สุริยุปราคา 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2592

สุริยุปราคาผสมจะเกิดขึ้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2592 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร

สุริยุปราคา 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2592
แผนที่
ประเภท
ประเภทผสม
แกมมา0.2945
ความส่องสว่าง1.0057
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา38 วินาที (0 นาที 38 วินาที)
พิกัด3°48′S 95°12′E / 3.8°S 95.2°E / -3.8; 95.2
ความกว้างของเงามืด21 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน02:47:56
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด03:48:37
(U2) เริ่มอุปราคาศูนย์กลาง03:49:19
บดบังมากที่สุด05:32:00
(U3) สิ้นสุดอุปราคาศูนย์กลาง07:14:44
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด07:15:21
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน08:15:59
แหล่งอ้างอิง
แซรอส143 (25 จาก 72)
บัญชี # (SE5000)9618

สุริยุปราคานี้สามารถเห็นได้เป็นสุริยุปราคาบางส่วนในประเทศไทยในช่วงกลางวัน แนวคราสเริ่มสัมผัสผิวโลกเป็นสุริยุปราคาวงแหวนในทะเลแดง ผ่านประเทศซาอุดีอาระเบียและประเทศเยเมน จากนั้นแนวคราสจะพาดผ่านพื้นที่ส่วนมากในมหาสมุทรอินเดีย และเริ่มเปลี่ยนเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียในมหาสมุทรอินเดีย จากนั้นแนวคราสเต็มดวงจะผ่านจุดที่คราสบดบังมากที่สุด บริเวณนอกชายฝั่งประเทศอินโดนีเซีย ห่างจากเกาะซิเบรุตไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 500 กม. จากนั้นแนวคราสจะพาดผ่านตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ตอนใต้ของเกาะบอร์เนียว ตอนกลางของเกาะซูลาเวซี ตอนกลางของจังหวัดมาลูกูเหนือ และเปลี่ยนกลับมาเป็นสุริยุปราคาวงแหวนอีกครั้ง ก่อนจะไปสิ้นสุดในมหาสมุทรแปซิฟิก[1]

ภาพ แก้

 
ภาพเคลื่อนไหวแนวเส้นทาง

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง แก้

สุริยุปราคา พ.ศ. 2590–2593 แก้

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[2]

หมายเหตุ: สุริยุราคาบางส่วนในวันที่ 26 มกราคม 2590 และ 22 กรกฎาคม 2590 เกิดขึ้นในชุดอุปราคาปีจันทรคติก่อนหน้า

แซรอส 143 แก้

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 143 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 72 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2160 (ค.ศ. 1617) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) จนถึงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 2538) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาผสมตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) จนถึงวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2610 (ค.ศ. 2067) จากนั้นเป็นสุริยุปราคาวงแหวนซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2628 (ค.ศ. 2085) จนถึงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 3079 (ค.ศ. 2536) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 3416 (ค.ศ. 2873) คราสบดบังยาวนานที่สุดของสุริยุปราคาในแซรอสนี้คือ 3 นาที 50 วินาทีของสุริยุปราคาเต็มดวงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887)[3]

ชุดเมตอน แก้

ชุดเมตอนการวนซ้ำของอุปราคาทุก ๆ 19 ปี (6939.69 วัน) สุดท้ายประมาณ 5 วัฏจักร โดยอุปราคาเกิดขึ้นในวันอันใกล้เคียงกันในปฏิทิน ในการเพิ่มขึ้นของตัวรองอนุกรมออคตอน ซึ่งวนซ้ำ 1/5 ของนั้นหรือทุก ๆ 3.8 ปี (1387.94 วัน)

อ้างอิง แก้

  1. "HYBRID SOLAR ECLIPSE OF 2049 NOV 25". NASA Eclipse Website. NASA. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
  2. van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  3. Espenak, F. "NASA - Catalog of Solar Eclipses of Saros 143". eclipse.gsfc.nasa.gov.
สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
31 พฤษภาคม 2592
(  สุริยุปราคาวงแหวน)
  สุริยุปราคา 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2592   สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
20 พฤษภาคม 2593
(  สุริยุปราคาผสม)
สุริยุปราคาผสมครั้งก่อนหน้า:
14 พฤศจิกายน 2574
 
สุริยุปราคาผสม
สุริยุปราคาผสมครั้งถัดไป:
20 พฤษภาคม 2593