หมู่โบราณสถานกุตุบ
หมู่โบราณสถานกุตุบ (อังกฤษ: Qutb complex) เป็นหมู่อนุสรณ์สถานและอาคารจากสมัยรัฐสุลต่านเดลี ในย่าน Mehrauli เดลี ประเทศอินเดีย[1] การก่อสร้างของกุตุบมีนาร์ (หอคอยแห่งชัยชนะ) นั้นตั้งชื่อหอคอยตามสันตะในนิกายซูฟี Khwaja Qutbuddin Bakhtiar Kaki เริ่มต้นการก่อสร้างโดย Qutb-ud-din Aibak ผู้ซึ่งต่อมาราชาภิเษกขึ้นเป็นสุลต่านแห่งเดลีของจักรวรรดิมัมลุก (Mamluk Sultanate) การก่อสร้างได้รับการสืบทอดโดยสุลต่านองค์ถัดมา Iltutmish (หรือ Altamash) และเสร็จสมบูรณ์ในอีกหลายปีถัดมาโดยสุลต่านแห่งเดลี Firoz Shah Tughlaq ของ จักรวรรดิตุฆลัก (Tughlaq dynasty) ในปี 1368 อาคารส่วนที่เป็นมัสยิด มีชื่อว่ามัสยิดกุบบัต-อุล-อิสลาม (Qubbat-ul-Islam Mosque) แปลว่าโดมของอิสลาม หรือต่อมาได้เรียกเพี้ยนเป็นว่ากุววัต-อุล-อิสลาม (Quwwat-ul Islam)[2] ตั้งอยู่ข้างกับกุตุบมีนาร์[3][4][5][6]
กุตุบมีนาร์และโบราณสถาน เดลี Qutb Minar and its Monuments, Delhi | |
---|---|
หอคอยกุตุบมีนาร์ | |
ที่ตั้ง | มหาราวลี, ประเทศอินเดีย |
พิกัด | 28°31′28″N 77°11′08″E / 28.524382°N 77.185430°E |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | 4 |
ขึ้นเมื่อ | 1993 (คณะกรรมการมรดกโลกชุดที่ 17) |
เลขอ้างอิง | 233 |
ประเทศ | อินเดีย |
ทวีป | เอเชีย |
ผู้ปกครองพื้นที่นี้ในเวลาถัดมา ทั้ง ตุฆลัก (Tughlaqs), Alauddin Khalji และ บริติชราช ล้วนได้เพิ่มเติมโครงสร้างเข้ามาในหมู่อาคารเหล่านี้[7] นอกเหนือจากตัวหอคอยกุตุบมีนาร์ และมัสยิดกุววัต อุล อิสลาม (Quwwat ul-Islam Mosque) เองแล้ว ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เช่นอาไลดาร์วาซา (Alai Darawaza), อาไลมีนาร์ (Alai Minar) และโลหะสตมภ์ ที่ตั้งของมัสยิดกุววัต อุล อิสลามนั้นได้มาจากการทุบทำลายโบสถ์พราหมณ์และไชนมนเทียรกว่า 27 แห่งที่เคยตั้งอยู่ในพื้นที่ เสาต่าง ๆ ได้ถูกนำมาใช้ก่อสร้างมัสยิด เช่นเดียวกับผนังซึ่งถูกฉาบปิดลักษณะของศาสนสถานเดิม[8] ภายในหมู่โบราณสถานยังมีหลุมศพของ Iltutmish, Alauddin Khalji และ Imam Zamin[4]
ในปัจจุบันพื้นที่โดยรอบที่มีโบราณสถานนั้นได้รับการบูรณะและดูแลโดยกรมสำรวจโบราณคดี (ASI) เช่น Mehrauli Archaeological Park และ INTACH ได้บูรณะโบราณสถานกว่า 40 แห่งในสวน[9] นอกจากนี้พื้นที่ของกุตุบยังเป็นที่จัด 'เทศกาลกุตุบ' (Qutub Festival) ประจำปี ซึ่งจะจัดในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม โดยมีศิลปิน นักดนตรี นักเต้น มาแสดงเป็นเวลาสามวัน ในปี 2006 กุตุบมีนาร์และหมู่โบราณสถานมีผู้เข้าเยี่ยมชมกว่า 3.9 ล้านคน ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้คนเดินทางไปมากที่สุดในประเทศอินเดียในปีนั้น และชนะทัชมาฮาลไปขาดลอย[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ Chandra, Satish (2003). History of architecture and ancient building materials in India. Tech Books International. p. 107. ISBN 8188305030..
- ↑ Patel, A (2004). "Toward Alternative Receptions of Ghurid Architecture in North India (Late Twelfth-Early Thirteenth Century CE)". Archives of Asian Art. 54: 59. doi:10.1484/aaa.2004.0004.
- ↑ Javeed, Tabassum (2008). World Heritage Monuments and Related Edifices in India. Algora Publishing. ISBN 978-0-87586-482-2. สืบค้นเมื่อ 26 May 2009.
- ↑ 4.0 4.1 Qutub Minar; Qutub Minar Government of India website.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWorld Heritage Monuments
- ↑ Epigraphia Indo Moslemica, 1911–12, p. 13.
- ↑ Page, J. A. (1926) "An Historical Memoir on the Qutb, Delhi" Memoirs of the Archaeological Society of India 22: OCLC 5433409; republished (1970) Lakshmi Book Store, New Delhi, OCLC 202340
- ↑ Wright, Colin. "Ruin of Hindu pillars, Kootub temples, Delhi". www.bl.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-01-10.
- ↑ "Discover new treasures around Qutab". The Hindu. 28 March 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-10. สืบค้นเมื่อ 14 August 2009..
- ↑ "Another wonder revealed: Qutub Minar draws most tourists, Taj a distant second". Indian Express. 25 July 2007. สืบค้นเมื่อ 13 August 2009.