หมึกกระดองลายเสือ

หมึกกระดองลายเสือ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Cephalopoda
อันดับ: Sepiida
วงศ์: Sepiidae
สกุล: Sepia
สกุลย่อย: Sepia
สปีชีส์: S.  pharaonis
ชื่อทวินาม
Sepia pharaonis
Ehrenberg, 1831
ชื่อพ้อง
  • Sepia rouxi
    Orbigny, 1841
  • Sepia formosana
    Berry, 1912
  • Sepia formosana
    Sasaki, 1929
  • Sepia tigris
    Sasaki, 1929
  • Sepia torosa
    Ortmann, 1888
  • Crumenasepia hulliana
    Iredale, 1926
  • Crumenasepia ursulae
    Cotton, 1929

หมึกกระดองลายเสือ หรือ หมึกหน้าดิน หรือ หมึกแม่ไก่ (อังกฤษ: Pharaoh cuttlefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sepia pharaonis) ปลาหมึกเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับหอย มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศน์ และมีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปลาหมึกกระดองลายเสือมีลำตัวกว้าง ครีบกว้างทอดยาวตลอดด้านข้างของลำตัว ด้านหลังของลำตัวและส่วนหัวมีลายคล้ายลายเสือพาดขวาง และมีกระดอง(cuttlebone) เป็นแผ่นแข็งสีขาวขุ่น เป็นสารประกอบจำพวกหินปูน ซึ่งเรียกกันว่า “ลิ้นทะเล เพศผู้จะมีลายมีสีม่วงเข้ม ส่วนตัวเมียจะมีลายที่แคบกว่า และสีจางกว่า ที่บริเวณหัวมีหนวด(arm) 4 คู่ และหนวดจับ(tentacle) 1 คู่ และหนวดคู่ที่ 4 ข้างซ้ายของเพศผู้ใช้สำหรับการผสมพันธุ์

ลักษณะทางชีววิทยา แก้

หมึกประกอบด้วยส่วนหัวและลำตัว ส่วนหัวประกอบด้วยแขน, หนวดจับ, ปาก, ขากรรไกร และตา ลำตัวเป็นส่วนที่ติดอยู่กับหัว สองข้างของลำตัวมักมีครีบ (fin) มีท่อขับน้ำ (funnel) อยู่ทางด้านท้อง เปลือก (shell) อยู่ใต้เนื้อเยื่อคลุมตัว (mantle) ตามเนื้อเยื่อคลุมตัวมี เซลล์เรืองแสง (photophore) และจุดสี (chromatophore) กับมีถุงหมึก (ink sac) ไว้ทำหน้าที่ ป้องกันตัว


หนวด (arm)

มีจำนวน 4 คู่ ความยาวแต่ละคู่ของหนวดไม่เท่ากัน มีความสำคัญในการ อนุกรมวิธาน คือจาก 1 ไป 4 คู่แรกเรียก dorsal pair คู่ที่2 dorsolateral pair คู่ที่ 3 ventrolateral และคู่ที่ 4 ventral pair ในตัวผู้มีแขนที่เปลี่ยนไปเป็นอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ ซึ่งใช้ส่งสเปิร์มไปยังตัวเมียเรียกว่า hectocotylized arm บนแขนมีปุ่มดูดจะประกอบด้วย chitinous ring (ไม่มีในหมึกสาย)


หนวดจับ (tentacle)

ใน Order Sepiida, Order Teuthida และ Order Spirulida มี 2 เส้น มีความยาวกว่าระยางค์คู่อื่น ใช้สำหรับจับอาหาร หรือช่วยในการจับเหยื่อ ในปลาหมึกบางชนิดเช่น พวก Nautilus ไม่มีหนวดจับแต่มีส่วนพิเศษที่เรียกว่า cirri และบน cirri ไม่มี sucker แต่มีสันเวียนตามแนวยาวที่ทำหน้าที่เป็น sucker ส่วนในหมึกสายมีแขนเพียง 4 คู่รอบปาก ไม่มีหนวดจับ


ปาก (mouth)

ปากของหมึกจะมี buccal membrane อยู่รอบ หมึกกระดองเพศผู้ ในวัยเจริญพันธุ์เมื่อผสมพันธุ์แล้วพบที่เก็บสเปิร์ม (seminal receptacle) ที่ buccal membrane


ขากรรไกร (mandible)

หรือจะงอยปาก (beak) ประกอบด้วยจะงอยปากล่าง (lower beak) และจะงอยปากบน (upper beak) ส่วน radula อยู่ภายในเยื่อหุ้ม buccal membrane พวกหมึกสายที่อยู่หน้าดิน หมึกกระดอง และหมึกกล้วยบางชนิดมีต่อมพิษด้วย ใน หมึกกระดอง หมึกสายมีสาร cephalotoxin เป็นพิษต่อพวก crustacean แต่ไม่มีอันตรายต่อคน ในหมึกสายชนิด Hapalochlaena maculosa มีสารพิษ maculotoxin และ hepalotoxin ซึ่งมีพิษต่อคน โดยเฉพาะในตัวเมียที่กำลังอุ้มไข่พิษอาจรุนแรงทำให้ถึงตายได้ หมึกจัดเป็นสัตว์กินเนื้อในการกินอาหารใช้ขากรรไกรงับเหยื่อและใช้แผงฟันขูดเป็นชิ้นเล็กๆ


ครีบ (fin)

ครีบเป็นกล้ามเนื้อ เป็นอวัยวะที่ช่วยในการขับเคลื่อน (propulsiveorgan) ครีบจะโบกเมื่อต้องการว่ายน้ำช้า และจะกดแนบลำตัวเมื่อต้องการว่ายน้ำเร็ว


ท่อขับน้ำ (funnel)

ท่อขับน้ำอยู่ทางด้านท้องระหว่างหัวและลำตัว ทำหน้าที่ขับน้ำ ออกจากลำตัวระหว่างการหายใจ ปล่อยน้ำหมึก ปล่อยไข่ ปล่อยสารที่สร้างหุ้มไข่ ขับของเสีย(urine) และขับน้ำเวลาพุ่งตัวหรือเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (jet swimming)


การกินอาหาร

หมึกชนิดนี้จะออกหากินในเวลากลางคืน กินสาหร่าย กุ้ง ลูกปู หอย ปลา และหมึกทะเลด้วยกันเอง


การผสมพันธุ์

หมึกทั้งสองเพศจะว่ายนน้ำคลอเคลียกันไปมา อาจะสลับเปลี่ยนสีลำตัวไปด้วยอย่างรวดเร็ว จากนั้นจะหันหน้ามาแนบชิดกันแล้วใช้หนวดโอบกอดสอดประสาน หมึกกระดองเพศผู้จะใช้หนวดยาวคู่พิเศษล้วงเอาถุงสเปิร์มในลำตัวสอดเข้าไป เก็บไว้ในลำตัวของหมึกเพศเมียเพื่อผสมกับไข่ หมึกกระดองจับคู่กันราว 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นหมึกเพศเมียก็เริ่มวางไข่ โดยใช้หนวดนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจากภายในออกมาค่อยๆ บรรจงยื่นไปวางติดกับวัสดุใต้นเประเภทต่างๆ เช่น หินหรือปะการังหรือกัลปังหา จำนวนไข่ที่วางครั้งหนึ่งอาจมีมากถึง 900-2,700 ฟอง ซึ่งหมึกเพศเมียต้องใช้เวลายาวนานหลายวัน ในขณะที่หมึกเพศผู้ก็จะว่ายคลอเคลียไม่จากไปไหน เพื่อคอยป้องกันภัยและป้องกันหมึกกระดองเพศผู้ตัวอื่นด้วยที่อาจมาชิงผสมพันธุ์กับเพศเมียตัดหน้า เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว หมึกเพศเมียจะวนเวียนเฝ้าไข่อยู่แถวนั้น จนร่างกายอ่อนเพลียเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงไปทีละน้อยๆ น้ำหนักตัวจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงแก่ความตายในที่สุด


การแพร่กระจาย

ตามชายฝั่งที่ระดับน้ำลึกตั้งแต่ 10-110 เมตร ในอ่าวไทยจับได้มากที่สุดที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และประจวบคีรีขันธ์ และฝั่งทะเลอันดามัน



การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการด้านต่างๆของปลาหมึกกระดองลายเสือ แก้

กระดอง (cuttlebone)

กระดองของหมึกสกุล Sepia จัดเป็นโครงสร้างของร่างกายที่มีหน้าที่สำคัญ ในการช่วยพยุงตัว กระดองหมึกถูกสร้างมาจากสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต ภายในกระดอง เต็มไปด้วยแก๊สไนโตรเจน มีหน้าที่ทำให้ปลาหมึกสามารถลอยตัวได้โดยไม่ต้องอาศัยกล้ามเนื้อ เมื่อ ต้องการลอยตัวของเหลวจะถูก osmosis ออกจากกระดองปริมาตรของอากาศก็ขยายออก ความ หนาแน่นรวมของตัวหมึกก็จะลดลง ในทางตรงกันข้ามเมื่อต้องการจมตัวของเหลวก็จะถูก osmotic กลับเข้าในกระดองปริมาตรแก็สก็จะลดลง ปลาหมึกเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในระดับที่ไม่ลึกมากนักประมาณ 30-80 เมตร ลึกที่สุดประมาณ 150 เมตร ระดับความดันประมาณ 8 -15 บรรยากาศ กระดองจะบรรจุก๊าซที่มีแรงดันเท่ากับแรงดันของน้ำทะเล ณ ระดับนั้น ในน้ำทะเลมีความดันเท่ากับ 8 บรรยากาศ กระดองทุกส่วนแม้จะมีความหนาแน่นต่างกันจะพยายามปรับสมดุลแรงดันภายในให้ใกล้เคียงกับบรรยากาศเสมอ และจะไม่เปลี่ยนแปลงสูงไปกว่าแรงดันอากาศอิ่มตัวที่ระดับความดัน 8 บรรยากาศ


แสงต่อการลอยตัว

แสงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของปลาหมึก มีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่น ของของเหลวภายในตัวปลาหมึก ความหนาแน่นที่เปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของก๊าซภายในกระดอง โดยของเหลวในตัวหมึกจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำทะเลในตอนกลางวันปลาหมึกจึงจมตัว ในขณะที่ของเหลวภายในตัวมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทะเลในตอนกลางคืน ปลาหมึกลอยตัวและออกมาหากินในตอนกลางคืน


ขากรรไกรหรือจะงอยปาก

บริเวณโคนแขนของหมึกประกอบไปด้วยอุ้งปาก (buccal mass), buccal menbrane และ buccal sucker ภายในอุ้งปากประกอบด้วยขากรรไกรหรือจะงอยปาก 1 คู่ มีลักษณะคล้ายจะงอยปากนกแก้ว มีกล้ามเนื้อควบคุมการทำงานที่แข็งแรงเพราะฉะนั้นจึงมีแรงกัดมาก และสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในทุกทิศทางขณะกัดเหยื่อ จะงอยปากประกอบด้วยจะงอยปากล่าง และจะงอยปากบน จะงอยปากแต่ละอันแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ยอดจะงอย (rostrum) สันจะงอย ( jaw angle), shoulder, ปีก (wing) และ lateral wall (ภาพที่ 6)





โตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 42 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม นับเป็นหมึกกระดองชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ พบทั่วไปในมหาสมุทรอินเดีย, อ่าวเปอร์เซีย, ทะเลแดง ตลอดจนอ่าวไทยและทะเลอันดามัน หากินในเวลากลางคืน โดย อาหารได้แก่ สัตว์มีเปลือกและกระดองชนิดต่าง ๆ รวมทั้งหมึกด้วยกันเองที่มีขนาดเล็กกว่า วงจรชีวิตไม่ยาวนานนัก โดยหมึกตัวเมียจะมีอายุราว 240 วัน หลังจากเติบโตเต็มที่ก็จะผสมพันธุ์และวางไข่ จากนั้นหมึกตัวเมียก็จะตายลง ในขณะที่หมึกตัวผู้จะมีอายุยาวนานกว่า การผสมพันธุ์ของหมึกกระดอง หมึกทั้งสองเพศจะว่ายนน้ำคลอเคลียกันไปมา อาจะสลับเปลี่ยนสีลำตัวไปด้วยอย่างรวดเร็ว จากนั้นจะหันหน้ามาแนบชิดกัน แล้วใช้หนวดโอบกอดสอดประสาน หมึกเพศผู้จะใช้หนวดยาวคู่พิเศษล้วงเอาถุงสเปิร์มในลำตัวสอดเข้าไปเก็บไว้ในลำตัวของหมึกเพศเมียเพื่อผสมกับไข่ หมึกกระดองจับคู่กันราว 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นหมึกเพศเมียก็เริ่มวางไข่ โดยใช้หนวดนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจากภายในออกมา ค่อย ๆ บรรจงยื่นไปวางติดกับวัสดุใต้นเประเภทต่าง ๆ เช่น หินหรือปะการังหรือกัลปังหา จำนวนไข่ที่วางครั้งหนึ่งอาจมีมากถึง 900-2,700 ฟอง ซึ่งหมึกเพศเมียต้องใช้เวลายาวนานหลายวัน ในขณะที่หมึกเพศผู้ก็จะว่ายคลอเคลียไม่จากไปไหน เพื่อคอยป้องกันภัยและป้องกันหมึกกระดองเพศผู้ตัวอื่นด้วยที่อาจมาชิงผสมพันธุ์กับเพศเมียตัดหน้า

เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว หมึกเพศเมียจะวนเวียนเฝ้าไข่อยู่แถวนั้น จนร่างกายอ่อนเพลียเรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงไปทีละน้อย ๆ น้ำหนักตัวจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงแก่ความตายในที่สุด[1] ไข่หมึกกระดองใช้เวลาฟักประมาณ 14 วัน ในอุณหภูมิน้ำราว 28-30 องศาเซลเซียส ลูกหมึกที่เกิดใหม่จะมีความยาวประมาณ 0.6-0.7 เซนติเมตร โดยที่รูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ และมีอัตราการเจริญเติบโตไวมาก

หมึกกระดองลายเสือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง นิยมนำมาปรุงสด เป็นอาหารได้หลากหลายประเภท นิยมนำมาทำปิ้งและปรุงด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ผัด หรือยำ[2]

อ้างอิง แก้

  1. "ท่องโลกใต้ทะเล รักในห้วงลึกของหมึกกระดอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-09. สืบค้นเมื่อ 2010-07-11.
  2. Sepia pharaonis, the Pharaoh Cuttlefish