องศาโรเมอร์
องศาเรโอมูร์ (อังกฤษ: Réaumur scale/degree; ย่อ:°Ré, °Re, °R) หรือในไทยนิยมเรียกว่า องศาโรเมอร์ คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นขึ้นโดยเรอเน อ็องตวน แฟร์โชล เดอ เรโอมูร์ (René Antoine Ferchault de Réaumur) นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1731 โดยกำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0 องศาโรเมอร์ และจุดเดือดของน้ำอยู่ที่ 80 องศาโรเมอร์ ดังนั้นช่วงอุณหภูมิ 1 องศาโรเมอร์จะเท่ากับ 1.25 องศาเซลเซียสหรือเคลวิน
เทอร์โมมิเตอร์ของเรโอมูร์นั้นจะบรรจุแอลกอฮอล์เจือจางและมีหลักการคือกำหนดให้อุณหภูมิจุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0 องศา และขยายตัวไปตามท่อเป็นทีละองศาซึ่งคือเศษหนึ่งส่วนพันของปริมาตรที่บรรจุไว้ในกระเปาะของหลอด ณ จุดศูนย์องศา เขาเสนอว่าคุณภาพของแอลกอฮอล์ที่ใช้นั้นจะต้องเริ่มเดือดที่ 80 องศาโรเมอร์ นั่นคือ เมื่อปริมาตรแอลกอฮอล์ได้ขยายตัวไป 8% เรโอมูร์เลือกแอลกอฮอล์แทนที่จะใช้ปรอทเพราะขณะที่ขยายตัวจะเห็นได้ชัดเจนกว่า แต่ปัญหาที่พบคือ เทอร์โมมิเตอร์รุ่นดั้งเดิมของเขานั้นดูเทอะทะ และจุดเดือดที่ต่ำของแอลกอฮอล์ก็ไม่ค่อยมีประโยชน์ในการใช้งานจริงเท่าใดนัก ผู้ผลิตอุปกรณ์มักจะหันไปเลือกใช้ของเหลวชนิดอื่น แล้วใช้อุณหภูมิ 80 องศาโรเมอร์เพื่อระบุจุดเดือดของน้ำแทน ซึ่งสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งาน
ในปี ค.ศ. 1772 ฌ็อง-อ็องเดร เดอลุก (Jean-André Deluc) ได้ศึกษาสสารหลายชนิดที่มีการใช้ในเทอร์โมมิเตอร์หลังจากที่มีทฤษฎีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับความร้อน และได้ข้อสรุปว่าเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ปรอทนั้นเหมาะสมกับการใช้งานที่สุด เช่นว่า หากนำน้ำในปริมาณที่เท่า ๆ กันสองส่วน ณ อุณหภูมิ ก และ ข มาเทรวมกันแล้ว อุณหภูมิสุดท้ายที่วัดได้จะเป็นค่ากึ่งกลางระหว่าง ก และ ข พอดี และความสัมพันธ์นี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อทำการวัดด้วยปรอทเท่านั้น นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ปรอทก็ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย[1]
ประวัติการใช้งาน
แก้ในอดีตการใช้หน่วยวัดองศาโรเมอร์ได้ถูกใช้อย่างมากในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และรัสเซีย แต่ภายหลังจาก ค.ศ.1790 ประเทศฝรั่งเศสก็หันมาใช้องศาเซลเซียสในหน่วยวัดแทนองศาโรเมอร์
ปัจจุบันการใช้องศาโรเมอร์ยังถูกใช้งานในการวัดอุณหภูมิของนมในกระบวนการผลิตเนยในประเทศอิตาลี
จากเรโอมูร์ | เป็นเรโอมูร์ | |
---|---|---|
องศาเซลเซียส | [°C] = [°Ré] × 54 | [°Ré] = [°C] × 45 |
องศาฟาเรนไฮต์ | [°F] = [°Ré] × 94 + 32 | [°Ré] = ([°F] − 32) × 49 |
เคลวิน | [K] = [°Ré] × 54 + 273.15 | [°Ré] = ([K] − 273.15) × 45 |
แรงคิน | [°R] = [°Ré] × 94 + 491.67 | [°Ré] = ([°R] − 491.67) × 49 |
ตารางเปรียบเทียบหน่วยวัดอุณหภูมิ
แก้รายการ[หมายเหตุ 1] | เคลวิน | เซลเซียส | ฟาเรนไฮต์ | แรงคิน | เดลิเซิล | นิวตัน | เรโอมูร์ | เรอเมอร์ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศูนย์สัมบูรณ์ | 0.00 | −273.15 | −459.67 | 0.00 | 559.73 | −90.14 | −218.52 | −135.90 |
อุณหภูมิพื้นผิวต่ำสุดที่มีการบันทึกบนโลก (วอสต็อก, แอนตาร์กติกา - 21 ก.ค. 1983) |
184 | −89 | −128 | 331 | 284 | −29 | −71 | −39 |
สารผสมระหว่างน้ำแข็ง/เกลือ ฟาเรนไฮต์ | 255.37 | −17.78 | 0.00 | 459.67 | 176.67 | −5.87 | −14.22 | −1.83 |
น้ำแข็งละลาย (ณ ความดันมาตรฐาน) | 273.15 | 0.00 | 32.00 | 491.67 | 150.00 | 0.00 | 0.00 | 7.50 |
จุดไตรสมดุลของน้ำ | 273.16 | 0.01 | 32.018 | 491.688 | 149.985 | 0.0033 | 0.008 | 7.50525 |
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยโลก | 288 | 15 | 59 | 519 | 128 | 5 | 12 | 15 |
อุณหภูมิร่างกายมนุษย์เฉลี่ย[หมายเหตุ 2][2] | 310 | 37 | 98 | 558 | 95 | 12 | 29 | 27 |
อุณหภูมิพื้นผิวสูงสุดที่มีการบันทึกบนโลก (อซิซิญ่า, ลิเบีย - 13 ก.ย. 1922) แต่ยังคงไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ |
331 | 58 | 136 | 596 | 63 | 19 | 46 | 38 |
น้ำเดือด (ณ ความดันมาตรฐาน) | 373.15 | 100.00 | 211.97 | 671.64 | 0.00 | 33.00 | 80.00 | 60.00 |
ไททาเนียมละลาย | 1941 | 1668 | 3034 | 3494 | −2352 | 550 | 1334 | 883 |
พื้นผิวดวงอาทิตย์ | 5800 | 5500 | 9900 | 10400 | −8100 | 1800 | 4400 | 2900 |
หมายเหตุ: |
อ้างอิง
แก้- ↑ Herbert Dingle. The scientific adventure: essays in the history and philosophy of science. Sir Isaac Pitman and Sons, London, 1952. Page 131.
- ↑ "Temperature of a Healthy Human (Body Temperature)". Hypertextbook.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-26. สืบค้นเมื่อ 2010-09-16.