอ, งานผลิตสิ่งพิมพ์ ในนามโพลีพลัส พับลิชชิ่ง จำกัด เจ้าของนิตยสารสังคมบันเทิง Oops! ที่นำเสนอข่าวบันเทิง และยังมีบริษัท โพลีพลัส เอ็กซ์ตร้า จำกัด เพื่อเป็น Production House รับผลิตงานด้านโทรทัศน์ทุกประเภทให้กับองค์กรอื่น เช่น โฆษณา[3]
อรพรรณ พานทอง เคยมีผลงานร้องเพลง อัลบั้ม "ตัวนิด...นิด" สังกัดแกรมมี่ [4]
อรพรรณ พานทอง มีลูกสาว 1 คน คือ สรัย วัชรพล และลูกชาย 2 คน คือ สราลัญ วัชรพล และ สรัญวุฐิ วัชรพล
ผลงานการแสดง
แก้ละครโทรทัศน์
แก้ปี | ละคร | รับบทเป็น | คู่กับ | ทางสถานี |
---|---|---|---|---|
2526 | เธอกับฉัน *ภาพยนตร์โทรทัศน์ชิงรางวัลดาวเทียมทองคำ* | ทนงศักดิ์ ศุภการ | ช่อง 7 | |
2529 | มัตติกา | อภิชาติ หาลำเจียก | ช่อง 7 | |
แม่ปูเปรี้ยว | ฉัตรชัย เปล่งพานิช | ช่อง 7 | ||
2530 | ผีกุ๊กกิ๊ก | ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา | ช่อง 7 | |
แก้วกลางดง | เมียวดี | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | ช่อง 7 | |
2531 | มายา | บุษบามินตรา อุทัยธนิต (มิ้นท์) | สถาพร นาควิลัย | ช่อง 7 |
มุกดามะดัน | ปัญญา นิรันดร์กุล | ช่อง 7 | ||
รอยพยาบาท | สาวิตรี | ชัยรัตน์ จิตธรรม | ช่อง 5 | |
บุญเติมร้านเดิมที่ใหม่ | มนตรี เจนอักษร | ช่อง 9 | ||
2532 | แต่งกับงาน | อนันต์ บุนนาค | ช่อง 7 | |
หน้ากากแก้ว | อริชัย อรัญนารถ | ช่อง 7 | ||
กว่าจะถึง(ท่า)พระจันทร์ | สมชาย เปรมประภาพงษ์ | ช่อง 9 | ||
ปริศนาของเวตาล | ศตวรรษ ดุลยวิจิตร | ช่อง 7 | ||
สมการวัย | ทนงศักดิ์ ศุภการ | ช่อง 7 | ||
2533 | เศรษฐีตีนเปล่า | ศตวรรษ ดุลยวิจิตร | ช่อง 7 | |
หงส์ทอง | ลิขิต เอกมงคล | ช่อง 7 | ||
2534 | ตะวันชิงพลบ | ศตวรรษ ดุลยวิจิตร | ช่อง 7 | |
2535 | ชีวิตเปื้อนฝุ่น | ยุทธพิชัย ชาญเลขา | ช่อง 7 | |
2536 | เรือใบไม้ | จอนนี่ แอนโฟเน่ | ช่อง 7 | |
คู่ชื่นชุลมุน | โม | สัญญา คุณากร | ช่อง 5 | |
พายุอารมณ์ | ดา | เมทนี บุรณศิริ | ช่อง 3 |
ผลงานภาพยนตร์
แก้- อาจารย์อ้วนสติเฟื่อง (2525)
- กุนซืออ้วน (2525)
- วันวานยังหวานอยู่ (2526)
- วันนี้ยังมีเธอ (2526)
- แก๊งค์ไอติม (2526)
- ป.ล. ผมรักคุณ (2527)
- สวัสดีความรัก (2528)
- รักกันเล่น ๆ (ไม่เห็นเป็นไร) (2529)
- เรารักกันนะที่ปักกิ่ง (2530)
- เธอกับเขา และรักของเรา (2530)
- เปิดโลกวัยทะเล้น (2530)
- พิศวาส (2530)
- หมอกสวาท (2531)
- คนใจสู้ (2531)
ละครเวที
แก้- 2533 มนต์เพลงขนมครก คู่กับ เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์
- 2535 ศึกรักประกาศิต
พิธีกร
แก้- เล็กพริกขี้หนู (2531-2535) ช่อง 7 สี
(ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้ดำเนินรายการดีเด่นหญิง ปี 2531)
- เจ็ดสี่ยี่สิบแปด (2537-2538) ช่อง 3
- ที่นี่มีเพื่อน (2537-2538) และ (2539) ช่อง 7 สี
- รายการ Only One Sunday ช่อง 3
- รายการ ท้าพิสูจน์ ช่อง 7
- รายการ นาทีทอง ช่อง7
- รายการ เพื่อนกันวันเสาร์ ช่อง 5
ซิตคอม
แก้- ตะกายดาว ตอน ดาวเทวดา (2533) ช่อง 9
เพลง
แก้- อัลบั้ม ตัว นิด..นิด (2535) แกรมมี่
ผู้กำกับละคร
แก้- รักแท้แค่ขอบฟ้า
- คู่รัก 2 ชาติ
- รักเล่ห์เพทุบาย
- ยอดยาหยี
- เขาวานให้หนูเป็นสายลับ
- ปริศนา
- กากเพชร
- เจ้าสาวมืออาชีพ
- วังวารี
- มายา
- นังเหมียวย้อมสี
- ตกกระไดหัวใจพลอยโจน
- เจ้าชายหัวใจเกินร้อย
- เจ้าสาวสายฟ้าแลบ
- บ้านนี้ผี(ไม่)ปอบ
- เหยี่ยวสาวมือใหม่
- นางนกต่อ
- รักเกินพิกัดแค้น
- ขอพลิกฟ้าตามล่าเธอ
- แตงสากับอาฉี
- หวานใจไทยแลนด์
- นางฟ้าไร้ปีก
- นางสาวจริงใจกับนายแสนดี
- เล่ห์ร้ายอุบายรัก
- เสน่ห์รักนางซิน
- เจ๊ดันฉันรักเธอ
- สะใภ้ทอร์นาโด
- สองเรานิรันดร
- สองเสน่หา
- รักหรรษาคาราโอเกะ
- ต่างฟ้าตะวันเดียว
- อมฤตาลัย
- คมรัก คมเสน่หา
- รหัสริษยา
- แรมพิศวาส
- อภิมหึมามหาเศรษฐี
- รักเธอทุกวัน
- น้องเหมียวเขี้ยวเพชร
- บุพเพเล่ห์รัก
- ดั่งดวงหฤทัย
- พยัคฆ์สาวแซ่บอีหลี
- คู่กิ๊กพริกกะเกลือ
- ดาวเปื้อนดิน
- รักซ่อนแค้น
- หมวยอินเตอร์
- เจ้าหญิงลำซิ่ง
- มนต์รักข้าวต้มมัด
- แจ๋วใจร้ายกับคุณชายเทวดา
- สะใภ้ไกลปืนเที่ยง
- บ่วงร้ายพ่ายรัก
- พระจันทร์ลายพยัคฆ์
- ระบำดวงดาว
- เธอกับเขาและรักของเรา
- รักไม่มีวันตาย
- คู่แค้นแสนรัก
- ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม
- รักออกอากาศ
- ชิงนาง
- ตะวันทอแสง
- บ่วงบาป
- ซินเดอเรลล่ารองเท้าแตะ
- กุหลาบร้ายของนายตะวัน
- เสน่หาสัญญาแค้น
- บ้านศิลาแดง
- นางชฎา
- สภ. รอรัก
- เลือดตัดเลือด
- เพื่อนรัก เพื่อนริษยา
- มายา
- คุณชายไก่โต้ง
- บ่วงรักซาตาน
- ไฟหิมะ
- คู่แค้นแสนรัก
ผู้กำกับรายการ
แก้- 3 แซบ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 13:15 น. ตั้งแต่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน ทางดิจิตอลทีวี ช่อง 3 เอชดี (ช่อง 33)
- ศึก 12 ราศี ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.15- 13.00 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2549-ปัจจุบัน ทางดิจิตอลทีวี ช่อง 3 เอชดี (ช่อง 33)
- ตลาดสดพระราม 4 ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.30 -17.15 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2559-ปัจจุบัน ทางดิจิตอลทีวี ช่อง 3 เอชดี (ช่อง 33)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[5]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ นิด อรพรรณ พานทอง / วัชรพลสาวน้อยน่ารักจากภาพยนตร์วันวานยังหวานอยู่
- ↑ กระทู้จาก thaifilm.com[ลิงก์เสีย]
- ↑ จิราจารีย์ ชัยมุสิก, อรพรรณ วัชรพล สะใภ้ไทยรัฐ Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550
- ↑ ฟังเพลงจากอัลบั้ม ตัวนิด...นิด[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒