หม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม
อำมาตย์เอก หม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม (22 ตุลาคม พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2491) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ กับหม่อมเจ้าเม้า ทองแถม
หม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2433 |
สิ้นชีพตักษัย | พ.ศ. 2491 |
หม่อม | หม่อมหลวงแฉล้ม ทองแถม หม่อมสอางค์ ทองแถม ณ อยุธยา |
พระบุตร | 11 คน |
ราชสกุล | ทองแถม |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ |
พระมารดา | หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าทองชมพูนุท เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ[1] กับหม่อมเจ้าเม้า ทองแถม (ราชสกุลเดิม รองทรง; พระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ) ประสูติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2433 มีโสทรภราดาและโสทรขนิษฐารวม 5 องค์ ได้แก่
- หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม (17 สิงหาคม พ.ศ. 2427 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2476) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์ (ราชสกุลเดิม ทองใหญ่; 18 ธันวาคม พ.ศ. 2433 – 19 มกราคม พ.ศ. 2476), หม่อมเจ้าข่ายทองถัก (ราชสกุลเดิม ทองใหญ่; 10 สิงหาคม พ.ศ. 2441 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531), หม่อมแสงมณี (สกุลเดิม วิริยสิริ), หม่อมทรัพย์ (สกุลเดิม พลวิเศษ), หม่อมศรี และหม่อมพิณ
- หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม (3 สิงหาคม พ.ศ. 2435 – พ.ศ. 2506) เสกสมรสกับหม่อมเชิญ (สกุลเดิม กัลยาณมิตร)
- หม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม (26 กันยายน พ.ศ. 2436 – 13 มกราคม พ.ศ. 2501) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ โสณกุล (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์; 18 มกราคม พ.ศ. 2441 – 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510)
- หม่อมเจ้าสุวรรณโสภา (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2440)
- หม่อมเจ้าทองบรรณาการ ทองแถม (3 ธันวาคม พ.ศ. 2446 – พ.ศ. 2506) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ศรีถนอม (ราชสกุลเดิม ศรีธวัช; เมษายน พ.ศ. 2449 – ?), หม่อมราชวงศ์ศิริโสภา (ราชสกุลเดิม ศรีธวัช; พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – ?) และหม่อมราชวงศ์วรรณวิจิตร (ราชสกุลเดิม รองทรง)
หม่อมเจ้าทองชมพูนุท มีหม่อม 2 คน คือ หม่อมหลวงแฉล้ม ทองแถม (ราชสกุลเดิม อิศรเสนา; 29 เมษายน พ.ศ. 2432 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2517) และหม่อมสอางค์ (สกุลเดิม อินทรรัสมี) มีโอรสธิดา 11 คน ดังนี้
เกิดแต่หม่อมหลวงแฉล้ม
- หม่อมราชวงศ์ทองเถา ทองแถม (29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2510)
- หม่อมราชวงศ์สร้อยทอง เกษมศรี (24 มกราคม พ.ศ. 2454 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2520)
- หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม (14 มิถุนายน พ.ศ. 2456 – 22 กันยายน พ.ศ. 2529)
- หม่อมราชวงศ์กรองสุวรรณ สุวรรณรัตน์ (15 มีนาคม พ.ศ. 2457 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2531)
- หม่อมราชวงศ์พันธุ์ชมพูนุท นิมมานเหมินท์ (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 – 6 เมษายน พ.ศ. 2560)
- หม่อมราชวงศ์สุวรรณาภา สังขดุลย์ (12 สิงหาคม พ.ศ. 2462 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2542 )
- หม่อมราชวงศ์ทองลิ่ม ทองแถม (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556)
- หม่อมราชวงศ์รจนา บัวศรีจันทร์ (30 มกราคม พ.ศ. 2467 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553)
เกิดแต่หม่อมสอางค์
- หม่อมราชวงศ์วงศ์ถวัลย์ ทองแถม
- หม่อมราชวงศ์กนกสุวรรณ อภิปราชญพงศ์ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 – ?)
- หม่อมราชวงศ์อิงค์สุวรรณ ตั้งตระกูล
พระยศ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[5]
- พ.ศ. 2465 - เข็มข้าหลวงเดิม[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ เว็บไซต์ราชสกุลทองแถม. ลำดับราชสกุลทองแถม เก็บถาวร 2013-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2556
- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3204. 18 มกราคม 1919.
- ↑ [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2462/D/3122.PDFพระราชทานยศเสือป่า]
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 47 หน้า 3099 ่ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 15 พฤศจิกายน 2474
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 38 หน้า 3188 29 มกราคม 2464
- ↑ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิมhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/833.PDF