หลวงชิดภูบาล (จอร์จ ฟอลคอน)

เป็นขุนนางสยามสังกัดกรมมหาดเล็กในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ

หลวงชิดภูบาล ชื่อเดิม จอร์จ ฟอลคอน[1] หรือ ยอร์ช ฟอลคอน (อังกฤษ: George Phaulkon; พ.ศ. 2227 – พ.ศ. 2252)[2]: 18 [3]: 53 [4] เป็นขุนนางสยามสังกัดกรมมหาดเล็กในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ

หลวงชิดภูบาล
(จอร์จ ฟอลคอน)
เกิดพ.ศ. 2227
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 2252 (25 ปี)
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
ภรรยาเอกลุยซา ปัสซัญญา
บุตรจอห์น ฟอลคอน
บิดามารดา
ญาติโจฮัน ฟอลคอน (น้องชาย)

ประวัติ

แก้

หลวงชิดภูบาล หรือ จอร์จ เกิดที่กรุงศรีอยุธยา ในช่วงปลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้อง 2 คนของพระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนสำคัญในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่เกิดกับท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์) มีภรรยาชื่อ ลุยซา ปัสซัญญา (Louisa Passagna)[5]: 196 [6]: 109  และมีน้องชายชื่อ โจฮัน (João) ฟอลคอน (บางที่ว่าชื่อ ฆวน)[7]

ต่อมาเมื่อพระยาวิไชเยนทร์ผู้เป็นบิดาถูกประหารชีวิตทำให้ชีวิตของจอร์จและมารี กีมาร์ ผู้เป็นมารดาต้องตกระกำลำบาก ถูกริบราชบาตร ถูกคุมขัง กระทั่งเมื่อสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ ในปี 2251 และเจ้าฟ้าเพชร พระราชโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าเสือซึ่งดำรงพระยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็นสมเด็จพระเจ้าท้ายสระหรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้มารีรับราชการฝ่ายในจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นท้าวทองกีบม้า ทำให้ฐานะทางการเงินและชีวิตครอบครัวดีขึ้น ส่วนจอร์จก็โปรดเกล้าฯ ให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กคนสนิทรับใช้ใกล้ชิดจนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยถึงขั้นพระองค์เป็นครูสอนภาษาไทยให้จอร์จด้วยพระองค์เอง ต่อมาจอร์จได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงชิดภูบาล

บันทึกพงศาวดารช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านถูกระบุไว้ไม่ตรงกัน โดยถูกบันทึกไว้ 2 แบบ คือ

1. ข้อมูลที่กล่าวว่า จอร์จ ฟอลคอนได้เสียชีวิตตั้งแต่ ค.ศ. 1709 (พ.ศ. 2252) ในช่วงต้นรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ ปรากฏในเอกสารที่เป็นหลักฐานชั้นต้นมีชื่อว่า “เรื่องผู้ว่าราชการเมืองปอนดีเชรีเจรจาการบ้านเมือง จดหมายมองซิเออร์เกดีถึงมองเซนเยอร์เมโกร เมืองปอนดีเชอรี วันที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1711 (พ.ศ. 2254)" ระบุว่า

“…ครั้นข้าพเจ้าได้ไปเมืองปอนดีเชรี ก็ได้ไปหาเชอวาเลียเฮแบต์เพื่อส่งจดหมายของมองเซนเยอร์เดอซาบูล และเพื่อจะพูดด้วยปากถึงข้อความที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว และจะพูดถึงเรื่องเงินของบุตร์มองซิเออร์คอนซตันซ์ซึ่งได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1709 (พ.ศ. 2252) และซึ่งมาดามคอนซตันซ์จะต้องการ เพราะตัวเปนคนยากจนด้วย…”

แม้จากหลักฐานจะแสดงให้เห็นว่า จอร์จ ฟอลคอนอาจไม่มีอายุที่ยืนยาวมากนัก แต่จากเอกสารอีกฉบับก็ช่วยยืนยันได้ว่า เขามีทายาทสืบตระกูล เพราะปรากฏชื่อหลานของคอนแสตนติน ฟอลคอน นามว่า “คอนซตันติน” มารับราชการในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งบุคคลนี้คือบุตรชายของจอร์จนั่นเอง [8]

2. หลักฐานที่อ้างอิงจากบทความ An Early British Merchant in Bangkok โดย Adey R. Moore ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the Siam Society Vol. 11.2 1914-15 (พ.ศ. 2457-58) ซึ่งมีสาแหรกจากตระกูลฟอลคอนที่เขียนในสมัยหลัง กล่าวว่า ลูกชายของฟอลคอน (ไม่ได้ระบุชื่อ) ได้ถูกส่งไปทำหน้าที่ทูตที่เมืองปอนดิเชอรี่ ประเทศอินเดีย และได้แต่งงานกับหญิงสาวเชื้อสายโปรตุเกสมีบุตรธิดาหลายคนหนึ่งในนั้นคือ จอห์น ฟอลคอน ซึ่งอพยพกลับมาสยามตั้งบ้านเรือนอยู่แถววัดซางตาครู้สใกล้ชุมชนกุฎีจีน นอกจากนี้หลวงชิดภูบาลยังเป็นทวดของ แองเจลิน่า ทรัพย์ ภรรยาของหลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์) พ่อค้าคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 3–4 ส่วนหลวงชิดภูบาล ตามบทความได้บอกว่าท่านถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1754 (พ.ศ. 2297) [9][10]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

แก้

ในละครพีเรียดอิงประวัติศาสตร์เรื่อง พรหมลิขิต ได้มีการกล่าวถึง หลวงชิดภูบาล ซึ่งผู้ที่รับบทหลวงชิดภูบาลคือ โอม-คณิน สแตนลีย์

อ้างอิง

แก้
  1. ศิลปวัฒนธรรม, 24(4): 65. กุมภาพันธ์ 2546.
  2. มานพ ถนอมศรี. (2539). ท้าวทองกีบม้า: ราชินีขนมไทยและบุคคลสําคัญในประวัติศาสตร์อยุธยา. 136 หน้า. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ. ISBN 978-974-5-19152-5
  3. "THE RETIREMENT OF THE FRENCH GARRISON FORM BANGKOK IN THE YEAR 1688", The Siam Society Journal, 28(1). cited in E. W. Houtchinson. I. NOVAS DO REYNO DE SIAM [Bibioteca Nacional, Lisboa, Ms.n. 465, ll. 186].
  4. June 5, Name Constantine PhaulkonDied; 1688; Lopburi (2017-08-18). "Constantine Phaulkon - Alchetron, The Free Social Encyclopedia". Alchetron.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  5. Lucien Lanier. (1883). Étude historique sur les relations de la France et du royaume de Siam de 1662 à 1703: d'après les documents inédits des Archives du Ministère de la Marine et des Colonies, avec le fac-simile d'une carte du temps. Versailles: E. Aubert, Gregg, Versailles, Farnborough. 208 pp. ISBN 978-057-6-03304-6
  6. สมเด็จพระนารายณ์และพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ : บทวิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับสัมพันธภาพไทย-ฝรั่งเศส รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2530. 133 หน้า. ISBN 978-974-8-35667-9
  7. เปิดประวัติ "จอร์จ ฟอลคอน" หลวงชิดภูบาล บุตรชายท้าวทองกีบม้า มหาดเล็กของขุนหลวงท้ายสระ "พรหมลิขิต"
  8. https://www.silpa-mag.com/history/article_121408
  9. ชะตาชีวิต จอร์จ ฟอลคอน ลูกท้าวทองกีบม้า ในพรหมลิขิต ที่ต้องเจอวันข้างหน้า
  10. ทายาทของคอนสแตนติน ฟอลคอน