หมู่เกาะเซ็งกากุ
หมู่เกาะเซ็งกากุ (ญี่ปุ่น: 尖閣諸島 โรมาจิ: Senkaku-shotō) หรือ หมู่เกาะเตียวหยู (พินอิน: Diàoyúdǎo) หรือ หมู่เกาะพินนาเคิล (อังกฤษ: Pinnacle Islands) เป็นกลุ่มเกาะร้างขนาดเล็กในทะเลจีนตะวันออก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน และทางตะวันตกของเกาะโอกินาวะ อยู่ทางเหนือของปลายตะวันตกสุดของหมู่เกาะรีวกีวของญี่ปุ่น
หมู่เกาะเซ็งกากุ ชื่อท้องถิ่น: ญี่ปุ่น: 尖閣諸島 (เซ็งกากุ) จีน: 釣魚台列嶼 (เตียวหยูไท่/เทียวหยูไท่) or 钓鱼岛及其附属岛屿 (เตียวหยู/เทียวหยู) หมู่เกาะพินนาเคิล | |
---|---|
![]() ที่ตั้งของหมู่เกาะ (ภายในสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง) | |
Senkaku Diaoyu Tiaoyu Islands.png | |
ที่ตั้ง | มหาสมุทรแปซิฟิก |
พิกัด | 25°44′41.49″N 123°28′29.79″E / 25.7448583°N 123.4749417°E
|
เกาะทั้งหมด | 5 เกาะ+ 3 โขดหิน |
เกาะหลัก | อูโอ็ตสึริ-ชิมะ / เตียวหยู เตา ไทโช-โท / ชือเว่ย หยู คูบะ-ชิมะ / ฮวางเว่ย หยู คีตะ-โคจิมะ / เป่ย เสี่ยวเตา มินามิ-โคจิมะ / หนาน เสี่ยวเตา |
เนื้อที่ | 7 ตารางกิโลเมตร
|
![]() | |
เมือง | อิชิงากิ, โอะกินะวะ
|
![]() | |
เขตเมือง | โทวเชิง, เทศมณฑลอี๋หลาน, จังหวัดไต้หวัน |
![]() | |
เขตเมือง | โทวเชิง, เทศมณฑลอี๋หลาน, จังหวัดไต้หวัน |
หมู่เกาะดังกล่าวเป็นชายแดนนอกชายฝั่งของจีนเพื่อใช้ในการป้องกันโจรสลัดญี่ปุ่น (Wokou) ในระหว่างปี พ.ศ. 1911 – 2454 (ค.ศ. 1368-1911) ซึ่งอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ทั้งนี้ แผนที่แสดงภูมิภาคเอเชียของจีน รวมถึงแผนที่ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนักเขียนแผนที่ชาวญี่ปุ่นในช่วงคริสศตวรรษที่ 18 แสดงว่าหมู่เกาะเซ็งกากุ/เตียวหยู เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน (ขณะที่ ก่อนปี พ.ศ. 2427 ไม่มีข้อมูลอ้างอิงถึงหมู่เกาะดังกล่าวในเอกสารทางการของญี่ปุ่น) ญี่ปุ่นยึดครองหมู่เกาะดังกล่าวในปี พ.ศ. 2438 ตาม การลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ภายหลังจากที่จีนแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง [1] [2]
หมู่เกาะเซ็งกากุอยู่ภายใต้การดูแลของประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองจึงอยู่ในการดูแลของกองทัพสหรัฐอเมริกา หลังการส่งมอบพื้นที่ฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะรีวกีวในปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) [3] จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโอกินาวะ โดยมีการโต้แย้งจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีน ที่อ้างว่าดินแดนนี้เป็นของจีนมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑลอี๋หลาน ของไต้หวัน [4]
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ MACROECONOMIC ANALYSIS BRIEFING สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
- ↑ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แถลงการณ์พ็อทซ์ดัมระบุว่า "อำนาจอธิปไตยญี่ปุ่นจะจำกัด อยู่ที่เกาะฮนชู เกาะฮกไกโด เกาะคีวชู เกาะชิโกกุและเกาะเล็กอื่นๆ ที่เรากำหนด ซึ่ง "เรา" หมายถึงผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองที่พบกันที่กรุงพ็อทซ์ดัม(สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีน) โดยญี่ปุ่นได้ยอมรับเงื่อนไขของประกาศดังกล่าว
- ↑ Lee, Seokwoo. (2002). Territorial Disputes Among Japan, China and Taiwan Concerning the Senkaku Islands, pp. 10–13., p. 10, ที่ Google Books
- ↑ WantChinaTimes.com (8 July 2012). "Former New Taipei councilor explains PRC flag controversy". WantChinaTimes.com. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.