ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทน

"ไม่ควรจัดเก็บภาษีหากไม่จัดให้มีผู้แทน" หรือ "ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน" (อังกฤษ: No taxation without representation) เริ่มเป็นสโลแกนซึ่งเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1750 และ 1760 ที่สรุปความเดือดร้อนของชาวอาณานิคมอังกฤษในสิบสามอาณานิคม ซึ่งได้กลายมาเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการปฏิวัติอเมริกา กล่าวโดยสรุป ชาวอาณานิคมจำนวนมากเชื่อว่าการขาดผู้แทนโดยตรงในรัฐสภาอังกฤษที่ห่างเหิน ถือว่าเป็นการปฏิเสธสิทธิความเป็นชาวอังกฤษของพวกเขาอย่างผิดกฎหมาย ดังนั้น กฎหมายที่บังคับให้ชาวอาณานิคมจ่ายภาษี (ซึ่งเป็นกฎหมายประเภทที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากที่สุด) และกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งมีผลบังคับใช้เฉพาะในอาณานิคมเท่านั้น จึงไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ในเวลาปัจจุบัน ได้มีการใช้สโลแกนดังกล่าวในกลุ่มคนอื่น ๆ ในหลายประเทศในข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกัน

วลี No taxation without representation สามารถสืบไปได้ว่าเป็นสาเหตุของสงครามกลางเมืองอังกฤษ โดยจอห์น แฮมพ์เดน กล่าวว่า "พระมหากษัตริย์อังกฤษไม่มีสิทธิ์จะร้องขอ ประชาชนชาวอังกฤษต่างก็มีสิทธิ์ปฏิเสธได้" ในกรณีเรือเงิน

การปฏิวัติอเมริกา แก้

วลี "No Taxation Without Representation!" ประดิษฐ์ขึ้นโดยนักบวช โจนาธาน เมย์ฮิว ระหว่างการเทศน์ครั้งหนึ่งในบอสตัน ค.ศ. 1750 ในปี ค.ศ. 1765 ได้มีการใช้วลีดังกล่าวในบอสตัน แต่ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ใช้คนแรก นักการเมืองบอสตัน เจมส์ โอติส มักจะหยิบยกวลีดังกล่าวไปพูดเสมอ โดยว่า "ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทนคือทรราช"[1]

รัฐสภาอังกฤษได้ควบคุมการค้าอาณานิคมและตั้งภาษีสินค้านำเข้าและส่งออกตั้งแต่ ค.ศ. 1660[2] ภายในคริสต์ทศวรรษ 1760 ชาวอเมริกันได้ถูกตัดสิทธิทางประวัติศาสตร์[3] ตาม พระราชบัญญัติสิทธิ ค.ศ. 1689 ไม่อนุญาตให้มีการเก็บภาษีนอกเหนือจากจะได้รับความยินยอมจากรัฐสภา นับตั้งแต่ชาวอาณานิคมไม่มีผู้แทนในรัฐสภาอังกฤษ ภาษีจึงได้ละเมิดการรับประกันสิทธิความเป็นชาวอังกฤษ

อ้างอิง แก้

  1. Daniel A. Smith, Tax Crusaders and the Politics of Direct Democracy (1998), 21-23
  2. Unger, pg. 87
  3. John C. Miller, Origins of the American Revolution. 1943. pp. 31, 99, 104

บรรณานุกรม แก้

  • William S. Carpenter, "Taxation Without Representation" in Dictionary of American History, Volume 7 (1976)
  • John C. Miller, Origins of the American Revolution. 1943.
  • Edmund Morgan. Inventing the People: The Rise of Popular Sovereignty in England and America (1989)
  • J. R. Pole; Political Representation in England and the Origins of the American Republic (1966)
  • Slaughter, Thomas P. "The Tax Man Cometh: Ideological Opposition to Internal Taxes, 1760-1790."
  • Unger, Harlow, John Hancock, Merchant King and American Patriot, 2000, ISBN 0785820264
  • William and Mary Quarterly 1984 41(4): 566-591. ISSN 0043–5597 Fulltext in Jstor