อนุกรมบัลเมอร์

(เปลี่ยนทางจาก อนุกรมบาลเมอร์)

อนุกรมบัลเมอร์ (Balmer series) เป็นชุดของเส้นสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจนในย่านสเปกตรัมที่มองเห็นได้ไปจนถึงรังสีอัลตราไวโอเลตใกล้ ในบรรดาเส้นสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน 4 เส้นต่อไปนี้ได้รับการยืนยันในบริเวณแสงที่มองเห็นได้ และตั้งชื่อตามลำดับอักษรกรีก

  • เส้น : 656.28 nm
  • เส้น Hβ: 486.13 nm
  • เส้น Hγ: 434.05 nm
  • เส้น Hδ: 410.17 nm
การเปลี่ยนระดับพลังงานของอะตอมไฮโดรเจนซึ่งปล่อยแสงในอนุกรมบัลเมอร์

ในปี 1885 โยฮัน ยาค็อพ บัลเมอร์ ชาวสวิตเซอร์แลนด์ค้นพบว่าความยาวคลื่น λ ของเส้นทั้ง 4 ด้านบนคือ

นี่เรียกว่าเป็นสูตรของบัลเมอร์ โดยที่ f = 364.56 nm, n = 3, 4, 5, 6, ...

สำหรับในลำดับถัดจากนั้นไป สเปกตรัมเส้นที่ n>7 ตรวจพบได้ในย่านรังสีอัลตราไวโอเลตใกล้

อนุกรมบัลเมอร์นี้ถือเป็นกรณีพิเศษของสูตรรืดแบร์ย

เส้นสเปกตรัม แก้

ตารางต่อไปนี้สรุปเส้นสเปกตรัมในอนุกรมบัลเมอร์[1]

การเปลี่ยนสถานะ 3→2 4→2 5→2 6→2 7→2 8→2 9→2 ∞→2
ชื่อเรียก H-α / Ba-α H-β / Ba-β H-γ / Ba-γ H-δ / Ba-δ H-ε / Ba-ε H-ζ / Ba-ζ H-η / Ba-η
ความยาวคลื่น (นาโนเมตร) 656.279 486.135 434.0472 410.1734 397.0075 388.9064 383.5397 364.6
ความแตกต่างพลังงาน (อิเล็กตรอนโวลต์) 1.89 2.55 2.86 3.03 3.13 3.19 3.23 3.40
สี แดง   ฟ้า   น้ำเงิน   ม่วง   (อัลตราไวโอเลต)   (อัลตราไวโอเลต)   (อัลตราไวโอเลต)   (อัลตราไวโอเลต)

อ้างอิง แก้

  1. Kramida, A., Ralchenko, Yu., Reader, J., and NIST ASD Team (2019). NIST Atomic Spectra Database (ver. 5.7.1), [Online]. Available: https://physics.nist.gov/asd [2020, April 11]. National Institute of Standards and Technology, Gaithersburg, MD. DOI: https://doi.org/10.18434/T4W30F