หงอนไก่ไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Amaranthaceae
สกุล: Celosia
สปีชีส์: C.  argentea
ชื่อทวินาม
Celosia argentea
L.
ชื่อพ้อง[1]
  • Amaranthus cristatus Noronha
  • Amaranthus huttonii H.J.Veitch
  • Amaranthus purpureus Nieuwl.
  • Amaranthus pyramidalis Noronha
  • Celosia aurea T.Moore
  • Celosia castrensis L.
  • Celosia cernua Roxb. nom. illeg.
  • Celosia coccinea L.
  • Celosia comosa Retz.
  • Celosia cristata L.
  • Celosia debilis S.Moore
  • Celosia huttonii Mast.
  • Celosia japonica Houtt.
  • Celosia japonica Mart.
  • Celosia linearis Sweet ex Hook.f. nom. inval.
  • Celosia margaritacea L.
  • Celosia marylandica Retz.
  • Celosia pallida Salisb.
  • Celosia plumosa (Voss) Burv.
  • Celosia purpurea J.St.-Hil.
  • Celosia purpurea A.St.-Hil. ex Steud.
  • Celosia pyramidalis Burm.f.
  • Celosia splendens Schumach. & Thonn.
  • Celosia swinhoei Hemsl.
  • Chamissoa margaritacea (L.) Schouw


หงอนไก่ไทย ชื่อวิทยาศาสตร์: Celosia argentea เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สีแดง ใบเดี่ยวสีแดง ดอกช่อ ดอกย่อยขนาดเล็ก ริ้วประดับติดทนนาน สีขาวหรือชมพู ผลแห้ง เมล็ดกลมแบน สีดำมันวาว

สายพันธุ์ แก้

Celosia argentea var. cristata 'Flamingo Feathers' เป็นพันธุ์ที่สูงได้ถึง 2 ฟุต สีเป็นได้ตั้งแต่สีชมพูจนถึงม่วงอ่อน และใบเขียวเข้มกว่าพันธุ์อื่น สายพันธุ์ Century มักต้นสูง สีแดงสว่าง เหลือง ส้ม หรือชมพู สายพันธุ์ Kimono มีขนาดเล็ก ดอกมีหลายสี ทั้งขาว ส้มอมแดง[2]Celosia plumosa เป็นที่รู้จักในชื่อสายพันธุ์เจ้าชายแห่งเวลส์ [3] จัดเป็นชื่อพ้องของ Celosia argentea บางครั้งเขียนว่า C. plumosa 'Prince of Wales Feathers'

การจัดจำแนก แก้

การจัดจำแนกพืชสปีชีส์นี้ในทางพืชสวนมีความสับสนมาก ในบางครั้งจะแยกใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ Celosia cristata หรือเป็นสายพันธุ์หนึ่งของC. argentea ชื่ออื่นๆของC. argentea var. plumosa ได้แก่ Celosia argenta var. pyrimidalis and C. spicata.[ต้องการอ้างอิง]

การจัดจำแนกโดยทั่วไปแบ่งเป็นสามสายพันธุ์ได้แก่:

  • C. argentea var. argentea
  • C. argentea var. cristata
  • C. argentea var. plumosa Voss

การใช้ประโยชน์ แก้

ในแอฟริกาใช้ควบคุมการเจริญของพืชปรสิต สกุลStriga และใช้ผสมใน สบู่[4]ชาวขมุใช้ดอกในพิธีสู่ขวัญ ชาวถิ่นใช้ดอกในพิธีไหว้ผี[5]

อาหาร แก้

ใบและดอกของพืชชนิดนี้กินได้ และมีปลูกในแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [6] ในอินเดียใช้ดอกหงอนไก่แต่งสีแดงในแกงเนื้อแพะของแคชเมียร์ โดยใช้ดอกสดหรือเกสรดอกแห้งแช่ในน้ำอุ่นใส่ลงในแกงเป็นลำดับสุดท้าย ใบและดอกใช้กินเป็นผักในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง ภาคใต้ของไนจีเรีย [7] Celosia argentea var. argentea หรือผักโขมลากอสเป็นผักที่สำคัญใน แอฟริกาตะวันตกโดยในภาษาโยรูบาเรียกว่า soko yòkòtò และในภาษาฮัวซาเรียกว่า farar áláyyafó [8][9]

ภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-12. สืบค้นเมื่อ 2016-11-10.
  2. "Cockscomb". Dave's Garden. สืบค้นเมื่อ 13 December 2013.
  3. "Prince of Wales Feathers - Celosia plumosa".
  4. "Celosia". AVRDC. สืบค้นเมื่อ 13 December 2013.
  5. ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล. 2541. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวขมุ ชาวลัวะและชาวถิ่นในบางพื้นที่ของจังหวัดน่านวิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่242 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2020-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Grubben, G.J.H. & Denton, O.A. (2004) Plant Resources of Tropical Africa 2. Vegetables. PROTA Foundation, Wageningen; Backhuys, Leiden; CTA, Wageningen.
  7. ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ฟูดอัพเดท: แปลกแต่จริง กินได้ทั้งหงอนไก่จริงและหงอนไก่ดอก! ครัว. ปีที่ 18 ฉบับที่ 215 พฤษภาคม 2555 หน้า 10
  8. "ECHO". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  9. Hanelt et al., Mansfeld's encyclopedia of agricultural and horticultural crops, 2001 Google Books

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Celosia argentea