หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม

อำมาตย์เอก หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม (3 สิงหาคม พ.ศ. 2435 – พ.ศ. 2506) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ3 สิงหาคม พ.ศ. 2435
สิ้นชีพตักษัยพ.ศ. 2506
หม่อมหม่อมเชิญ ทองแถม ณ อยุธยา
พระบุตร8 คน
ราชสกุลทองแถม
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
พระมารดาหม่อมเจ้าเม้า ทองแถม

ประวัติ แก้

หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ประสูติแต่หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม (ราชสกุลเดิม รองทรง; พระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ) เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2435 มีโสทรภราดา ดังนี้

หม่อมเจ้าทองเติม เสกสมรสกับหม่อมเชิญ (บุตรีเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) และท่านผู้หญิงพุ่ม สุรสีห์วิศิษฐศักดิ์) มีโอรสธิดาดังนี้

  1. หม่อมราชวงศ์ทองเพิ่ม ทองแถม (22 มิถุนายน พ.ศ. 2455 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2513)
  2. หม่อมราชวงศ์ทองทศ ทองแถม (19 ธันวาคม พ.ศ. 2456 – 16 กันยายน พ.ศ. 2470)
  3. พันเอก หม่อมราชวงศ์แววจักร ทองแถม (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506)
  4. หม่อมราชวงศ์สายทอง รักติประกร (13 ตุลาคม พ.ศ. 2459 – 10 กันยายน พ.ศ. 2518)
  5. หม่อมราชวงศ์สร้อยทอง ทองแถม (26 ธันวาคม พ.ศ. 2462 – ?)
  6. หม่อมราชวงศ์ครุยทอง ทองแถม (17 เมษายน พ.ศ. 2465 – ?)
  7. หม่อมราชวงศ์ชาลทอง วีรานุวัตร (23 กันยายน พ.ศ. 2467 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2527)
  8. หม่อมราชวงศ์เฟื่องทอง จุลานนท์ (? – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2525)

การทรงงาน แก้

หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม ทรงรับราชการในกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งทรงเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2457–2471 และผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่าง พ.ศ. 2471–2476 โดยในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงดำริที่จะปลูกสร้างโรงเรียนสตรีประจำอำเภอเกาะหลักขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกแก่บรรดากุลสตรีที่จะได้ศึกษาเล่าเรียน และได้ขนานนามว่า โรงเรียนสตรีประจวบคีรีขันธ์ "ประจวบสมบูรณ์" ปัจจุบันคือโรงเรียนประจวบวิทยาลัย

ตำแหน่งราชการ แก้

  • – มหาดไทยมณฑลกรุงเก่า
  • 11 กันยายน 2456 – มหาดไทยมณฑลปราจิณบุรี[1]
  • 8 ตุลาคม 2457 – รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองปราจิณบุรี[2]
  • 18 กันยายน 2458 – ผู้ว่าราชการเมืองปราจิณบุรี[3]

พระยศ แก้

  • รองอำมาตย์ตรี
  • 14 มิถุนายน 2457 – นายหมู่ตรี[4]
  • 5 ตุลาคม พ.ศ. 2457 รองอำมาตย์เอก[5]
  • 14 กันยายน พ.ศ. 2458 อำมาตย์ตรี[6]
  • 29 กันยายน 2458 – นายหมู่เอก[7]
  • 9 กันยายน 2459 – นายหมวดโท[8]
  • 22 ธันวาคม 2459 – อำมาตย์โท[9]
  • 31 ธันวาคม 2460 – นายหมวดเอก[10]
  • – นายกองตรี
  • 20 กันยายน 2463 – นายกองโทเสือป่า[11]
  • 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 นายกองเอกเสือป่า[12] กองเสนารักษาดินแดนอาคเณย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  2. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมา
  3. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองปราจิณบุรี
  4. ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
  5. พระราชทานยศและเลื่อนยศ (หน้า ๑๕๐๘)
  6. พระราชทานยศและเลื่อนยศ (หน้า ๑๓๓๕)
  7. พระราชทานยศเสือป่า
  8. พระราชทานยศเสือป่า
  9. พระราชทานยศ
  10. พระราชทานยศเสือป่า
  11. พระราชทานยศนายเสือป่า
  12. พระราชทานยศนายเสือป่า (หน้า ๒๖๒๔)
  13. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ (หน้า 3446)
  14. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/D/2096.PDF