เซน (ญี่ปุ่น: 禅, ぜん; อังกฤษ: Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี)

ภาพพระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877)

คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (จีน: 禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต

เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง

ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ

เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน

วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น

พระสังฆปริณายกในนิกายเซน แก้

ตามคติของนิกายเซน ถือว่าธรรมเนียมของนิกายนี้ได้รับการสืบทอดจากพระศากยมุนีพุทธเจ้า (釋迦牟尼佛) ผ่านทางพระอริยสงฆ์สาวกในสายของพระมหากัสสปะ โดยได้รับการถ่ายทอดธรรมะด้วยวิถีแห่ง "จิตสู่จิต" และรับมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง จนมาถึงพระโพธิธรรมซึ่งเป็นผู้นำนิกายเซนจากอินเดียมาสู่จีน มีจำนวนทั้งสิ้น 28 องค์ ดังนี้

  1. พระมหากัสสปะ Móhējiāyè 摩訶迦葉
  2. พระอานนท์ Ānántuó 阿難陀
  3. พระศาณวาสะ Shāngnàhéxiū 商那和修
  4. พระอุปคุต Yōupójúduō 優婆掬多
  5. พระธฤตก Dīduōjiā 提多迦
  6. พระมิจกะ Mízhējiā 彌遮迦
  7. พระวสุมิตร Póxūmì 婆須密
  8. พระพุทธานันทิ Fútuónándī 浮陀難提
  9. พระพุทธมิตร Fútuómìduō 浮陀密多
  10. พระปารศวะ Pólìshīpó 婆栗濕婆
  11. พระปุณยยศัส Fùnàyèshē 富那夜奢
  12. พระอานโพธิ/พระอัศวโฆษะ Ānàpútí 阿那菩提 (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์)
  13. พระกปิมละ Jiāpímóluó 迦毘摩羅
  14. พระนาคารชุนะ Lóngshù 龍樹 (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์)
  15. พระอารยเทวะ Jiānàtípó 迦那提婆
  16. พระราหุลตะ Luóhóuluóduō 羅睺羅多
  17. พระสังฆนันทิ Sēngqiénántí 僧伽難提
  18. พระสังฆยศัส Sēngqiéshèduō 僧伽舍多
  19. พระกุมารตะ Jiūmóluóduō 鳩摩羅多
  20. พระศยต Shéyèduō 闍夜多
  21. พระวสุพันธุ Shìqīn 世親
  22. พระมโนรหิตะ Mónáluó 摩拏羅
  23. พระหเกฺลนยศัส Hèlèyènàyèzhě 鶴勒夜那夜者
  24. พระสิงหโพธิ Shīzǐpútí 師子菩提
  25. พระวสิอสิต Póshèsīduō 婆舍斯多
  26. พระปุณยมิตร Bùrúmìduō 不如密多
  27. พระปรัชญาตาระ Bānruòduōluó 般若多羅
  28. พระโพธิธรรม Pútídámó 菩提達磨

หลังจากพระโพธิธรรมนำศาสนาพุทธนิกายเซนจากอินเดียเข้ามาสู่ประเทศจีนแล้ว จึงมีการสืบทอดธรรมและตำแหน่งพระสังฆนายกในจีนต่อมาอีก 6 องค์ (หนังสือบางแห่งนับว่ามี 7 องค์) ดังนี้

The Continued Biographies
of Eminent Monks

Xù gāosēng zhuàn 續高僧傳
of Dàoxuān 道宣
(596-667)
The Record of the Transmission
of the Dharma-Jewel

Chuán fǎbǎo jì 傳法寶記
of Dù Fěi 杜胐
History of Masters and Disciples of the Laṅkāvatāra-Sūtra
Léngqié shīzī jì 楞伽師資紀記
of Jìngjué 淨覺
(ca. 683 - ca. 650)
The Xiǎnzōngjì 显宗记
of Shénhuì 神会
1 พระโพธิธรรม พระโพธิธรรม พระโพธิธรรม พระโพธิธรรม
2 ฮุ่ยเข่อ 慧可 (487? - 593) เต้ายฺวี่ 道育 เต้ายฺวี่ 道育 เต้ายฺวี่ 道育
ฮุ่ยเข่อ 慧可 (487? - 593) ฮุ่ยเข่อ 慧可 (487? - 593) ฮุ่ยเข่อ 慧可 (487? - 593)
3 เซิงชั่น 僧璨 (d.606) เซิงชั่น 僧璨 (d.606) เซิงชั่น 僧璨 (d.606) เซิงชั่น 僧璨 (d.606)
4 เต้าซิ่น 道信 (580 - 651) เต้าซิ่น 道信 (580 - 651) เต้าซิ่น 道信 (580 - 651) Dàoxìn 道信 (580 - 651)
5 หงเหริ่น 弘忍 (601 - 674) หงเหริ่น 弘忍 (601 - 674) หงเหริ่น 弘忍 (601 - 674) หงเหริ่น 弘忍 (601 - 674)
6 - ฝ่าหรู 法如 (638-689) เสินซิ่ว 神秀 (606? - 706) ฮุ่ยเหนิง 慧能 (638-713)
เสินซิ่ว 神秀 (606? - 706) 神秀 (606? - 706) เสวี่ยนเจ๋อ 玄賾
7 - - - เสวี่ยนเจ๋อ 玄覺 (665-713)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้