สูตรของเว่ยหล่าง


สูตรของเว่ยหล่าง (อังกฤษ: Platform Sutra ,จีน: 六祖壇經, แบบเต็ม: 南宗頓教最上大乘摩訶般若波羅蜜經六祖惠能大師於韶州大梵寺施法壇經) เป็นคัมภีร์ของศาสนาพุทธนิกายเซน เขียนขึ้นโดยพระสังฆปรินายกองค์ที่ 6 เว่ยหล่าง ในช่วงศตวรรษที่ 8 ถึง 13 ที่ประเทศจีน[1] คำสอนเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การสืบทอดตำแหน่งพระสังฆปรินายกจาก พระสังฆปรินายกองค์ที่ 5 หวางยั่น (ฮ่งยิ้ม) กับ ท่านเว่ยหล่าง และโศลกที่ได้รับจากท่านอาจารย์ จุดเด่นอยู่ที่การมุ่งสู่ จิตเดิมแท้ และความสำคัญอันรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของ ศีล สมาธิ และ ปัญญา

เนื้อหา

แก้

บทที่หนึ่ง ชีวประวัติ[2]

แก้

เล่าถึงการบรรยายธรรม ณ ห้องโถง วิหารไทฟัน ท่านเว่ยหล่างได้เล่าถึงประวัติของท่าน ซึ่งสนใจในทางธรรมจึงเข้าเป็นศิษย์ในพระสังฆปรินายกหวางยั่น ในระหว่างนั้น พระสังฆปรินายกหวางยั่น ได้มีประสงค์จะมอบตำแหน่งของตนให้กับศิษย์ผู้ที่แต่งโศลกได้เข้าถึงธรรม ในกาลนั้นศิษย์เอกของท่านสังฆปรินายกหวางยั่น ชื่อว่า ชินเชา ได้แต่งโศลกไว้บนกำแพงทางเดินดังนี้

กายของเราคือต้นโพธิ์

ใจของเราคือกระจกเงาใส
เราเช็ดมันโดยระมัดระวัง ทุกชั่วโมง

และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ

ซึ่งต่อมาท่านเว่ยหล่างได้อ่านโศลกนี้ ได้ค้นพบว่า โดยจิตเดิมแท้แล้วนั้น โศลกที่ถูกต้องควรเป็นดัวนี้

ไม่มีต้นโพธิ์

ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว

ฝุ่นจะลงจับอะไร?

โศลกนี้ถูกใจ สังฆปรินายกหวางยั่น เป็นอย่างมากท่านจึงได้มอบ วัชรสูตร จีวร และบาตร อันเป็นเครื่องหมายแห่งการสืบทอดสังฆปรินายก แก่ท่านเว่ยหล่าง

บทที่สอง ปรัชญา

แก้

การลุถึงวิมุติ คือการลุถึงสมาธิฝ่ายปรัชญาโดย ความไม่ต้องคิด รู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่ต้องมีอะไรห่อหุ้มพัวพัน

บทที่สาม ปุจฉา วิสัชนา

แก้

คำถามแดนบริสุทธิ์คืออะไร ตอบเนื้อกายคือนครแห่งนี้มีประตูนอก 4 ประตู คือ ตา หู จมูก ลิ้น ประตูใน 1 ประตู คืออำนาจการปรุงแต่งความนึกคิด ถ้าจิตเดิมแท้ยังอยู่แสดงว่าเจ้าแผ่นดินยังปกครองดินแดนแห่งนี้ หากจิตเดิมแท้ออกไป คือเจ้าแผ่นดินไม่อยู่ กายใจของเราก็ได้ชื่อว่าสาบสูญ ภายในมณฑลแห่งจิตมี ตถาคตแห่งการตรัสรู้ คอยส่องแสงทำความสะอาดประตูและควบคุมให้บริสุทธิ์

บทที่สี่ สมาธิและปรัชญา

แก้

บำเพ็ญสมาธิให้ถูกวิธี เป็นผู้ตรงแน่วแน่คือเมืองอริยะ แดนบริสุทธิ์

บทที่ห้า ธฺยานะ

แก้

ถ้าเพ่งจิตไปที่ความบริสุทธิ์มีแต่จะสร้างอวิชชา ต้องสร้างธฺยานะเพื่อ หลุดพ้นจากความพัวพัน

บทที่หก การสำนึกบาป

แก้

ควรตั้งต้นที่ จิตเดิมแท้ แล้วไต่ไปตามมรรคปฏิปทา ข้อต้นคือ ศีล ปราศจากความทุจริต ความตระหนี่ ความโกรธ ข้อสองคือสมาธิ ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ ข้อสามคือปัญญา เพื่อเป็นอิสระจากความคิดห่อรัด แม้กระทั่งว่าการห่อรัดนั้นจะเป็นการห่อรัดกับความดีก็ไม่ได้ ทุกอย่างต้องลงไปที่ จิตเดิมแท้ จึงถูกต้อง

บทที่เจ็ด คำสอนอันเหมาะกับอุปนิสัย

แก้
  • การประพฤติจนดูช่ำชองที่เรียกว่าสมาธิตั้งมั่นนั้น ความจริงไม่ใช่สมาธิอะไรเลย
  • การถือว่าการได้บรรลุธรรมหรือผลใดๆจากธรรมก็ตามเป็นเพียงของลมๆแล้ง(เมื่อทุกสิ่ง เป็นสุญญตา ก็ไม่มีอะไรให้บรรลุ) เป็นกุศลอันใหญ่หลวง
  • ถ้าเพียงเชื่อว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสอะไรแม้แต่คำเดียว เมื่อนั้นดอกบัวจะบานในปากของท่าน(การแนะนำโดยไม่อ้างถึงพระพุทธเจ้า แต่ยกเอาประสบการณ์ที่ตนมีมาแนะนำสามารถสื่อให้ผู้ฟังเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายขึ้น)

บทที่แปด สำนักฉับพลันและสำนักเชื่องช้า

แก้

เนื่องจากในเมืองจีนสมัยนั้นมีสองสำนัก คือสำนักฉับพลันฝ่ายใต้ สำนักเชื่องช้าฝ่ายเหนือ รายละเอียดเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสอนธรรมะ

บทที่เก้า พระบรมราชูปถัมภ์

แก้

สิ่งที่อยู่เหนือความมีอยู่และไม่มีอยู่ คือสิ่งที่มีอยู่ไม่ได้มีอยู่อย่างแท้จริง โดยเนื้อแท้แล้วคือไม่มีอยู่ คำตอบทางธรรมนี้ทำให้ได้รับพระราชูปถัมภ์[3]

บทที่สิบ คำสอนครั้งสุดท้าย

แก้

ธรรมมีสามประเภท คือ ขันธ์ห้า อาตนะสิบสอง ธาตุสิบแปด

  • ในสภาพของการเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีการมาหรือการไป ไม่มีการเกิดหรือการดับ
  • ผู้เห็นต่างย่อมเป็นเช่นนั้นเอง การสร้างความขัดแย้งไม่ถูกต้องตามหลักธรรม
  • เราควรเปลื้องตัวออกจากความผูกพันในวัตถุทั้งหลาย

การแปล

แก้

ภาษาอังกฤษ

แก้

ภาษาไทย

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Schlutter Morten 2007 Transmission and Enlightenment in Chan Buddhism Seen Through the Platform Sūtra (Liuzu tanjing 六祖壇經). In: Chung-Hwa Buddhist Journal, no. 20, pp. 379~410 (2007) pdf
  2. สารบัญ หนังสือสูตรของเว่ยหล่าง พุทธทาส อินทปัญโญ พ.ศ. 2530
  3. หนังสือสูตรของเว่ยหล่าง หน้า 121 บทที่เก้าและบทที่สิบ แปลโดย นายประวิทย์ รัตนเรืองศรี พ.ศ. 2504