พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)

นักผจญภัยชาวกรีกและสมุหนายกในปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน (กรีก: Κωνσταντίνος Γεράκης, กอนสตันตีโนส เยราจิส; อังกฤษ: Constantine Phaulkon; พ.ศ. 2190 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231) ในจดหมายของเจ้าพระยาศรีธรรมราช (ปาน) หรือ โกษาปาน ส่งถึงบาทหลวง เดอ ลาแชส (Père François d’Aix de la Chaise) เรียกชื่อเขาในภาษาไทยว่า กาศตัน (มาจาก Constans ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวต่างประเทศเรียกคอนสแตนติน ฟอลคอน[4]) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา

เจ้าพระยาวิไชเยนทร์
คอนสแตนติน ฟอลคอน
ภาพร่วมสมัยของคอนสแตนติน ฟอลคอน
สมุหนายกแห่งกรุงศรีอยุธยา
ดำรงตำแหน่ง
2228–2231
กษัตริย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ก่อนหน้าเจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น)
ถัดไปเจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ)
ผู้รักษาการในตำแหน่งพระคลัง
ดำรงตำแหน่ง
2226–2228
กษัตริย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2190
เซฟาโลเนีย สาธารณรัฐเวนิส
เสียชีวิต5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 (40–41 ปี)
ลพบุรี อาณาจักรอยุธยา
เชื้อชาติกรีก[1]
ศาสนาโรมันคาทอลิก
คู่สมรสท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์) (สมรส 2225)
บุตรฌูเวา ฟอลคอน
หลวงชิดภูบาล (ยอร์ช ฟอลคอน)
อาชีพทหาร เสมียน พ่อค้า นักแปล ขุนนาง
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ราชอาณาจักรอังกฤษ (2208–2210)[2]
1600–1707 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (2210–2222)[3]
อาณาจักรอยุธยา
ผ่านศึกสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง
กบฏมักกะสัน
สงครามอังกฤษ-สยาม
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231  โทษประหารชีวิต

นอกจากภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาแม่แล้ว ฟอลคอนยังสามารถพูดภาษาต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ภาษาไทย, ภาษาอิตาลี, ภาษาอังกฤษ, ภาษาโปรตุเกส และภาษามลายู ฟอลคอนไม่สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้ แต่พอฟังเข้าใจ[5]

วัยเด็ก

แก้

ฟอลคอนเกิดที่แคว้นเซฟาโลเนีย (ประเทศกรีซ) เมื่อ พ.ศ. 2190 เข้าทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ พ.ศ. 2205 จึงออกจากบ้าน และเดินเรือสินค้าไปค้าขายยังดินแดนต่าง ๆ

ชีวิตในอยุธยา

แก้

พ.ศ. 2218 เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในฐานะพ่อค้า เนื่องจากฟอลคอนมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย ฟอลคอนจึงเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลาไม่กี่ปีและเข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในตำแหน่งล่าม นับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา เป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส ฟอลคอนได้กลายมาเป็นสมุหนายกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาในเวลาอันรวดเร็ว

พ.ศ. 2225 ฟอลคอนแต่งงานกับดอญญามารี กีมาร์ (ท้าวทองกีบม้า)

ความใกล้ชิดระหว่างพระยาวิไชเยนทร์และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ราชนิกุล ซึ่งส่งให้เกิดผลเสียต่อตัวพระยาวิชเยนทร์เองในเวลาต่อมา เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคต ก็มีข่าวลือว่าพระยาวิชเยนทร์ต้องการใช้องค์รัชทายาทเป็นหุ่นเชิดและเข้ามาเป็นผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเสียเอง ซึ่งแม้เหตุดังกล่าวจะมีความเป็นไปได้น้อย แต่ก็เป็นข้ออ้างให้พระเพทราชาซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่พอใจกับนโยบายด้านต่างประเทศที่ส่งผลให้มีชาวต่างชาติมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยามากมาย วางแผนให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปประทับที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ในลพบุรี และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ได้ไว้ใจมอบอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินให้พระเพทราชาใน พ.ศ. 2231

บั้นปลายชีวิต

แก้

เมื่อพระเพทราชากุมอำนาจการสำเร็จราชการแผ่นดินแล้ว ก็จับกุมพระยาวิชเยนทร์และผู้ติดตามรวมถึงราชนิกุลองค์ต่าง ๆ และนำไปประหารชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ในวัยเพียง 40 ปี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบถึงเหตุดังกล่าว พระองค์กริ้วมาก แต่ไม่มีพระวรกายแข็งแรงเพียงพอที่จะทำการใด ๆ และเสด็จสวรรคตในอีกไม่กี่วันต่อมา บรรดาท่านขุนนางได้อัญเชิญ พระเพทราชา ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษก ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม หรือ สมเด็จพระเพทราชา และปกครองโดยมีนโยบายต่อต้านชาวต่างชาติ ส่งผลให้เกิดการขับไล่ชาวต่างชาติแทบทั้งหมดออกจากราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา การตีความกันไปต่าง ๆ นานาถึงเหตุจูงใจที่ทำให้สมเด็จพระเพทราชาสั่งจับกุมและประหารชีวิตพระยาวิชเยนทร์เป็นผลให้จุดยืนของกรีกในประวัติศาสตร์ไทยเป็นเรื่องที่ยังหาข้อสรุปมิได้มากนัก ดังนั้นนักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วยกับการกระทำของพระองค์มองพระยาวิไชเยนทร์ว่าเป็นชาวต่างชาติที่ฉวยโอกาสมาใช้อิทธิพลเข้าควบคุมพระราชอาณาจักรในนามของผลประโยชน์จากชาติตะวันตก[6] แต่นักประวัติศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่าพระยาวิไชเยนทร์เป็นแพะรับบาป เป็นช่องว่างให้สมเด็จพระเพทราชาสามารถเข้ายึดอำนาจจากองค์รัชทายาทได้โดยนำเอาความริษยา อิจฉาและความระแวงที่มีต่อพระยาวิชเยนทร์มาเป็นมูลเหตุสนับสนุน[6]

อุปนิสัย

แก้

ฟร็องซัว-ตีมอเลอง เดอ ชัวซี บาทหลวงที่ติดตามคณะทูตฝรั่งเศสมายังอาณาจักรอยุธยา บันทึกเกี่ยวกับฟอลคอนไว้ว่า

"เขาเป็นคนที่มีไหวพริบ สง่างาม กล้าหาญ และมีแนวคิดดีๆ มากมาย แต่เป็นไปได้ว่า เขาอาจจะแค่ต้องการนำทหารฝรั่งเศสเข้ามา เพื่อปราบดาภิเษกตนเองเป็นกษัตริย์หลังจากที่เจ้านายของเขาสิ้นชีพ เพราะเขาเห็นว่ามันจะเกิดขึ้นในไม่ช้า เขาเป็นคนหยิ่งผยอง โหดเหี้ยม ไร้ปรานี และมีความทะเยอทะยานเกินควร เขาสนับสนุนศาสนาคริสต์เพราะมันเป็นประโยชน์กับตัวเขาเอง แต่ฉันจะไม่มีวันเชื่อใจเขาในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของเขาเด็ดขาด"

"He was one of those in the world who have the most wit, liberality, magnificence, intrepidity, and was full of great projects, but perhaps he only wanted to have French troops in order to try and make himself king after the death of his master, which he saw as imminent. He was proud, cruel, pitiless, and with inordinate ambition. He supported the Christian religion because it could support him; but I would never have trusted him in things in which his own advancement was not involved."

— ฟร็องซัว-ตีมอเลอง เดอ ชัวซี บันทึกไว้ใน Mémoires pour servir à l'histoire de Louis XIV, 1983:150.[7]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

แก้

ละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง บุพเพสันนิวาส (พ.ศ. 2561) ออกฉายครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มีตัวละครหนึ่งชื่อ "หลวงสุรสาคร" และ "เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (ฟอลคอน)" นำแสดงโดยหลุยส์ สก็อต

มรดก

แก้
  • วิทยาลัยคอนสแตนติน (Constantine College) เมืองลพบุรี ตั้งขึ้นโดยมิชชันนารีคาทอลิกคณะ Missions Étrangères (คณะโบสถ์อัสสัมชัญ)[8]: 15  เมื่อปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนของคณะบาทหลวงโดยออกเงินสร้างอาคารเรียนรองรับนักเรียนได้ 1,000 คน เมื่อเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ถึงแก่อสัญกรรม วิทยาลัยคอนสแตนตินจึงถูกย้ายไปรวมกับโรงเรียนสามเณร ตําบลมหาพราหมณ์ กรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา[9]: 14 

อ้างอิง

แก้
  1. Smithies, Michael; na Pombejra, Dhiravat (2002). "Instructions Given to the Siamese Envoys Sent to Portugal, 1684" (PDF). Journal of the Siam Society. 90.1 & 2.
  2. PHAULKON OF SIAM
  3. British East India Company บริษัทอินเดียตะวันออกอังกฤษ - SE-ED
  4. กาศตัน ชื่อภาษาไทยของออกญาวิไชยเยนทร์ (Constans Phaulkon)
  5. ฟอลคอนผู้ไม่พูดภาษาฝรั่งเศส,ไทย
  6. 6.0 6.1 เปิดเรื่องราวชีวิต‘ฟอลคอน’ จากฝรั่งต่างชาติสู่ขุนนาง สาเหตุที่โดนสั่งประหาร ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2561
  7. Smithies, Michael (2002), Three military accounts of the 1688 "Revolution" in Siam (หน้า 12), Itineria Asiatica, Orchid Press, Bangkok,  ISBN 974-524-005-2.
  8. ขจร สุขพานิช. (2530). อยุธยาคดี. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา. 375 หน้า. ISBN 978-974-0-03789-7
  9. สุพรรณี กาญจนัษฐิติ. (2507). บทบาทของมิชชันนารีในประเทศไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์). พระนคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรณานุกรม

แก้
  • Smithies, Michael (2002), Three military accounts of the 1688 "Revolution" in Siam, Itineria Asiatica, Orchid Press, Bangkok, ISBN 974-524-005-2.
  • Luang Sitsayamkan (1967), The Greek Favourite of the King of Siam, Donald Moore Press, Singapore.
  • Cangelaris, Panagiotis D. (2011), History and Genealogy of the Cangelari Family of Cephalonia (16th-20th Centuries), Corfu 2011 (in Greek; online), ISBN 978-960-85532-2-4.
  • Cangelaris, Kefalonitiki Proodos, No. 3: Παναγιώτης Δ. Καγκελάρης, "Κωσταντής Γεράκης (Constance Phaulkon) - Μια νέα γενεαλογική προσέγγιση", from: Η Κεφαλονίτικη Πρόοδος, Περίοδος Β', τεύχος 3 (Ιούλιος-Σεπτέμβριος 2012; in Greek).
  • Cangelaris, Kefalonitiki Proodos, No. 7: Παναγιώτης Δ. Καγκελάρης, "Το γαλλικό οικόσημο του πρωτοσύμβουλου Κωσταντή Γεράκη (Constance Phaulkon)", from: Η Κεφαλονίτικη Πρόοδος, Περίοδος Β', τεύχος 7 (Ιούλιος-Σεπτέμβριος 2013; in Greek).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้