หนังสือเนหะมีย์
หนังสือเนหะมีย์ (อังกฤษ: Book of Nehemiah) ในคัมภีร์ฮีบรู เนื้อหาส่วนใหญ่อยู่ในรูปบันทึกความทรงจำจากมุมมองบุคคลที่หนึ่งโดยเนหะมีย์ชาวยิวซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในราชสำนักเปอร์เซีย เกี่ยวกับการสร้างกำแพงของเยรูซาเล็มขึ้นใหม่หลังการตกเป็นเชลยในบาบิโลน และการถวายเมืองกับประชาชนของเมืองให้กับธรรมบัญญัติของพระเจ้า (โทราห์)
โดยทั่วไปหนังสือเนหะมีย์ถือว่าเป็นหนังสือแยกต่างหากภายในคัมภีร์ไบเบิลตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ก่อนหน้านี้หนังสือเนหะมีย์รวมอยู่ในหนังสือเอสรา แต่ในคัมภีร์ไบเบิลศาสนาคริสต์ภาษาละตินตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นไป หนังสือเอสราในคัมภีร์ไบเบิลฉบับวัลเกตได้แบ่งออกเป็นหนังสือ 2 เล่มแยกกัน เรียกว่าหนังสือเอสราฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ตามลำดับ การแยกนี้ได้กลายเป็นสารบบด้วยคัมภีร์ไบเบิลที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในภาษาฮีบรูและภาษาละติน การแปลคัมภีร์ไบเบิลโดยโปรเตสแตนต์สายปฏิรูปในกลางศตวรรษที่ 16 ที่ผลิตในเจนีวาเป็นฉบับแรกที่เสนอชื่อ 'หนังสือเนหะมีย์' สำหรับหนังสือที่ก่อนหน้านี้เรียกด้วยชื่อ 'หนังสือเอสรา ฉบับที่ 2'
ภาพรวม
แก้เหตุการณ์ในหนังสือเนหะมีย์เกิดขึ้นในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล หนังสือเนหะมีห์ร่วมกับหนังสือเอสราในชื่อ เอสรา-เนหะมีย์ เป็นส่วนสุดท้ายของเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ของคัมภีร์ฮีบรู[1]
แกนกลางดั้งเดิมของหนังสือเป็นบันทึกความทรงจำจากมุมมองบุคคลที่หนึ่งที่อาจนำมารวมกับแกนกลางของหนังสือเอสราเมื่อราว 400 ปีก่อนคริสตกาล การแก้ไขเพิ่มเติมอาจดำเนินต่อไปจนถึงสมัยเฮลเลนิสต์[2]
หนังสือเล่าเรื่องเกี่ยวกับเนหะมีย์ที่ราชสำนักของกษัตริย์ในสุสาได้รับแจ้งว่าเยรูซาเล็มยังไม่มีกำแพงจึงตั้งใจที่จะฟื้นฟูกำแพง กษัตริย์ทรงแต่งตั้งเนหะมีย์เป็นผู้ว่าราชการของยูดาห์ และเนหะมีย์ก็เดินทางไปยังเยรูซาเล็ม ที่นั่นเนหะมีย์ได้ดำเนินการสร้างกำแพงขึ้นใหม่แม้ว่ามีการต่อต้านจากศัตรูของอิสราเอล แล้วปฏิรูปชุมนุมชนให้สอดคล้องกับธรรมบัญญัติของโมเสส หลังอยู่ในเยรูซาเล็ม 12 ปี เนหะมีย์กลับไปสุสา แต่ต่อมาก็กลับมาเยือนเยรูซาเล็มอีกครั้ง เนหะมีย์พบว่าชาวอิสราเอลเสื่อมถอยและรับชาวต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวยิวเป็นภรรยา เนหะมีย์จึงพักอยู่ที่เยรูซาเล็มเพื่อบังคับใช้ธรรมบัญญัติ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Albright, William (1963). The Biblical Period from Abraham to Ezra: An Historical Survey. Harpercollins College Div. ISBN 0-06-130102-7.
- ↑ Paul Cartledge, Peter Garnsey, Erich S. Gruen (editors), Hellenistic Constructs: Essays In Culture, History, and Historiography, p. 92 (University of California Press, 1997). ISBN 0-520-20676-2
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้คำอธิบายของหนังสือเนหะมีย์
- Blenkinsopp, Joseph, "Ezra-Nehemiah: A Commentary" (Eerdmans, 1988)
- Coggins, R.J., "The Books of Ezra and Nehemiah" (Cambridge University Press, 1976)
- Ecker, Ronald L., "Ezra and Nehemiah" (Ecker's Biblical Web Pages, 2007)
- Fensham, F. Charles, "The books of Ezra and Nehemiah" (Eerdmans, 1982)
- Grabbe, L.L., "Ezra-Nehemiah" (Routledge, 1998)
- Throntveit, Mark A., "Ezra-Nehemiah" (John Knox Press, 1992)
อื่น ๆ
- Clements, R.E. (ed), "The World of Ancient Israel" (Cambridge University Press, 1989)
- Blenkinsopp, Joseph, "Judaism, the first phase" (Eerdmans, 2009)
- Fitzpatrick-McKinley, Anne, "Empire, Power and Indigenous Elites: A Case Study of the Nehemiah Memoir" (BRILL, 2015)
- Grabbe, L.L., "A history of the Jews and Judaism in the Second Temple Period, Volume 1" (T&T Clark, 2004)
- Graham, M.P, and McKenzie, Steven L., "The Hebrew Bible today: an introduction to critical issues" (Westminster John Knox Press, 1998)
- Pakkala, Juha, "Ezra the scribe: the development of Ezra 7–10 and Nehemiah 8" (Walter de Gryter, 2004)
คำแปลของหนังสือเนหะมีย์
- Bible Gateway (opens at NIV version)
- Chabad.org Library
- Nehemiah หนังสือเสียงสาธารณสมบัติที่ LibriVox Various versions
ก่อนหน้า หนังสือเอสรา |
หนังสือเนหะมีย์ คัมภีร์ฮีบรู |
ถัดไป หนังสือพงศาวดาร |
ก่อนหน้า หนังสือเอสรา |
หนังสือเนหะมีย์ พันธสัญญาเดิม ของโปรเตสแตนต์ |
ถัดไป หนังสือเอสเธอร์ |
ก่อนหน้า หนังสือเอสรา |
หนังสือเนหะมีย์ พันธสัญญาเดิม ของโรมันคาทอลิก และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ |
ถัดไป หนังสือโทบิต |